กังวาล ทองเนตร

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา Pohthaiblogspot.com

วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559

เป้าหมายการมีรัฐธรรมนูญ

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย (ไทย)


รัฐธรรมนูญ ( constitution ) ที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่เก่าแก่ที่สุดในโลก คือ รัฐธรรมนูญของประเทศ สหรัฐอเมริกา ซึ่งร่างขึ้นโดย มหาบุรุษ 3ท่าน ของอเมริกาคือ

  1. เบญจมิน แฟรงคลิน
  2. เจมส์ เมดิสัน
  3. อเล็กซานเดอร์  แฮมิลตัน
ซึ่งรัฐธรรมนูญของอเมริกา มีเพียง 7 มาตรา เท่านั้น


รัฐธรรมนูญ อเมริกา


  • ส่วนประเทศอังกฤษ ไม่มีรัฐธรรมนูญ มีเพียงแค่ แมกนาคาร์ตา ซึ่งจารึกเป็นภาษา ละตินแปลว่าเอกสารแผ่นใหญ่ ที่ไม่นับแมกนาคาร์ตาว่ารัฐธรรมนูญ สืบเนื่องมาจาก เนื้อหาใน แมกนาคาร์ตา เป็นเพียงข้อตกลง หรือ สัญญา ระหว่าง กษัตริย์ กับขุนนางอังกฤษในยุคสมัยนั้นเท่านั้น ไม่มีข้อความส่วนใดที่ กำหนด รูปแบบรัฐ โครงสร้างรัฐ โครงสร้างอำนาจ หรือส่วนอื่นๆ ดังนั้นแมกนาคาร์ตา จึงไม่นับเป็นรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด

แมกนาคาร์ตา

รัฐธรรมนูญ ( constitution ) คือกฎหมายแม่แบบ ที่ใช้ในการปกครองประเทศแต่ละประเทศ  เหตุที่รัฐธรรมนูญ ถูกยกให้เป็นกฎหมายแม่ หรือกฎหมายสูงสุด ก็สืบเนื่องมาจาก เนื้อหาในรัฐธรรมนูญจะประกอบด้วยสิ่งต่างๆดังนี้


  1. มีการกำหนดโครงสร้างของรัฐ หรือประเทศ หรือรูปแบบของรัฐ ว่าจะให้เป็นรูปแบบใด เช่น สาธารณะรัฐ ( republic ) สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ( socialism ) ราชอาณาจักร (Kingdom )  เป็นต้น
  2. มีการกำหนดโครงสร้างอำนาจ ว่าแต่ละฝ่ายมี โครงสร้างอำนาจ หน้าที่อย่างไร เช่น ฝ่ายบริหารมีวิธีการเข้าสู่อำนาจอย่างไร และออกจากอำนาจอย่างไร หรือผ่ายตุลาการ นิติบัญญัติ มีโครงสร้างอำนาจอย่างไร มีที่มาที่ไปอย่างไร มีการแยกอำนาจหรือแบบรวมศูนย์อำนาจ
  3. มีการกำหนดรูปแบบการปกครองรัฐหรือประเทศ ว่าใช้รูปแบบการปกครองใด อาทิ รูปแบบประธานาธิบดีแยกอำนาจ (อเมริกาเป็นต้นแบบ ) รูปแบบรัฐสภา (อังกฤษ เป็นต้นแบบ ) รูปแบบกึ่งประธานาธิบดี กึ่งรัฐสภา ( ฝรั่งเศส เป็นต้นแบบ ) หรือรุปแบบอื่นๆเช่น ราชาธิปไตย แบบชนเผ่า เป็นต้น
  4. มีการกำหนดสถาบันต่างๆในทางสังคมขึ้น และแต่ละสถาบัน มีความความสัมพันธ์ เกี่ยวข้องกันอย่างไร เช่น สถาบันพระมหากษัตริย์ หรือ ประธานาธิบดี (ในส่วนที่ทำหน้าที่ ประมุขแห่งรัฐ ) สถาบันทางการเมือง สถาบันทางตุลาการ สถาบันทางการศึกษา และสถาบันทางสังคมอื่นๆ
  5. มีการกำหนดโครงสร้าง หน่วยงานทางการปกครอง มีกี่ระดับ ระดับใดบ้าง มีความสัมพันธ์กันอย่างไร มีการจัดการปกครอง อย่างไร
  6. มีการกำหนดขั้นตอนการใช้อำนาจ ทั้งฝ่ายบริหาร ตุลาการ นิติบัญญัติ ว่ามีขั้นตอนระเบียบปฏิบัติอย่างไร
  7. มีการกำหนดบทบาท สิทธิ หน้าที่ ของ พลเมือง หรือสมาชิกในสังคมนั้นๆว่าต้องมี บทบาท สิทธิ หน้าที่ อย่างไร
  8. มีการกำหนดและคุ้มครอง หรือ รับรอง  บทบาท หน้าที่ สิทธิ ของพลเมืองในประเทศนั้นๆว่าจะได้รับการคุ้มครอง ดูและจากรัฐอย่างไร
  9. มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ ของฝ่ายบริหาร ตุลาการ นิติบัญญัติ ที่พึงกระทำต่อ รัฐ พลเมืองของตนอย่างไร
  • ซึ่งโดยรวมแล้วจะเห็นว่า รัฐธรรมนูญ กำหนดโครงสร้างหลักๆของประเทศ  ต่างๆเอาไว้แบบ กว้างๆไม่เจาะลึกลงในรายละเอียด ซึ่งจะไปเขียนไว้ในกฎหมายลูกแทน
  • ดังนั้นหลักการบัญญัติรัฐธรรมนูญ ตามรูปแบบประชาธิปไตย (ที่เป็นสากล )  จะมุ่งเน้นไปที่ การรับรอง บทบาท หน้าที่ สิทธิทางธรรมชาติ ของมนุษย์ที่พึงมีพึงได้อยู่ก่อนแล้วตามธรรมชาติ ให้มีความถูกต้อง ชอบธรรม มากขึ้นเท่านั้นเอง 
  • รัฐธรรมนูญตามหลักประชาธิปไตยสากลจึงไม่ใช่ การบัญญัติความต้องการของชนชั้นปกครอง ว่าต้องการ กระทำ หรือไม่กระทำสิ่งใด ต่อชนชั้นถูกปกครอง หากแต่เป็นการรับรองสิทธิ ต่างๆที่เกิดขึ้นอยู่แล้วตามธรรมชาติ ให้ถูกต้องยิ่งขึ้นและเป็นสากล
  • รัฐธรรมนูญที่ดี จึงไม่ใช่รัฐธรรมนูญที่เขียนขึ้นจากความต้องการของชนชั้นปกครอง หรือกลุ่มคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หากแต่ เป็นรัฐธรรมนูญ ที่ถูกบัญญัติขึ้น หรือ ทำลายอุปสรรคต่างๆ ที่จะก่อปัญหา ที่จะกระทบสิทธิ พลเมือง หรือ อำนวยความสะดวก หรือสนองตอบความต้องการของพลเมือง เป็นหลัก


กังวาล  ทองเนตร คณะรัฐศาสตร์ ภาควิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง


อดอป ฮิตเลอร์ (ฟาสซิสต์ เยอรมัน )


โฮจิมินต์ (เวียตนาม)


เบนิโต มุสโสลินี (บิดาผู้ก่อตั้งระบอบฟาสซิสต์ อิตาลี )


อินทิรา  คานธี (อินเดีย )


เลนิน ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ (โซเวียต-รัสเซีย )

วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2559

ปัญหาพรรคการเมืองไทยตอนที่2


ในตอนที่แล้วผมได้พูดถึงปัญหาในระดับสาขาพรรคและศูนย์ประสานงานพรรค รวมถึงการที่พรรคการเมืองไม่ใส่ใจที่จะขยายสาขาพรรคอย่างจริงจัง ซึ่งส่วนหนึ่งก็มาจาก สถานที่ก่อตั้งสาขาพรรค ซึ่งเป็นของพรรคการเมืองโดยตรง จะไม่มี แต่จะเป็นของสมาชิกพรรคบางคนที่มีกำลังในพรรคเท่านั้น ซึ่งจะส่งผลถึงการคัดสรรคนลงเป็นกรรมการบริหารศูนย์/สาขาพรรคด้วย และรวมไปถึงตัวผู้สมัครในระดับต่างๆด้วย

ซึ่งปัญหานี้จะเห็นได้ชัดว่าเป็นโครงสร้างที่ไม่เปิดกว้างเป็นสาธารณะและปัญหาสถานที่ก่อตั้งสาขาพรรคมีน้อย ส่วนหนึ่งก็เป็นผลมาจาก กฎหมาย ที่บังคับยึดทรัพย์พรรคการเมืองเมื่อ พรรคไม่ดำเนินกิการทางการเมืองหรือถูกยุบ จึงปรากฎความจริงว่า ส่วนที่เป็นทรัพย์สินพรรคการเมืองจริงๆแล้ว จึงมีเพียง โต๊ะ เก้าอี้ คอมพิวเตอร์ไม่กี่เครื่อง แก้วน้ำกระติกต้มน้ำ แก้วน้ำชา กาแฟเท่านั้นที่เป็นทรัพย์สินพรรคการเมือง ซึ่งผมได้เสนอทางแก้ไว้แล้ว

ในตอนนี้ผมจะพูดถึงปัญหาการเสนอตัวลงสมัครรับเลือกตั้ง ปัญหาการหาเสียง ภายในเขต

  • ปัญหาการเสนอตัวลงสมัครรับเลือกตั้ง เป็นประตูด่านแรกของการก้าวขาเข้าสู่เวทีทางการเมือง จากการศึกษาจะพบว่า ประชาชนทั่วไป หรือบุคคลที่เป็นสมาชิกพรรคทั่วไป ไม่สามารถ นำเสนอตัวเองเป็นตัวแทนพรรคลงสนามเลือกตั้งได้เลย ผู้ที่จะเสนอตัวเป็นตัวแทนพรรคได้ มีอยู่ 3 กรณีคือ
  1. มีความสัมพันธ์หรือใกล้ชิดกับบุคคลที่เป็นเจ้าของสถานที่ตั้ง สาขาหรือศูนย์ประสานงานพรรคเท่านั้น
  2. เป็นผู้มีชื่อเสียงทางสังคม หรือมีฐานะทางเศรษฐกิจดี ที่กรรมการบริหารเป็นผู้คัดสรรเลือกเข้ามาเองจากส่วนกลาง แล้วจัดสรรลงไปสู่ระดับภูมิภาค
  3. เป็นอดีต ส.ส. ส.ว. หรืออดีตนักการเมืองระดับอื่นๆ
ดังนั้นแม้ทางทฤษฎี สาขาพรรคหรือศูนย์ประสานงานพรรค สมควรเป็นผู้คัดสรรบุคคลที่มีความเหมาะสมในพื้นที่ เพื่อลงสมัครรับการเลือกตั้งเพื่อเป็นตัวแทนพรรค และส่งรายชื่อที่ทางศูนย์หรือสาขาพรรคมีมติเลือกบุุคคลนั้นๆ ส่งไปยังพรรคส่วนกลางอนุมัติเห็นชอบ
แต่ในทางปฏิบัติ สาขาหรือศูนย์ ฯ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของขั้นตอน กรรมวิธีให้ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น

ซึ่งจะพบว่าส่วนใหญ่ถ้าถูกเลือกโดยศูนย์ฯ/สาขา ก็จะเป็นคนที่เกี่ยวข้องกับคนที่เป็นเจ้าของที่ตั้งศูนย์ฯ/สาขานั้นๆ หรือเป็นคนที่มีชื่อเสียงที่เดินเข้าไปสมัครโดยตรงกับพรรคใหญ่จากส่วนกลาง แล้วส่วนกลางค่อยแจ้งมายังศูนย์ /สาขาให้ทราบอีกที ว่าจะส่งใครลงสมัครพื้นที่นั้นๆ ซึ่งวิธีการนี้ ก่อให้เกิดปัญหาภายในขึ้น ในศูนย์ฯ/สาขา เป็นอย่างยิ่งซึ่งจะอธิบายต่อไป

  • ปัญหาการหาเสียงภายในเขตพื้นที่ ปัญหานี้สืบเนื่องมาจากปัญหาแรก จากการศึกษาพบว่าถ้าเขต เลือกตั้ง หรือระบบเลือกตั้งเป็นแบบ พวงใหญ่เรียงเบอร์ อาทิ เขตหนึ่ง มี 3คน เรียงเบอร์ 1-2-3จะมีปัญหาในการหาเสียงเป็นอย่างมากเริ่มจาก
  1. การแย่งกันเพื่อจะได้เป็นผู้สมัครเบอร์แรก ของทีม เช่น เบอร์ 1 2 3 ก็จะแย่งกันเป็น เบอร์ 1 เพื่อให้ตนเองเห็นชัดและถูกเลือกได้ง่าย
  2. ต้นทุนทางสังคมของผู้สมัครในทีมแต่ละคนไม่เท่ากัน เช่นบางคนมีชื่อเสียง มีฐานะทางสังคมดีกว่า ผู้สมัครที่เหลือ ก็จะส่งผลต่อการรวมทีม การหาเสียง เพราะเวลาออกหาเสียงลงพื้นที่จริงๆ จะกลายเป็นว่า แตกทีมกัน ผู้สมัครที่มีชื่อเสียง มีฐานะดีกว่า ก็จะทิ้งลูกทีมคนอื่นๆ ผู้สมัครที่มีชื่อเสียงมีฐานะก็จะมี กำลัง ทั้งเงิน คน รถแห่ ตลอดจนถึงการทำป้ายหาเสียง แบบลูกโดด คือ ทำเฉพาะป้ายที่มีรูปมีเบอร์ตนเองเท่านั้น  ส่งผลกระทบต่อผู้สมัคร 2 คนที่เหลือ  ดังนั้นระบบเลือกตั้งแบบนี้ ผู้มีชื่อเสียง มีฐานะดีกว่า จะเป็นผู้ได้เปรียบ ผู้สมัครคนอื่นๆภายในทีม และส่งผลไปถึง การเกิดกล่มก้อน ความไม่สามัคคีกันภายในทีม
  3. สืบเนื่องจากข้อ 2 เมื่อมีผู้สมัครในทีมคนใดคนหนึ่งหาเสียงเดี่ยวทิ้งลูกทีม ก็จะส่งผลให้ ผู้สมัคร 2 คนที่เหลือ วิ่งหาตัวช่วย เช่น วิ่งเข้าหาผู้มีอิทธิพล มีเงิน มีกำลังในท้องที่ ให้ช่วยเหลือ ส่งผลให้เป็น ส.ส.มีเจ้าของ มีสังกัด มีระบบบุญคุณกันขึ้น และมีการตอบแทนกันขึ้นในภายหลัง เมื่อคนเหล่านั้นได้มีโอกาส บริหารประเทศ
  4. ปัญหาการเลือกตั้ง ระบบ พวงใหญ่เบอร์เดียว คือ ในเขตหนึ่ง มีผู้สมัคร 2-3 คนแต่ใช้เบอร์เดียวกัน  กรณีนี้จากการศึกษาพบว่า พรรคการเมืองจะกระจายผู้สมัครที่มีชื่อเสียง เป็นหัวหน้าทีมลงสมัครในเขตต่างๆ โดย พ่วงท้ายเอาผู้สมัครที่เหลือ ที่ไม่มีชื่อเสียง หรือหน้าใหม่ หรือ เป็นคนใกล้ชิด ร่วมทีมเข้าไปด้วย ระบบนี้ พบปัญหาตามมานอกจากที่กล่าวแล้วก็คือ ระบบบุญคุณ เช่นกัน เพราะผู้สมัครที่ โนเนม ถูกหนีบเข้าไปด้วยและได้เป็น ส.ส. ก็กลายเป็น เด็กในคาถาของ ผู้สมัครที่เป็นหัวหน้าทีมนั้นไป กลายเป็นกลุ่ม ก้อน หรือมุ้งเล็ก มุ้งใหญ่ ภายในพรรคขึ้นเช่นกัน
  5. ระบบเลือกตั้งแบบ เขตเดียวเบอร์เดียว หรือ วันแมน วันโหวต ระบบนี้สามารถแก้ปัญหา แบบพวงใหญ่ได้ชัดเจน คือผู้สมัครมีเอกเทศในการหาเสียง ไม่ถูกควบคุมหรืออยู่ภายใต้อิทธิพลผู้สมัครอื่น แต่ ข้อเสียของระบบนี้ก็มี เช่น เส้นทาง การเป็นตัวแทนพรรค เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้ง นั่นเอง จะพบว่า ผู้ที่มีโอกาสได้ลงสมัครเป้นตัวแทนพรรค ก็ยังเป็นคนกลุ่มเดิม คือมีอิทธิพล ใกล้ชิดพรรค เป็นส่วนใหญ่

ปัญหาในข้อนี้ แก้ไขได้โดย ใช้ระบบเลือกตั้งขั้นต้น หรือไพแมรี่โหวต เปิดโอกาสให้ สมาชิกในพื้นที่ ได้ใช้สิทธิ์ ของตนเองอย่างเต็มที่ เพื่อเฟ้นหาคนลงรับสมัครเป็นตัวแทนพรรค จากนั้น ส่งรายชื่อให้ส่วนกลางอนุมัติ  เป็นการตัดอำนาจจากส่วนกลางออกไป ที่เข้ามาก้าวล่วงส่วนพื้นที่ระดับสาขาพรรค โอกาสหน้าผมจะเสนอปัญหาส่วนอื่นให้เห็นต่อไป

กังวาล ทองเนตร คณะรัฐศาสตร์เอกการปกครองมหาวิทยาลัยรามคำแหง