กังวาล ทองเนตร

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา Pohthaiblogspot.com

วันศุกร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การศึกษาไทยยิ่งเดินหน้ายิ่งถอยหลัง



การศึกษา

การศึกษาคือสิ่งที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาคน พัฒนาชาติ ในประเทศที่เจริญแล้ว ระบบการศึกษา จะมีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ มีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาสูงกว่า ประเทศด้อยพัฒนา อย่างเห็นได้ชัด

พัฒนาการการศึกษาไทย

การศึกษาของประเทศไทย เดิมทีเดียว หน่วยงานที่จัดการดูแลการศึกษา และมีบทบาททางการศึกษามาตลอดคือ วัด วัดคือสถานศึกษาในยุคต้นๆของไทย ครูยุคต้นๆก็จะเป็นพระ สมภารเจ้าอาวาส ก็จะทำหน้าที่เป็นเสมือน ผู้อำนวยการโรงเรียน ในยุคต้นของสังคมไทย ชนชั้นสูงเท่านั้นที่มีโอกาสได้รับการศึกษา

  • การศึกษายุควัดนี้ เป้าหมายของการศึกษา น่าจะอยู่ที่ ศีลธรรม จรรยา กตัญญู รู้คุณ  เป็นหลัก ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา น่าจะอยู่ที่ พออ่านออกเขียนได้ เท่านั้น ไม่ได้มุ่งเน้น ผลิตคนเข้าสู่ ตลาดแรงงาน อย่างเช่นปัจจุบัน ดังนั้นการศึกษายุค วัดนี้ คนที่อ่านออกเขียนได้จึงเป็น พระ หรือประชาชนที่ไปบวช เรียน หรือชาวบ้านที่อยู่ใกล้วัด เป็นส่วนใหญ่


  • ต่อมาเมื่อประชากรชาติ เพิ่มมากขึ้น ปัญหาทางสังคมมีความซับซ้อนมากขึ้น การแข่งขันจากภายนอกมีมากขึ้น ทั้งทางเศรษฐกิจ ทางสังคม การศึกษา ในยุควัด จึง ไม่ตอบโจทย์ ให้กับสังคม ระบบการศึกษาไทยจึงเปลี่ยนมือ จากพระ จากองค์การทางศาสนา มาเป็น หน่วยงานทางการศึกษา ที่จัดตั้งขึ้นมาโดยเฉพาะ


  • กระทรวงศึกษาธิการ และทบวงมหาวิทยาลัย เป็นผู้รับช่วงการศึกษาต่อจากมือพระ การศึกษาไทยจึงก้าวสู่การเปลี่ยนผ่าน ทางโครงสร้างอย่างเต็มตัว แต่เนื่องจากบุคคลากรด้านบริหาร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชนชั้นปกครอง หรือเป็นนักการเมือง ซึ่งมีบทบาทในการกำหนด นโยบาย 


  • แม้ระบบการศึกษา จะไม่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงโดยตรง แต่การศึกษากลับมีบทบาท ด้านการปลูกฝัง วัฒนธรรมชาติ ดังนั้น การศึกษาไทย จึงถูกแทรกแซง จากฝ่ายความมั่นคงในรัฐ ให้กำหนดบทบาท ทิศทางการศึกษา เพื่อสนองตอบ นโยบายของผู้ปกครองในแต่ละยุคด้วย


ตำราเรียน แบบเรียน ถูกเขียนขึ้นจากนักวิชาการฝ่ายรัฐ ที่ต้องการปลูกฝังค่านิยม ใส่ลงไปในสมองของคนในชาติ ผ่าน นิทาน เรื่องเล่าต่างๆ กลายเป็นตำราเรียนให้เด็กได้ท่องจำ


  • การศึกษาของไทย ในยุคที่คนในสังคมแย่งชิงอำนาจกัน เป้าหมายของ การศึกษาจึงพุ่งตรงไปที่ ดึงคนให้เข้าเป็นพวกเดียวกับรัฐ หรือ ให้คนสวามิภักดิ์ ต่อรัฐ เมื่อเป้าหมายการศึกษา แปรเปลี่ยนไป บทบาทของการศึกษาไทย จึงไม่ได้มุ่ง ผลิตคนให้มีคุณภาพเชิงวิชาการ แต่พุ่งไปที่ผลิตคนให้ภักดีต่อภาครัฐ ไม่ต่อต้านรัฐ ไม่กระด้างกระเดื่องต่อรัฐ

  • ดังนั้นเนื้อหาในแบบเรียน จึงมุ่งไปที่ ความยิ่งใหญ่ ความมีอารยธรรมของรัฐตน รวมถึงการทำสงครามกับประเทศเพื่อนบ้าน การรวบรวมแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่น แต่ก็ละเลยรายละเอียดปลีกย่อย ซึ่งจะส่งผลกระทบในภายหน้าด้วย

  • เมื่อสังคมยุคเปลี่ยนผ่านได้เริ่มเข้าที่เข้าทาง การศึกษาไทย ก็ถูกกำหนดให้เปลี่ยนทิศทาง เพิ่มเติมขึ้นไปอีก กล่าวคือ นอกจากจะพุ่งไปที่ให้คนสวามิภักดิ์ต่อรัฐแล้ว ในยุคการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ยุคอุตสาหกรรม การศึกษาไทยก็ เบนทิศทางไปตามนโยบายแห่งรัฐด้วย คือ ป้อนคนเข้าสู่ โรงงานอุตสาหกรรม หรือตลาดแรงงาน


การศึกษายุคนี้จะมีการศึกษาเฉพาะทาง เกิดขึ้นมากมาย หรือ มักเรียกกันว่า สายอาชีพ ที่ต้องการตอบสนองความต้องการแรงงาน ของภาครัฐ เพื่อป้อนคนเข้าสู่ตลาดแรงงาน เพื่อผลักดันนโยบาย ทางเศรษฐกิจ ให้ตัวเลข จีดีพี พุ่งสูงขึ้น เพื่อเป้าหมายมวลรวมของชาติ ในสายตาชาวโลก ในแง่เศรษฐกิจ
วิธีการเช่นว่านี้ คน หรือ บุคคลากรชาติ ถูกทำให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของปัจจัยการผลิต ทางอุตสาหกรรมไป

  • ทำให้วิถีชีวิตดั้งเดิมของคนเปลี่ยนตามกระแสนิยมไปด้วย
  • เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงาน จากชนบท เข้าสู่เมืองใหญ่
  • สังคมครอบครัว ถูกโรงงานอุตสาหกรรมเบียดแย่งเวลาไป
  • ลูกหลาน ถูกทอดทิ้ง ให้ บุพการี รุ่น ปู่ย่า ตา ยาย ดูแล เลี้ยงดูแทน
  • เกิดปัญหากระทบทางสังคมส่วนรวมโดยตรง เช่น ปัญหาคนจนในเมือง
  • ปัญหาชุมชนแออัด ปัญหายาเสพติด ปัญหาการหย่าร้าง
  • ปัญหาท้องก่อนวัยอันควร รวมถึงปัญหาอาชกรรมอื่นตามมาอีกมากมาย


  • ทั้งหมดทั้งสิ้นนี้ ล้วนเป็นปัญหาที่สืบเนื่องมาจาก การโผกผัน การเปลี่ยนแปลงของระบบการศึกษา ที่ภาครัฐจัดทำขึ้น ส่งผลกระทบโดยตรงกับวิถีชีวิตชุมชนโดยรวม ทำให้วงจรชีวิตของประชากรเปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ ตื่นเช้ามา อาบน้ำแต่งตัวไปทำงาน เย็นกลับบ้านอาบน้ำนอน เป็นวิถีชีวิตที่ซ้ำๆจำเจอยู่เช่นนี้ จนขาดปฏิสัมพันธ์ กับคนในครอบครัว รวมถึงสังคมรอบข้างด้วย ส่งผลเกิดการกระทบกระทั่งกันขึ้นดดยง่าย เพราะผู้คนไม่รู้จักกัน ขาดกิจกรรม ขาดปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน จึงเกิดความเหินห่างขึ้นระหว่าง สังคมเล็กใกล้ตัว นำมาซึ่งปัญหาต่างๆที่กล่าวมาแต่ข้างต้น



นอกจากนี้การที่ประเทศไทยเปิดพรมแดนสู่กัน ทำให้ การติดต่อสื่อสาร มันความจำเป็นเร่งด่วนที่รัฐต้องเร่งดำเนินการ นั่นคือการที่ประชากรในชาติ ขาดทักษะ ในการสื่อสารกับชาวต่างชาติ หรือขาดภาษาที่ สอง รองจากภาษแม่นั่นเอง

ภาษาอังกฤษ นับว่าเป็นภาษาสากลที่ประชากรโลกใช้สื่อสารกันมากที่สุด แต่ประชากรของไทย กลับด้อยทักษะด้านภาษานี้ที่สุด เมื่อเทียบกับชาติอาเซียนด้วยกันเอง 
  • ส่วนหนึ่งก็อาจเป็นไปได้ว่า มาจากอัตลักษณ์ของคนไทยเอง ที่มีความหยิ่งทนงในความเป็นชาติ เป็นไทยของตนเอง แต่
  • ส่วนหนึ่งที่ผมคิดว่าเป็นส่วนสำคัญที่สุด ก็คือ ระบบการศึกษาของไทยเราเอง คนไทยเราเรียนภาษาอังกฤษ ในปัจจุบันนี้ต้องกล่าวได้ว่า เรียนตั้งแต่อนุบาลเสียด้วยซ้ำ แต่คนไทยกลับสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษไม่ได้
ทั้งนี้ผมมองว่าสาเหตุหลักที่ผมพูดมาตลอดว่า เป็นการจัดการศึกษาด้านทักษะนี้ผิดไปจากที่ควรจะเป็น

  • การศึกษาในกลุ่มภาษาไทย หรือวิชาภาษาต่างประเทศ ควรแยกวิชาเหล่านี้ออกจากวิชาหลัก
  • แล้วนำไปรวมกลุ่มอยู่ในหมวดวิชา เสริมทักษะแทน กล่าวคือ ถ้าเราใช้วิชาเหล่านี้ไปอยู่ในวิชาหลักหรือวิชาแกน การเรียนการสอนก็จะถูกตีกรอบ ให้ เรียน ให้สอน ให้สอบ ให้ทำคะแนนตามเกณฑ์ ตามเป้าหมาย ที่ระบบการศึกษาวางเอาไว้ จึงทำให้ ทักาาะการใช้ภาษาเราล้มเหลว
  • การใช้ภาษา การสื่อสาร ต้องยอมรับก่อนว่า ทั้งหมดนี่เป็นเรื่องของการใช้ทักษะ หมายถึง การที่เราสามารถสื่อสารได้ โดยการ พูดเป็นหลัก การพูดเป็นทักษะอย่างหนึ่งในชีวิตมนุษย์ ยิ่งได้พูดได้แสดงออกมากเท่าไหร่ จะทำให้คนคนนั้น มีความเชี่ยวชาญ มีทักษาะในการสื่อสารแบบพูดนั้นไปด้วย

ดังนั้นการเรียนภาษาต่างประเทศ ก็ควรใช้หลักการเดียวกันนี้
  • ผมเรียกมันว่า หลักพัฒนาการตามวัยของมนุษย์ ( Age of human development )
กล่าวคือมนุษย์เราทุกคนตั้งแต่เกิดมาก็จะมีพัฒนาการทางร่างการ ทางสมอง เป็นลำดับขั้น อาทิ การส่งเสียงร้อง มองตามเสียง มองตามสิ่งของ คว่ำหน้า นั่ง คลาน ตั้งไข่ เป็นต้น
จากนั้นมนุษย์ จะพูด ซึ่งเป็นการสื่อสารที่ชัดเจนกว่า การสื่อสารทางร่างกาย มนุษย์ทุกคน ฟัดพูดจาก พ่อแม่ หรือคนใกล้ชิด เป็นทั้งสิ้น มนุษย์ สามารถ พูดได้ก่อนที่จะ สามารถเขียนหนังสือ อ่านหนังสือได้

หลักการนี้นี่เองที่ผมเห็นว่าควรนำไปจัดการศึกษา พัฒนาวิชาในกลุ่มภาษาต่างประเทศ โดยเรียนในหมวดเสริม โดยที่ไม่ต้องสนใจ เรื่อง การอ่านผิด เขียนผิด หรือหลักไวยากรณ์ใดๆทั้งสิ้น

  • ช่วงชั้นเรียนแรก อนุบาล ให้เด็กพูด ตั้งแต่ของใหล้ตัว อวัยวะต่างๆตามร่างกาย โดยไม่ต้องไปสนใจหลักไวยากรณ์ หรือคะแนนวัดผล
  • ช่วงที่สอง ช่วงประถมศึกษา ก็ให้เด็กเน้นพูดสื่อสารในห้องเรียน การจัดกล่มสนทนาเล็กๆน้อยๆตามวัย โดยไม่ต้องไปสนใจหลักไวยาการณ์หรือคะแนนวัดผลเช่นกัน
  • ช่วงที่สาม ช่วงมัธยมต้น เน้นให้เด็กสนทนา เรื่องราวทั่วไป แต่งอนุเฉท สั้นๆง่ายๆ โดยเน้นที่การพูดเป็นหลักเช่นกัน
  • ช่วงชั้นที่สี่ เป็นช่วงชั้นมัธยมปลาย ให้เด็กเริ่มเรียนด้านหลักไวยากรณ์ และการเขียนอนุเฉทง่ายๆบอกเล่าเรื่องราวส่วนตัว เรื่องที่ชอบจน ม.6 ก็ให้เขียนอนุเฉทยาวขึ้น แต่ยังคงเน้นที่การพูดเป็นหลัก
  • ช่วงชั้นที่ห้า ช่วงปริญญตรี ให้เด็กพูด ปาฐกาถา พูดต่อที่สาธารณะ หน้าชั้นเรียน โดยการจัดกล่มแบ่งกลุ่ม และเรียนเรื่องหลักไวยากรณ์ไปด้วย โดยให้ใช้ไวยากรณ์ให้ถูก จากประโยคการพูดนั้นๆ และจัดลักษณะนี้เรื่อยไปในชั้นสูงขึ้น


  • จะทำให้เด็กพูดภาษาอังกฤษได้ และเขียนได้ บางคนอาจพูดได้มากกว่าเขียนได้ บางคนอาจเขียนได้ด้วยพูดได้ด้วย ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักคือให้ ประชากรเราพุดได้ เมื่อเรา พูดได้ สนทนาโต้ตอบกันได้ ก็ไม่ใช่เรื่องยากที่คนเราจะเขียนได้
  • ดูได้จาก เราพูดภาษาไทย ภาษาถิ่นได้เป็นทุนเดิม นั่นคือต้นทุนเรามีแค่ภาษาพ่อแม่ เมื่อทุกคนเดินเข้าสู่โรงเรียน เด็กสามารถอ่านออกเขียนได้ ตั้งแต่ยังไม่ถึงชั้นประถมศึกาาปีที่ 6 ด้วยซ้ำ
  • การเรียนภาษาต่างประเทศนี้ ก็ไม่น่าจะมีข้อยกเว้นเช่นกัน เพียงแต่ต้นทุนเรายังไม่มี จึงไปเริ่มต้นที่โรงเรียนจากนั้น เมื่อเด็กเรียนระดับที่สูงขึ้น หรือจบภาคบังคับ เด็กก็สามารถไปต่อยอดเองได้ หยิบหนังสือมาอ่านเองได้ เมื่อสามารถพูดได้
  • กรณีนี้ก็เป็นกรณีเดียวกับ คนขับรถแท็กซี่ หรือสาวบาร์เบียร์ทั้งหลาย ที่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ ทั้งที่พวกเขาและเธอ ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตัวเอ ตัวบีเขียนกันอย่างไร
  • ผมจึงหวังว่า จะมีผู้ที่นำแนวคิดของผมนี้ไปคิดต่อยอดให้เกิดขึ้นให้ได้กับ การศึกษาไทย และให้การศึกษาของไทยกลับมาเป็นตลาดวิชา หมายถึงให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนได้ตามทาง ตามที่ตนเองถนัด โดยไม่ต้องเรียนเพื่อรัฐ เพื่อโรงงาน อีกต่อไป แต่ควรคืนระบบการศึกาาไทยให้เป็นอิสระ ปราศจากการชี้นำจากหน่วยงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเสียที เพื่อให้การศึกษาไทย มุ่งสู่สากล อย่างแท้จริงและอย่างที่ควรจะเป็นเสียที

กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์ ภาควิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง