กังวาล ทองเนตร

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา Pohthaiblogspot.com

วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เรียนรามอย่างไรให้จบเร็ว




ตามที่ผมเขียนเขียนแนะนำระเบียบขั้นตอนต่างๆใน เตรียมให้พร้อมก่อนเรียนรามมาแล้วนั้น
ก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี มีการสอบถามมาอย่างต่อเนื่องในบล็อกและในเมล์ที่ผมวางไว้ ถึงวิธีการ การเรียนการลงทะเบียนเรียน หรือเรียนอย่างไรเพื่อให้ประสบความสำเร็จ

บทความนี้ผมจะขอแนะนำเรียนรามอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ

ก็อย่างที่เรารู้ครับรามคำแหงเข้าง่าย แต่ออกยาก คือไม่ต้องสอบเข้า แต่ต้องสอบออกครับ ไม่แน่จริงไม่มีทางได้สวมครุยวิทยฐานะของรามคำแหงครับ
  • รามคำแหงเป็นตลาดวิชานะครับ ไม่ใช่มหาวิทยาลัยเปิดตามที่เข้าใจ ตลาดวิชาก็หมายถึง ม.รามเป็นเหมือนตลาด แต่ขายวิชาการ คือทางรามได้จัดการเรียนการสอนไว้อย่างครบครัน วิชาต่างๆที่มีในเอกสาร ม.ร.1 คือวิชาที่รามเปิดสอนทุกวิชา ดังนั้นจึงเปรียนเหมือนตลาดที่มีสินค้ามาวางไว้ เพื่อให้ผู้เรียนหรือลูกค้าเข้าไปหยิบจับซื้อหาได้ตามความต้องการของตนเอง ซึ่งผมอยากเรียกว่า ห้างสรรพสินค้าของปัญญาชน หรือสรรพศาสตร์ เพราะรามมีพร้อมทุกอย่างที่ห้องเรียน โสตทัศนศึกษา วีดีทัศน์เอกสารห้องสมุด คณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิที่แต่งตำราเรียนเอง รวมไปถึงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆครบครัน
ก่อนลงทะเบียนเรียนรามต้องเตรียมตัวอย่างไร


  1. ต้องถามตนเองก่อนว่ามีเป้าหมายชีวิตหลังจบการศึกษาอย่างไร เพราะเราต้องรู้เส้นทางชีวิตของตนเองเสียก่อนว่า เราต้องการอะไรหรืออยากเป็นอะไรหลังจบการศึกษา เพื่อที่เราจะได้รู้จักตัวตนและความต้องการของตนเองก่อนลงทะเบียนเรียนราม
  2. จากนั้นไปดูว่าที่รามเปิดสอนคณะอะไรบ้าง และแต่ละคณะมีกี่แผน มีกี่สาขาอะไรบ้าง ตรงกับความต้องการของตนเองหรือไม่
  3. ให้ศึกษาโครงสร้างหลักสูตรที่คณะหรือแผน/สาขาที่เราจะเลือกเรียนหรือสนใจอยากเรียนว่ามีโครงสร้างหลักสูตรอย่างไร เช่น จบหลักสูตรมีกี่หน่วยกิต มีวิชาแกนอย่างไร แต่ละวิชามีแนวข้อสอบอย่างไร เป็นอัตนัย หรือ ปรนัย เป็นต้น
  4. อ่านรายละเอียดในคู่มือ เอกสารให้เข้าใจและก่อนตัดสินใจลงทะเบียน ให้ดูตารางปฎิทินการศึกษาให้ถูกต้องว่า วิชาที่เราจะเรียน เรียนวัน เวลาใด บรรยายที่ตึกใด และวันสอบวันอะไร (รามจะมีแนวทางมาให้ว่าสอบวันใดแล้วล่วงหน้า เพียงแต่ไม่ระบุสถานที่อาคารเท่านั้น ) ซึ่งจะระบุในตารางสอบรายบุคคล เราไปรับได้ก่อนสอบ 1 สัปดาห์ ) เพื่อที่เราจะได้จัดตารางเรียนให้ตรงกับข้อจำกัดของเราซึ่งอาจทำงาน ไม่ได้หยุดตรงกับวันนั้นๆเป็นต้น
  5. ลงทะเบียนเรียนตามความเหมาะสมที่ตัวเองสามารถเรียนได้ในแต่ละเทอม ไม่จำเป็นต้องลงครบ 24 หน่วยกิตก็ได้ ถ้าเราไม่มีเวลาในการเข้าสอบ เพราะจะเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายโดยเปล่าประโยชน์
  6. ลงทะเบียนเรียนให้ถูกคณะถูกสาขาวิชาที่เราต้องการเรียนจริงๆ เพื่อไม่เป็นการเสียเวลาหรือมีปัญหาเกิดขึ้นตามมาภายหลัง
  7. ลงทะเบียนเรียนในรหัสวิชาที่ตรงกับปีที่ตนเองเรียน เช่น ปี 1 ก็ควรเป็นกลุ่มวิชาทั่วไปที่มีรหัสเป็น 1 อาทิ PS103,PS110,SC103,PY103,PC103 เป็นต้น ในชั้นปีที่ 1 ไม่ควรลงทะเบียนเรียนในวิชาที่มีรหัสวิชา/ชั้นสูงกว่าที่ตนเองเรียน อาทิ 205,390,490,420เป็นต้น เพราะเป็นรหัสวิชาชั้นปีที่สูงขึ้น ซึ่งบางวิชามีรหัสเรียนต่อเนื่อง เช่น PS190,PS290,PS390,PS490 เป็นต้น
โครงสร้าง/แผนการเรียน แต่ละคณะ/สาขา/แผน ที่ราม จะถูกจัดแบ่งออกเป็นกลุ่มดังนี้ 

  • กลุ่มวิชาทั่วไปมีกี่หน่วยกิตก็ขึ้นอยู่ตามแต่ละคณะสาขา/แผนนั้นๆ ซึ่งวิชาทั่วไปนี้บางทีมักเรียกว่าวิชาปรับพื้นฐาน ซึ่งจะใช้เรียนสำหรับนักศึกษาปี่ที่ 1รหัสวิชาจะขึ้นต้นด้วยเลข 1 ตามที่กล่าวไว้แต่เบื้องต้น ซึ่งทุกคณะจะเรียนรวมกันหรือคละกันมีวิขาที่ปนกันอยู่ทุกคณะในชั้นปีที่ 1 นี้
  • กลุ่มวิชาแกนหรือวิชาเอก ก็จะมีหน่วยกิตไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับแต่ละคณะ/แผน/สาขานั้นๆเช่นกัน
  • กลุ่มวิชาโท ซึ่งบางคณะบางแผนอาจรวมเข้ากันกับวิชาแกนหรือวิชาเอกก็ได้่
  • วิชาเลือก ก็จะมีหน่วยกิตไม่เท่ากันแต่ละแผน/คณะ/สาขา เช่นกันอาจมีรายละเอียดปลีกย่อยบ้างเช่น เลือกในคณะ หมายถึงเราสามารถเลือกวิชาใดก็ได้ที่เปิดสอนในคณะนั้นๆไม่จำเป็นต้องเป็นแผนที่เราเรียนก็ได้ หรือ เลือกในแผนก็ได้ หมายถึงเราเลือกวิขาใดวิชาหนึ่งมาลงทะเบียนเรียนซึ่งเป็นวิชาในแผนเดียวกับที่เราเรียนก็ได้เช่นกันหรือตามแต่โครงสร้างหลักสูตรกำหนดให้
  • กลุ่มวิชาเลือกเสรี หมายถึงวิชาที่ผู้เรียนสามารถเลือกวิชาใดก็ได้ที่ รามเปิดสอนมาลงทะเบียนเรียน ซึ่งแต่ละคณะ/แผน/สาขา ก็จะมีหน่วยกิตให้เราเลือกได้ไม่เท่ากัน
  • วิชาบังคับ เป็นวิชาที่จำเป็นอย่างยิ่งในสาขา/แผนการเรียนนั้นๆที่เราจำเป็นต้องเรียนและสอบให้ผ่าน โดยไม่สามารถหลบเลี่ยงไปลงทะเบียนเรียนในวิชาอื่นแทนได้ ยกเว้นตัวเลือกที่รามกำหนดเท่านั้น
  • กลุ่มวิชาRU เป็นวิชาบังคับอีกวิชาที่ลูกพ่อขุนทุกคนต้องเรียนและสอบให้ผ่านจึงจะมีสิทธิเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร วิชา RUนี้เป็นวิชาที่ไม่มีหน่วยกิตคือหน่วยกิตเป็น ศูนย์ (0)ไม่ต้องเสียเงินค่าหน่วยกิตลงเบียนเรียนหรือเสียเงินลงทะเบียนสอบซ่อม แต่ทุกคนต้องลงเรียนและสอบให้ผ่านดังกล่าว
ตัวอย่างโครงสร้างวิชาคณะรัฐศาสตร์

คณะรัฐศาสตร์แบ่งเป็น 3 แผนคือ
  1.  แผน A การปกครอง
  2. แผน B ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (การฑูต)
  3. แผน C บริหารรัฐกิจ
และมีการเปิดสอนเพิ่มเติมมาอีกสาขาคือ บริหารงานยุติธรรมด้วย

โครงสร้างการเรียนเป็นดังนี้
  • กลุ่มวิชาทั่วไปมี 40 หน่วยกิต
  • กลุ่มวิชาแกนหรือวิชาเอกบวกวิชาโท 99 หน่วยกิต
  • วิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
รวมจบหลักสูตรที่ 145 หน่วยกิต (บวกวิชา RU100 ด้วย)


เอกสาร ม.ร.1

 การเรียนที่ราม

มหาวิทยาลัยรามคำแหง มีห้องเรียนที่เปิดสอนตามปกติ ในวันธรรมดา ทั้งที่ ม.ราม 2 วิทยาเขตบางนา สำหรับนักศึกษาชั้นปี่ที่ 1 และม.ราม 1 สำหรับนักศึกษาชั้นปี่ที่ 2 ขึ้นไป

สำหรับน้องๆที่มีเวลาเรียนเต็มที่ก็สามารถไปนั่งเรียนร่วมกับเพื่อนๆได้ทุกวันตามวัน เวลาที่กำหนดตามตารางปฎิทินการศึกษา เพื่อให้การเรียนมีความเข้าใจมากยิ่งขี้น หรือน้องที่ต้องทำงาน ก็สามารถซื้อตำรามาอ่านเองที่บ้านได้ ผมย้ำว่าตำราเรียนนะครับไม่ใช่ชีทหน้าราม เพราะตำราเรียนเราถูกมาก สามารถไปซื้อได้ที่อาคารโรงพิมพ์ตึกสีส้มที่ราม 1ด้านข้างตึกเวียงคำ(VKB ) หรือซื้อได้ที่อาคาร PRB ชั้น 1ที่ราม 2 ได้บางวิชา แต่ไม่ครบนะครับ

หรือสามารถซื้อแนวเฉลยข้อสอบเทอมล่าสุดมาอ่านเพื่อเป็นแนวทางว่าวิชานั้นๆแนวข้อสอบประมารไหนเป็นอัตนัยหรือปรนัยมีข้อสอบกี่ข้อกี่คะแนน แต่ไม่ใช่ไปยึดติดแนวข้อสอบเป็นหลักยึดนะครับ (การเข้าเรียนบ้างเมื่อมีเวลาจะมีผลดีมากกว่าเพราะเราได้เรียนกับอาจารย์โดยตรง ทำให้เราสามารถเข้าใจในบางสิ่งที่เราไม่สามารถหาคำตอบได้จากการอ่านตำราอย่างเดียว )


เรียนที่รามสามารถจบปริญญาตรีได้ภายใน 2 ปีครึ่ง



  • การเรียนที่รามคำแหงไม่ได้ยากอย่างที่คิด ถ้าน้องมีเวลา ตั้งใจเรียน น้องก็สามารถเรียนจบได้ภายใน 2 ปีครึ่ง กล่าวคือ
  • รามคำแหงจะมีการลงทะเบียนเรียนในภาคปกติปีละ 2 เทอม เทอมละ 24 หน่วยกิต รวมเป็น 48 หน่วยกิต/1 ปี เมื่อ2 ปี ก็เท่ากับ96 หน่วยกิต บวกกับภาคฤดูร้อน ภาคละ 18หน่วยกิต 2 ปีรวม 36หน่วยกิต เมื่อนำ 96มาบวกกับ 36หน่วยกิต เวลา 2 ปีเราก็จะได้เท่ากับ 132 หน่วยกิต
  • กรณีนี้ถ้าเป็นคณะรัฐศาสตร์ที่มี 145หน่วยกิต ถ้าใน 2 ปีน้องสามารถสอบเก็บได้ 132 หน่วยกิต น้องก็เหลืออีกแค่ 13 หน่วยกิต ดังนั้นอีกเทอมเดียวถ้าเป็นภาคปกติน้องลงทะเบียนขอจบได้สูงถึง 30 หน่วยกิต ซัมเมอร์ขอจบได้ถึง 24 หน่วยกิต เมื่อน้องเหลือแค่ 13 หน่วยกิต น้องสามารถลงทะเบียนเรียนเผื่อตกไว้ที่ 18 หน่วยหรือ 24ก็ได้เผื่อตก แต่เราต้องการแค่ 13หน่วยเท่านั้นเอง
  • ดังนั้น 2 ปีครึ่งจึงจบแน่นอนรับปริญญาเห็นๆไม่ต้องรอให้ครบ 4 ปี เหมือนที่มหาลัยแห่งอื่นๆ ที่รามถ้าน้องมุ่งมั่นจบก่อนจบจริง จบตามความสามารถเรา เรากำหนดชะตาเราเองได้เลยที่ราม
  • มีอะไรขาดหรืออยากเพิ่มเติมน้องสอบถามมานะครับ พี่ก้องจะเข้ามาตอบให้ที่นี่

กังวาล ทองเนตร คณะรัฐศาสตร์ภาควิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง



วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

จุดเด่นจุดด้อยของระบอบประชาธิปไตย


โครงสร้างอำนาจในส่วนการเมืองการปกครอง

 รูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตย มีทั้งหมด 3 รูปแบบดังนี้

  1. แบบประธานาธิบดีแบ่งแยกอำนาจ (อเมริกาเป็นต้นแบบ )
  2. แบบกึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภา        (ฝรั่งเศสเป็นต้นแบบ)
  3. แบบรัฐสภา                                       (อังกฤษต้นแบบ )

  • รูปแบบประธานาธิบดีแบบอเมริกา ต้นแบบอย่างอเมริกา ประชาชนเลือกประธานาธิบดีโดยอ้อม ผ่านคณะเลือกตั้ง และคณะเลือกตั้งไปเลือกประธานาธิบดีอีกชั้น
  • รูปแบบนี้ อำนาจอธิปไตย แบ่งแยกขาดจากกัน กล่าวคือ สภาไม่สามารถตรวจสอบประธานาธิบดีได้ เว้นแต่กรณีทำผิดศีลธรรมร้ายแรง ( Impeachment ) ในขณะที่ประธานาธิบดีก็ไม่สามารถยุบสภาได้เช่นกัน
  • รูปแบบนี้ไม่มีนายกรัฐมนตรี
  • ประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐ
  • ประธานาธิบดีเป็นประมุขฝ่ายบริหาร
  • ประธานาธิบดีแต่งตั้งรัฐบาลด้วยตนเอง
  • ประธานาธิบดีไม่ต้องแสดงความรับผิดชอบต่อสภา กรณีกฎหมายไม่ผ่านสภา
จุดเด่นของรูปแบบนี้
  • มีความรวดเร็ว
  • มีความมั่นคง
  • อำนาจไม่ก้าวก่ายกัน
  • ประธานาธิบดีมีอำนาจมาก
  • มีความต่อเนื่องในเชิงการบริหาร
จุดด้อยของรูปแบบนี้
  • ประธานาธิบดีมีอำนาจมากเกินไป ถ้าใช้อำนาจนั้นโดยขาดศีลธรรมจรรยาจะเป็นอันตรายเป็นอย่างมาก เพราะการถืออำนาจและสามารถสั่งการการใช้อำนาจอยู่ในมือคนคนเดียวมากเกินไป



โครงสร้างอำนาจในส่วนการเมืองการปกครอง
รูปแบบกึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภา

เป็นรูปแบบผสม เป็นการสังเคราะห์เอาข้อดีระหว่างรูปแบบรัฐสภาและประธานาธิบดีนำมารวมกัน ซึ่งฝรั่งเศส คิดรูปแบบการปกครองรูปแบบนี้ขึ้นมา ในสมัยสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5 โดยมีชาร์ลส์ เดอ โกลล์ เป็นประธานาธิบดี 

ทั้งนี้เพราะไม่ว่าผู้ใดจะมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ก็ทำให้เกิดความวุ่นวาย มีข้อขัดแย้งมากและต้องยุบสภาบ่อย รัฐบาลหรือรัฐสภาต้องออกจากตำแหน่งและมีการเลือกตั้งใหม่อยู่บ่อยครั้ง ทำให้เสียงบประมาณ ดังนั้นนักรัฐศาสตร์และนักนิติศาสตร์ของประเทศฝรั่งเศสจึงได้พัฒนารูปแบบการปกครองโดยผสมผสานกันระหว่างระบอบรัฐสภาและระบอบประธานาธิบดี ทั้งนี้ได้มีการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส พ.ศ. 2493 และมีการแก้ไขในปี พ.ศ. 2505 
  • รูปแบบนี่้ประชาชนเลือกประธานาธิบดี
  • ประธานาธิบดีเลือกนายกฯ
  • นายกฯเลือกคณะรัฐมนตรี โดยผ่านการเห็นชอบของประธานาธิบดี
  • ประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐ
  • ประธานาธิบดีเป็นประมุขฝ่ายบริหาร
  • นายกรัฐมนตรีทำหน้าที่คล้ายผู้ช่วยประธานาธิบดี และมีบทบาทน้อยมาก
  • ประธานาธิบดีมีอำนาจยุบสภาได้



 โครงสร้างอำนาจในส่วนการเมืองการปกครอง

รูปแบบรัฐสภา

  • รูปแบบนี้ ประมุขแห่งรัฐมี 2 ประเภท คือ แบบประธานาธิบดีก็ได้ เช่น อินเดีย เยอรมัน สิงคโปร์ ฯลฯ และมีกษัตริย์เป็นประมุข เช่น อังกฤษ ไทย มาเลเซีย ญี่ปุ่น เป็นต้น
  • มีนายกรัฐมนตรีเป็นประมุขหรือหัวหน้าฝ่ายบริหาร
  • ประชาชนเลือกสมาชิกสภาผู้แทนฯเป็นรัฐสภา
  • รัฐสภาเลือกนายกรัฐมนตรี
  • นายกรัฐมนตรีจัดตั้งคณะรัฐบาล
  • นายกรัฐมนตรีมีอำนาจยุบสภา
  • รัฐสภามีอำนาจตรวจสอบนายกรัฐมนตรีได้
  • สำหรับของประเทศไทย พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจอธิปไตยผ่านรัฐสภา รัฐบาล และตุลาการภายใต้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ

จุดอ่อนของระบอบรัฐสภาคือ

  • ขาดเสถียรภาพ ไม่เป็นเอกภาพ 

ดังนั้นตามครรลองของรูปแบบนี้ จึงไม่สามารถ แยกขาด สองอำนาจคือ นิติบัญัติ (รัฐสภา ) และ บริหาร (รัฐบาล) ออกจากกันโดยสิ้นเชิงได้ เพราะรัฐบาลจะเป็นรัฐบาลได้ ต้องประกอบด้วยเสียงจากรัฐสภาที่เป็นเสียงข้างมาก จึงจะสามารถเป็นรัฐบาลได้

  • เมื่อมือของ ส.ส.ในรัฐสภามีผลอย่างมากต่อการมีเสถียรภาพหรือไม่มีเสถียรภาพของรัฐบาล เป้าหมายแรกของการนำไปสู่การถือครองอำนาจรัฐ จึงเป็นที่นั่งในสภา พรรคการเมืองต่างๆจึงแย่งชิงเพื่อให้ได้มาซึ่งตัวเลขในสภาให้มากที่สุด เพื่อเป้าหมายการถือครองอำนาจรัฐ ด้วยวิธีการต่างๆ
  • จุดอ่อนของระบบรัฐภานี้ก็คือ ความไม่มีเอกภาพ ขาดเสถียรภาพ โดยหลักการของตัวมันเอง
  • เมื่อรัฐบาลต้องรับผิดชอบต่อสภา กรณีกฎหมายของรัฐบาลไม่ผ่านสภา จึงเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ ส.ส.ไม่มีสิทธิในการออกเสียงอย่างเป็นอิสระ การออกเสียงในแต่ละครั้งจะเป็นไปภายใต้ มติร่วมของรัฐบาล ผ่าน คณะกรรมการที่เรียกว่า วิปรัฐบาลนั่นเอง

จุดเด่นคือ

  • หลักการถ่วงดุลย์อำนาจ


โครงสร้างอำนาจในส่วนการเมืองการปกครอง

กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์ภาควิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง