กังวาล ทองเนตร

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา Pohthaiblogspot.com

วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

แผน ( Plan ) และบทบาทของ นักวางแผน



         การวางแผน การกำหนดโครงสร้าง การบริหารจัดการ องค์กร ทั้งระดับ จุลภาค และ มหภาค เป็นหัวใจหลักของนักรัฐศาสตร์ และผู้ที่สนใจจะศึกษาทางด้านรัฐศาสตร์ต้องเข้าใจและเรียนรู้

แผน ( Plan ) หมายถึง วิธีการกระทำที่กำหนดไว้ล่วงหน้า

  •     แผนงาน ( Program)  หมายถึงกลุ่มของโครงการ หลายๆโครงการที่เกี่ยวข้องกัน
  •   โครงการ ( Project)   หมายถึงกลุ่มของกิจกรรมที่สัมพันธ์กัน โดยมีกำหนดเวลาเริ่มต้น  และ สิ้นสุด


                               กระบวนการวางแผนต้องประกอบด้วย

  1.  เก็บวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อกำหนดปัญหา
  2. กำหนดนิยามและรายละเอียดเกี่ยวกับปัญหา
  3. กำหนดทางเลือกในการแก้ปัญหา
  4. ประเมินทางเลือกในการแก้ปัญหา
  5. การเขียนแผนงาน
  6. การขออนุมัติแผนงาน
  7. การเขียนโครงการ
  8. การขออนุมัติโครงการ
การเขียนโครงการ ( Project ) มีขั้นตอนและหัวข้อดังต่อไปนี้ 
  1. ต้องมีหลัการและเหตุผล
  2. ต้องมีวัตถุประสงค์
  3. ต้องมีเป้าหมาย
  4. ต้องมีวิธีการดำเนินงาน
  5. ต้องมีระยะเวลาในการดำเนินงาน
  6. ต้องมีหรือแสดงตัวเลขงบประมาณที่จะใช้อย่างชัดเจน
  7. ต้องมีผู้รับผิดชอบโครงการ


ประเภทของการวางแผน จำแนกได้ 3 หัวข้อหลัก 

1. จำแนกตามระบบเศรษฐกิจการเมือง แบ่งย่อยได้ดังนี้

  •  การวางแผนแบบสั่งการ ( Directive Planning ) เป็นการวางแผนที่รัฐบาลเป็นผู้กำหนด และควบคุมการผลิต การบริโภค และการใช้ทรัพยากร  ( วิธีการนี้ต้นแบบมาจากรัสเซีย )
  • การวางแผนแบบชี้นำ (Indicative planning) เป็นการวางแผนที่รัฐบาลวางกรอบทิศทางการพัฒนา เพื่อชักนำให้เอกชนหรือกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆดำเนินการ แบบนี้มาจากฝรั่งเศส

2. จำแนกตามหน้าที่

  • วางแผนส่วนรวม หรือมหภาค Macro planning  เป็นการวางแผนโดยรวมทั้งประเทศเพื่อกำหนดจุดมุ่งหมายของการพัฒนา เช่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจเป็นต้น
  • วางแผนรายสาขา Sectorial planning  เป็นการวางแผนเพื่อกำหนดจุดประสงค์เป้าหมาย นโยบาย แนวทาง เช่น แผนพัฒนาการศึกษา การวางแผนประชากร สิ่งแวดล้อมเป็นต้น
  • การวางแผนโครงการ Project planning เป็นการวางแผนในระดับจุลภาค Micro planning เป็นการวางแผนโครงการแต่ละสาขาของการพัฒนาในแต่ละพื้นที่ เช่น จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน
3. จำแนกตามระยะเวลา

  • วางแผนระยะยาว Long Term planning เป็นการประเมินแนวโน้มการพัฒนาระยะยาวของประเทศ
  • แผนระยะกลาง Intermidiate rang planning , มีระยะเวลาประมาณ 3-7 ปีโดยระบุจุดมุ่งหมายนโยบาย ทรัพยากร แนวทางพัฒนาต่างๆ
  • การวางแผนหมุนเวียน Rolling planning เป็นการวางแผนระยะปานกลางอีกรูปแบบหนึ่งที่จัดขึ้นทุกสิ้นปี หรือ มักจะเรียกแผนนี้ว่าแผนทบทวน  คือเป็นการทบทวนแผนต่างๆที่ได้ปฏิบัติมาแล้ว
  • แผนประจำปี เป็นการวางแผนเชิงปฏิบัติการ หรือเชิงควบคุม


             กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์ การปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น