โครงสร้างอำนาจในส่วนการเมืองการปกครอง
- แบบประธานาธิบดีแบ่งแยกอำนาจ (อเมริกาเป็นต้นแบบ )
- แบบกึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภา (ฝรั่งเศสเป็นต้นแบบ)
- แบบรัฐสภา (อังกฤษต้นแบบ )
- รูปแบบประธานาธิบดีแบบอเมริกา ต้นแบบอย่างอเมริกา ประชาชนเลือกประธานาธิบดีโดยอ้อม ผ่านคณะเลือกตั้ง และคณะเลือกตั้งไปเลือกประธานาธิบดีอีกชั้น
- รูปแบบนี้ อำนาจอธิปไตย แบ่งแยกขาดจากกัน กล่าวคือ สภาไม่สามารถตรวจสอบประธานาธิบดีได้ เว้นแต่กรณีทำผิดศีลธรรมร้ายแรง ( Impeachment ) ในขณะที่ประธานาธิบดีก็ไม่สามารถยุบสภาได้เช่นกัน
- รูปแบบนี้ไม่มีนายกรัฐมนตรี
- ประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐ
- ประธานาธิบดีเป็นประมุขฝ่ายบริหาร
- ประธานาธิบดีแต่งตั้งรัฐบาลด้วยตนเอง
- ประธานาธิบดีไม่ต้องแสดงความรับผิดชอบต่อสภา กรณีกฎหมายไม่ผ่านสภา
จุดเด่นของรูปแบบนี้
- มีความรวดเร็ว
- มีความมั่นคง
- อำนาจไม่ก้าวก่ายกัน
- ประธานาธิบดีมีอำนาจมาก
- มีความต่อเนื่องในเชิงการบริหาร
จุดด้อยของรูปแบบนี้
- ประธานาธิบดีมีอำนาจมากเกินไป ถ้าใช้อำนาจนั้นโดยขาดศีลธรรมจรรยาจะเป็นอันตรายเป็นอย่างมาก เพราะการถืออำนาจและสามารถสั่งการการใช้อำนาจอยู่ในมือคนคนเดียวมากเกินไป
โครงสร้างอำนาจในส่วนการเมืองการปกครอง
รูปแบบกึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภา
เป็นรูปแบบผสม เป็นการสังเคราะห์เอาข้อดีระหว่างรูปแบบรัฐสภาและประธานาธิบดีนำมารวมกัน ซึ่งฝรั่งเศส คิดรูปแบบการปกครองรูปแบบนี้ขึ้นมา ในสมัยสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5 โดยมีชาร์ลส์ เดอ โกลล์ เป็นประธานาธิบดี
ทั้งนี้เพราะไม่ว่าผู้ใดจะมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ก็ทำให้เกิดความวุ่นวาย มีข้อขัดแย้งมากและต้องยุบสภาบ่อย รัฐบาลหรือรัฐสภาต้องออกจากตำแหน่งและมีการเลือกตั้งใหม่อยู่บ่อยครั้ง ทำให้เสียงบประมาณ ดังนั้นนักรัฐศาสตร์และนักนิติศาสตร์ของประเทศฝรั่งเศสจึงได้พัฒนารูปแบบการปกครองโดยผสมผสานกันระหว่างระบอบรัฐสภาและระบอบประธานาธิบดี ทั้งนี้ได้มีการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส พ.ศ. 2493 และมีการแก้ไขในปี พ.ศ. 2505
- รูปแบบนี่้ประชาชนเลือกประธานาธิบดี
- ประธานาธิบดีเลือกนายกฯ
- นายกฯเลือกคณะรัฐมนตรี โดยผ่านการเห็นชอบของประธานาธิบดี
- ประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐ
- ประธานาธิบดีเป็นประมุขฝ่ายบริหาร
- นายกรัฐมนตรีทำหน้าที่คล้ายผู้ช่วยประธานาธิบดี และมีบทบาทน้อยมาก
- ประธานาธิบดีมีอำนาจยุบสภาได้
โครงสร้างอำนาจในส่วนการเมืองการปกครอง
รูปแบบรัฐสภา
- รูปแบบนี้ ประมุขแห่งรัฐมี 2 ประเภท คือ แบบประธานาธิบดีก็ได้ เช่น อินเดีย เยอรมัน สิงคโปร์ ฯลฯ และมีกษัตริย์เป็นประมุข เช่น อังกฤษ ไทย มาเลเซีย ญี่ปุ่น เป็นต้น
- มีนายกรัฐมนตรีเป็นประมุขหรือหัวหน้าฝ่ายบริหาร
- ประชาชนเลือกสมาชิกสภาผู้แทนฯเป็นรัฐสภา
- รัฐสภาเลือกนายกรัฐมนตรี
- นายกรัฐมนตรีจัดตั้งคณะรัฐบาล
- นายกรัฐมนตรีมีอำนาจยุบสภา
- รัฐสภามีอำนาจตรวจสอบนายกรัฐมนตรีได้
- สำหรับของประเทศไทย พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจอธิปไตยผ่านรัฐสภา รัฐบาล และตุลาการภายใต้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
จุดอ่อนของระบอบรัฐสภาคือ
- ขาดเสถียรภาพ ไม่เป็นเอกภาพ
ดังนั้นตามครรลองของรูปแบบนี้ จึงไม่สามารถ แยกขาด สองอำนาจคือ นิติบัญัติ (รัฐสภา ) และ บริหาร (รัฐบาล) ออกจากกันโดยสิ้นเชิงได้ เพราะรัฐบาลจะเป็นรัฐบาลได้ ต้องประกอบด้วยเสียงจากรัฐสภาที่เป็นเสียงข้างมาก จึงจะสามารถเป็นรัฐบาลได้
- เมื่อมือของ ส.ส.ในรัฐสภามีผลอย่างมากต่อการมีเสถียรภาพหรือไม่มีเสถียรภาพของรัฐบาล เป้าหมายแรกของการนำไปสู่การถือครองอำนาจรัฐ จึงเป็นที่นั่งในสภา พรรคการเมืองต่างๆจึงแย่งชิงเพื่อให้ได้มาซึ่งตัวเลขในสภาให้มากที่สุด เพื่อเป้าหมายการถือครองอำนาจรัฐ ด้วยวิธีการต่างๆ
- จุดอ่อนของระบบรัฐภานี้ก็คือ ความไม่มีเอกภาพ ขาดเสถียรภาพ โดยหลักการของตัวมันเอง
- เมื่อรัฐบาลต้องรับผิดชอบต่อสภา กรณีกฎหมายของรัฐบาลไม่ผ่านสภา จึงเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ ส.ส.ไม่มีสิทธิในการออกเสียงอย่างเป็นอิสระ การออกเสียงในแต่ละครั้งจะเป็นไปภายใต้ มติร่วมของรัฐบาล ผ่าน คณะกรรมการที่เรียกว่า วิปรัฐบาลนั่นเอง
จุดเด่นคือ
- หลักการถ่วงดุลย์อำนาจ
โครงสร้างอำนาจในส่วนการเมืองการปกครอง
กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์ภาควิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น