กังวาล ทองเนตร

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา Pohthaiblogspot.com

วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เตรียมพร้อมก่อนเรียนราม




เรียนรามได้มากกว่าที่คิด

สวัสดีครับ เพื่อนพ้องน้องพี่ ที่กำลังตัดสินใจจะเข้าเป็น ลูกสาว ลูกชาย คนใหม่ของพ่อขุน ในฐานะรุ่นพี่
ขอแนะนำน้องๆให้ทำความเข้าใจ ศัพท์แสงต่างๆ ในรั้วพ่อขุนของเรา และรายละเอียดต่างๆให้เข้าใจดังนี้ครับ

การเรียนที่รามคำแหง จะมีนักศึกษาอยู่ 2 ประเภทครับ


  1. นักศึกษาภาคปกติ หมายถึงนักศึกษาที่ได้สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ม.6 ) มาแล้ว
  2. นักศึกษา Pre-Degree หรือ Non-Degree หมายถึงนักศึกษาที่ยังไม่สำเร็จการศึกษาในระดับ ม.ปลายมา แต่ สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น หรือ ม.3 มาแล้ว
ทั้งสองประเภทนี้มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร


  • นักศึกษาทั้ง 2 ประเภท ได้เรียนในห้องเรียน และมีสิทธิในการลงทะเบียนเรียน-สอบ-สอบซ่อม เก็บสะสมคะแนน ( หน่วยกิต )เหมือนกันทุกอย่าง

ข้อแตกต่างคือ

  • นักศึกษา ปกติ จะได้รับการชำระค่าหน่วยการเรียนหรือหน่วยกิตที่ถูกกว่า คือ หน่วยกิตละ 25 บาทและเมื่อสอบได้ครบกระบวนวิชาตามโครงสร้างของหลักสูตร จะได้เข้ารับพระราชทาน ปริญญาบัตร
  • นักศึกษา ปรีดีกรี ( Pre-Degree ) จะจ่ายค่าหน่วยกิตที่แพงกว่า คือ 50 บาท/หน่วยกิต 
  • เนื่องจากระบบปรีดีกรีนี้ ทาง ม.รามได้เปิดหลักสูตรขึ้นมาเพื่อให้โอกาส กับผู้ที่สำเร็จการศึกษา ระดับ ม.ต้น ได้มีสิทธิในการเข้าเรียนก่อนจบการศึกษาระดับ ม.ปลาย
  • กล่าวคือ เมื่อจบ ม.3 แล้ว สามารถนำวุฒิ ม.3 ไปสมัครเรียนรามได้ ในระบบ ปรีดีกรีนี้ สามารถลงทะเบียนเรียนได้เหมือนนักศึกษาภาคปกติทุกอย่าง และสะสมหน่วยการเรียนที่สอบผ่านไปแล้วไว้ได้ ควบคู่กับการเรียน ม.6 ไปด้วย ( เรียน 2 ทาง ) คือเรียน ม.6 ควบคู่กับเรียน ป.ตรี ที่รามไปพร้อมกัน
  • วิธีนี้จะทำให้น้องๆที่เข้าเรียนระบบนี้จบการศึกษาได้เร็วกว่า และรับปริญญาบัตรได้เร็วกว่า คนที่ต้องรอให้จบ ม.6 ก่อน
  • ต่อเมื่อนักศึกษา ได้สำเร็จการศึกษาในระดับ มัธยมปีที่ 6  ( ม.6 ) แล้ว ให้นักศึกษา ไปลาออกจากระบบ ปรีดีกรี และนำวุฒิ ม.6 ไปสมัครใหม่เพื่อเป็นนักศึกษาภาคปกติ
  • ขั้นตอนนี้สามารถทำได้ภายในวันเดียวกัน คือเมื่อ น้องๆได้วุฒิ ม.6 มาแล้วหรือสำเนารับรองการจบการศึกษา ที่มีวัน เดือนปี ถูกต้อง ให้น้องๆไปลาออก ที่อาคาร ส.ว.ป.ชั้น 2 ( ให้ไปลาออกในช่วงที่ ม.ราม กำลังเปิดรับนักศึกษาใหม่ ) เช่น ม.รามรับนักศึกษาใหม่ในช่วง วันที่ 3-6 พฤศจิกายน ก็ให้น้องเตรียมเอกสารในการสมัครเป็นนักศึกษาใหม่ให้พร้อม
  • จากนั้นไปลาออกจาก ปรีดีกรี ที่อาคาร ส.ว.ป.ชั้น2 และนำเอกสารการลาออกจากนักศึกษาปรีดีกรีนี้ ไปเป็นเอกสารยืนยันการสมัครเป็นนักศึกษาใหม่ ในวันนั้นเลย
น้องๆก็จะได้เป็นนักศึกษารามภาคปกติเต็มตัว และเสียค่าหน่วยกิตที่ปกติตามเดิมคือ 25 บาท/หน่วย
  • ส่วนหน่วยการเรียนที่น้องสะสมมาได้ตั้งแต่เรียน ปรีดีกรี ก็ให้นำไปโอนเข้าไปสู่ภาคปกติ ได้ทั้งหมด เช่นน้องเรียนสะสมหน่วยกิตมาได้ 120 หน่วยกิต ก่อนลาออก และสมัครเรียนเข้า ม.6 ก็นำไปเทียบโอนในวันสมัครนี้เลย หรือ หลังจากสมัครก็ได้ ทั้ง 120หน่วยกิตที่น้องสอบผ่านได้ เสียค่าเทียบโอน หน่วยกิตละ 50 บาทเท่าที่เราเรียนมาตอนเป็นปรีดีกรี
  • เมื่อน้องเทียบโอนเสร็จ เกรด ทั้งหมดจะถูกบันทึกไว้ และน้องสามารถลงทะเบียนเรียนต่อในกระบวนวิชาที่เหลือได้เลย เช่น นิติศาสตร์ จบที่ 144 หน่วยกิต 
ตอนเรียนปรีดีกรี น้องสอบได้แล้ว 120 หน่วยกิต เหลืออีก 24 หน่วยกิต น้องสามารถลงทะเบียนเรียนทั้งหมด 24 หน่วยกิต และกาหัวว่าขอจบการศึกษาได้เลย

  • นี่คือประโยชน์ของปรีดีกรี ที่น้องสามารถจบได้ก่อน ถ้าน้องเรียนเก่งมีความตั้งใจน้องสามารถ จบได้ในเวลา 2 ปีครึ่ง โดยลงทะเบียนเรียนภาคปกติ 4 ภาค และภาคฤดูร้อน 2 ภาค ก็จบแล้ว ใน 2 ปีครึ่ง โดยที่น้องยังไม่จบ ม.6 ด้วยซ้ำ น้องก้รอจบ ม.6 แล้วไปลาออกจากปรีดีกรี สมัครใหม่เป็นภาคปกติเทียบโอน ก็เข้ารับปริญญาได้เลย 
  • ในขณะที่เพื่อนน้องไม่ได้เรียนก็เพิ่งจะไปหาที่เรียนส่วนน้องอายุ 18 เท่ากันรับ ป.ตรี แล้ว และกำลังเข้าทำงาน หรือกำลังเรียน ป.โท เห็นหรือยังว่า ระบบนี้เป็นการเปิดโอกาสอย่างมหาศาลที่เราต้องรีบคว้า งานมันมีน้อย จบก่อนทำงานก่อน เรียนโทก่อน ก้าวหน้ากว่ากันเยอะครับ
เปลวเทียนให้แสงรามคำแหงให้ทาง

เอกสารที่ใช้สมัคร

  1. ใบสมัครและใบขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา ( ม.ร.2 )กรอกชื่อ ติดรูปให้เรียบร้อย รูปถ่ายขนาด 2นิ้วเท่านั้น ทากาวและติดที่กรอบ
  2. ใบสำเนาวุฒิการศึกษา 2 ฉบับ ( ม.6 สำหรับภาคปกติ ม.3 สำหรับปรีดีกรี )
  3. สำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อ สกุล ผู้สมัคร 2 ฉบับ
  4. สำเนาบัตรประชาชน 3 ฉบับ
  5. ใบรับรองแพทย์ 1ฉบับ  (ไปรับที่รามได้ )
  6. แบบฟอร์มขอเปิดบัญชีธนาคารทหารไทย (เพื่อน้องจะได้ใช้บัตร ธนาคารเป็นทั้งบัตรนักศึกษาและบัตร เอทีเอ็ม เปิดบัญชี 100 บาท)
  7. คู่มือแนะนำการกรอกและให้ใช้ดินสอ 2บี ขึ้นไประบาย ระเบียนประวัตินี้ให้ครบและถูกต้อง ( ม.ร.25 )และแผ่นสีเขียวที่มาพร้อม ชุดใบสมัครที่น้องซื้อตอนแรก ( ถ้าน้องไปสมัครที่รามจะมีรุ่นพีคอยแนะนำตามจุดต่างๆสามารถถามพี่เราได้)
  8. ใบสมัครสมาชิกข่าวราม  (เพื่อเป็นช่องทางแจ้งข่าวการเรียนการสอนการสอบในแต่ละภาคการศึกษาให้น้องได้รับรู้ )
  • หมายเหตุ เวลากรอกใบสมัคร (ม.ร.2 ) ให้น้อง กากบาท ในช่อง เรียนรายกระบวนวิชา Pre- Degree เท่านั้น ไม่ต้องกากบาทในช่องบนที่ระบุคณะนะครับ ช่องนั้นสำหรับผู้ที่จบ ม.6แล้วเท่านั้น อย่าลืมนะครับ ดูให้ดี

ศัพท์แสงที่น้องควรเรียนรู้


เช่น PS110  M0830-1110 BNB801 M20 OCT.2013 B หรือ A

ความหมายคือ

  •  PS เป็นรหัสวิชา ของคณะรัฐศาสตร์ 110 คือชั้นปีนักศึกษา ปี 1และเป็นระหัสวิชาใช้ลงทะเบียนเรียน PS110 ชื่อวิชาคือ การเมืองการปกครองไทย เป็นต้น
  • M0830-1110  หมายถึง เรียนในวันจันทร์ ( M=Monday ) เวลาเรียน 08:30-11:10 น.
  • BNB801  หมายถึง อาคารเรียน  BNB  ( BangNa Build  ) 801 คือห้องเรียน ของอาคารเรียนนี้ อยู่ที่รามฯ2
  • M20 OCT.2013B  หมายถึงวันสอบของวิชานี้ คือถ้าน้องเลือกลงทะเบียนเรียนวิชานี้ น้องจะสอบในวันจันทร์ ที่ 20 เดือนตุลาคม 2013 ส่วนB สอบคาบบ่าย Aหมายถึงสอบคาบเช้า ส่วนเวลาที่ชัดเจนทางรามจะแจ้งในตารางสอบส่วนบุคคลอีกครั้งก่อนสอบ 1 สัปดาห์ น้องต้องไปรับตารางสอบนะครับเพราะจะระบุเวลา ที่นั่งสอบเลขที่สอบในนั้นซึ่งเราต้องใช้กรอกในใบคำตอบของเรา

รวมความทั้งหมดมีดังนี้

วิชา PS110 เรียนเวลา 8.30-11.10 น.ที่ห้อง 801 อาคาร BNBและสอบในวันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม 2013 คาบบ่าย

  • ถ้าน้องเจอในตัวอื่นๆ ก็เหมือนกันครับจำแบบนี้ไปได้เลย เปลี่ยนเฉพาะ รหัสวิชา เวลาเรียนเวลาสอบ คาบเช้าหรือบ่ายเท่านั้นเอง
  • เมื่อน้องรู้อย่างนี้ก็จะจัดการบริหารเวลาของตัวเองได้ว่า วิชาไหน เรียน วันเวลาไหน สอบเวลาไหน
  • ก็ทำให้เราเลือกลงทะเบียนไม่ซ้ำกันกับที่สอบอยู่ ม.6 หรือลงซ้ำกับวิชาอื่น

  • ปกติถ้าน้องลงทะเบียนเรียนถูกจะไม่สอบเวลาตรงกันหรือใกล้กันครับ
  • ดังนั้นน้องต้องลงทะเบียนให้ถูกต้องในคู่มือ ตามสาขาและคณะที่น้องเลือกเรียน

  • และนักศึกษา ปี 1 ต้องลงทะเบียนเรียนในรหัส 1 ขึ้นต้นเท่านั้นครับ เทอมแรกกับเทอม 2 จะเป็นการเรียนปูพื้นฐานวิชาทั่วไปของแทบทุกคณะมาเรียนในปี1 ดูคู่มือให้เข้าใจครับ

  • ปี 1.ต้องเรียนที่รามฯ2 เท่านั้นครับ จำไว้เลย รามฯ2 คือบ้านหลังแรกของเราลูกพ่อขุนทุกคน ที่นี่บรรยากาศดีเหมาะแก่การเรียนไม่วุ่นวายเหมือนราม ฯ1
ส่วนเวลาสอบจะสอบทั้งราม 1และราม 2

อาคารเรียนที่รามฯ2 จะมีดังนี้ครับ 
  • BNB 1-11 ( BNB มี 11 อาคาร )
  •  KTB (อาคารคนที)
  • PBB ( อาคารพระบาง)
  • PRB ทั้งหมดนี้อยู่ที่ราม 2 ครับ


นอกเหนือจากนี้ราม 1 ทั้งหมด

  • เช่น ส.ว.ป. อาคารนี้น้องต้องจำเพราะเราจะใชบ่อยติดต่อ เช็คเกรด สมัคร ลาออก ทุกอย่างอยู่ที่อาคารนี้
VPB,KLB,VKB,SBB ฯลฯ พวกนี้อยู่รามฯ1 ทั้งหมด

  • พอน้องลงทะเบียนเรียนในวิชาพื้นฐาน รหัส 1 ผ่านหมด น้องก็จะลงทะเบีนยเรียน รหัส 2 เช่น PA220 พวกนี้เรียกว่า รหัส 2 เป็นของนักศึกษาปี2 ใช้ลงทะเบียนเรียน รหัส 3 รหัส 4 ไปเรื่อยจนจบหลักสูตร
  • อย่าลงทะเบียนข้ามคณะนอกหลักสูตรนะครับ ดูว่าเราสมัครลงคณะอะไร สาขาอะไร เพราะแต่ละคณะจะมีสาขาแตกออกไปน้องต้องตัดสินใจให้ดีให้เหมาะกับเรา
  • ส่วนน้องนักศึกษาปรีดีกรี จะยังไม่มีรหัสคณะครับ รหัสจะเป็น 0 แต่ให้เราเลือกลงกระบวนวิชาที่เป็นโครงสร้างของสายนั้นทั้งหมด

เช่นเราเลือกเรียน คณะรัฐศาสตร์

คณะรัฐศาสตร์ ก็จะแบ่งออกเป็น 3 ภาควิชาหรือ 3แผน ( Plan) การเรียน

  • แผน A คือ ภาควิชาการปกครอง รหัสวิชาเรียนบังคับของเราคือ PS แผนนี้จบไปก็ไปสอบสายปกครองครับเริ่มจาก ปลัดอำเภอแผนนี้เป็นแผนใหญ่หนักไปทาง การจัดรูปออกแบบโครงสร้างการปกครอง ทฤษฎีการปกครอง เป็นหลักเลย ยากสุดในสายรัฐศาสตร์ ถ้าไหวเรียนเลยครับ ถ้าไม่ไหวเลือกแผนอื่นจะได้ไม่มีปัญหาภายหลัง ข้อสอบสายนี้ เป็นอัตนัย มากโดยเฉพาะวิชาแกน วิชาบังคับเป็นอัตนัยครับ
  • แผน B คือ ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ พวกนี้จบไปก็ไปสอบทางการฑูตครับ รหัส PSเช่นกันแต่เนื้อหาหนักไปทางการฑูตครับ แผนนี้เรียนแล้วจะเก่งภาษาครับ
  • แผน C คือ การบริหารรัฐกิจ รหัส PAสายนี้เมื่อจบ ส่วนใหญ่ถ้าทำงานเป็นผู้จัดการฝ่ายบุคคลตามบริษัทห้างร้านก็จะเป็นนักรัฐศาสตร์สายนี้ครับ เพราะเขาเรียนการจัดรูปองค์กร การบริหารงานส่วนบุคคลเป็นหลัก 

  • ส่วนใหญ่น้องๆที่สมัครรัฐศาสตร์ใหม่ๆมักเลือกแผน A แต่พอถึงปี 2 ย้ายไปแผน C กันหมดเพราะเริ่มเจอข้อสอบอัตนัย ตัวแรกเลยที่น้องจะเจอคือ การปกครองส่วนภูมิภาค PS205 วิชานี้รับน้อง แผน A เป็นด่านแรกเลย สู้นะครับคนอื่นจบได้เราก็จบได้
  • เมื่อเราเลือกคณะและเลือกสายแล้วก็ให้เลือกวิชาในกระบวนโครงสร้างของสายนั้นๆให้ถูกต้องลงทะเบียนครับ



คณะที่เปิดสอนที่ ม.ราม

  1. คณะนิติศาสตร์  รหัสประจำคณะ 0100
  2. คณะบริหารธุรกิจ เปิดสอน 10 สาขา  รหัส 02...
  3. คณะมนุษยศาตร์  เปิดสอน 12 สาขาภาควิชา รหัสคณะ 03..
  4. คณะศึกษาศาสตร์   21 สาขา จิตวิทยา 5 สาขา และสาขาวิชาภูมิศาสตร์อีก 3สาขาวิชา ทั้งหมดรวมอยู่ในคณะศึกษาศาสตร์ รหัสคณะ 04..
  5. คณะวิทยาศาสตร์  เปิดสอน 14 สาขาวิชา รหัสคณะ 05..
  6. คณะรัฐศาสตร์  เปิดสอน 3 สาขา (แผน A,B,C ) รหัสคณะ 0601 ทั้ง 3 แผน และเปิดสาขาใหม่เพิ่มขึ้นมาอีกแผนคือ สาขาบริหารงานยุติธรรม รหัสสาขา 0602
  7. คณะเศรษฐศาสตร์  รหัสคณะ 0700 ทุกสาขา
  8. เทคโนโลยีการสื่อสารมวลชน สาขาวิชาสื่อสารบูรณาการ รหัสสาขาวิชา 5406 และสาขาวิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ รหัสสาขา 5407
  9. คณะศิลปกรรมศาสตร์ เปิดสอน 4 สาขา คือ นาฎศิลป์ไทย/ดนตรีไทย/ดนตรีไทยสมัยนิยม วิชาเอกลูกกรุง/ดนตรีไทยสมัยนิยม วิชาเอก ลูกทุ่ง รหัสสาขา 55..
  10. Pre-Degree เรียนก่อนที่จะจบ ม.6 เพื่อเก็บสะสมหน่วยกิต และนำไปเทียบโอนเมื่อจบ ม.6 ตามที่ได้อธิบายไปแล้วแต่ข้างต้น ยังไม่มีรหัสคณะ ใช้ 9000 เหมือนกันทั้งหมด จนกว่าจะจบ ม.6 และลาออกจากปรีดีกรี และสมัครใหม่เป็นนักศึกษาภาคปกติ ตามคณะที่เราเลือกเรียนไว้แล้วตอนปรีดีกรี ก็จะ บ่งเลขคณะ เป็นไปตามนั้น เช่นตอนปรีดีกรี เลือกเรียนรัฐศาสตร์ เมื่อจบ ม.6 และลาออกจากปรีดีกรีแล้วนำวุฒิ ม.6 มาสมัครเป็นนักศึกษาใหม่เข้าคณะรัฐศาสตร์เหมือนที่เรียนปรีดีกรี เลขรหัสคณะก็จะเป็น 0601 หรือ 0602 ตามที่เราเลือกไว้แล้วสมัยเรียนปรีดีกรี


อัพเดพ อัตราค่าใช้จ่ายใหม่ล่าสุด

**ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นเมื่อแรกสมัครเรียน ปริญญาตรี( ภาคปกติ หรือจบ ม.6 แล้ว ) มีดังนี้**
  1. ค่าลงทะเบียนเรียนเป็นรายหน่วยกิตๆละ                      25 บาท หนึ่งภาคเรียนลงได้ 24 หน่วยกิต ก็ใช้ 24 x 25 =... หรือเราจะลงทะเบียนเรียนน้อยกว่านี้ก็ได้ แต่จบช้าครับ พี่ก้องแนะนำรีบเรียนรีบจบ อย่าอยู่รอเป็นปู่-ย่า ที่รามเลยครับ
  2. ค่าบัตรประจำตัวนักศึกษา                                            60  บาท
  3. ค่าธรรมเนียมแรกเข้าเป็นนักศึกษา                              900  บาท
  4. ค่าขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา                                           800  บาท
  5. ค่าสมาชิกหนังสือพิมพ์ข่าวราม/ภาคเรียน                   100 บาท
  6. ค่าบำรุงมหาวิทยาลัย                                                      500 บาท
  7. ค่าเทียบโอนหน่วยกิต จาก ม.ราม                  50 บาททุกกรณี

                    ค่าเทียบโอนอนุปริญญาจากสถาบันอื่น หน่วยกิตละ  100 บาท

  • รวมเบ็ดเสร็จ สำหรับผู้ลงทะเบียนเต็ม  24 หน่วยกิต  จ่ายทั้งหมด   2,960 บาท
  • ที่เหลือลดหลั่นไปตามที่น้องลงทะเบียนเรียนว่ากี่หน่วยกิต
  • ยกเว้นปรีดีกรี ตัวคูณต้องเป็น 50 บาทนะครับ เพราะน้องได้โอกาสเรียนก่อนเขาจบก่อนเขา
**ค่าใช้จ่ายสำหรับน้องที่จบ ม.3 และกำลังเรียนต่อ ม.ปลาย จะสมัครเรียน ระบบปรีดีกรีมีดังนี้*

  • ค่าลงทะเบียนรายวิชา หน่วยกิตละ             50 บาท
  • ค่าบำรุง                                                           300 บาท
  • ค่าธรรมเนียมแรกเข้าเป็นนักศึกษา             500 บาท
  • ค่าบัตรนักศึกษา                                                60 บาท
  • ค่าขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา                          300 บาท
  • ค่าสมาชิกข่าวราม/เทอม                                100 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้นเมื่อสมัครเรียนครั้งแรกจำนวน     2,460 บาท สำหรับการลงทะเบียน 24 หน่วยกิต และลดหลั่นลงตามจำนวนหน่วยกิตที่น้องลง เช่นกัน


[[ คณะที่ได้รับความนิยม 3 อันดับต้นๆคือ ]]

  1. คณะรัฐศาสตร์
  2. คณะบริหารธุรกิจ
  3. คณะนิติศาสตร์
คณะวิทยาศาสตร์มีแล็ป มีห้องปฎิบัติการพร้อมสรรพครบถ้วนไม่น้อยหน้าสถาบันอื่นๆ

  • คณะที่พี่ก้องแนะนำ สำหรับน้องที่มีเวลาเข้าเรียนเต็มที่ และเหมาะกับน้องที่จบ ม.6 มาแล้วคือคณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งคณะวิทยาศาตร์ จะเปิดสอน
  1. สาขาวิชาคณิตศาสตร์
  2. สาขาวิชาสถิติศาสตร์
  3. สาขาวิชาเคมี
  4. สาขาวิชาฟิสิกส์
  5. สาขาวิชาชีวะวิทยา
  6. สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
  7. สาขาวิชาการวิจัยดำเนินการ
  8. สาขาวิชาเทคโนโลยีพัสดุ
  9. สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร
  10. สาขาวิชาเทคโนโลยีอิเลคทรอนิคส์
  11. สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
  12. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
  13. สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร
  14. สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

สำหรับคณะวิทยาศาสตร์น้องจะต้องมีเวลาเรียน เพราะจะต้องเข้าห้องปฏิบัติการจริง มีการฝึกงาน ทำงานส่ง สัมมนา ด้วย ซึ่งจะทำให้น้องได้เป็นนักวิทยาศาสตร์อย่างมีคุณภาพเมื่อน้องจบออกไปรับใช้สังคม

อีกทั้งการเรียนคณะวิทยาศาสตร์ที่ สถาบันอื่น จะมีค่าลงทะเบียนเรียนที่แพงมาก แต่ที่รามของเรา ยังคงเอกลักษณ์ของรามเสมอมาและตลอดไป น้องต้องตัดสินใจว่า จะเรียนที่ค่าเทอมแพงหรือ เรียนที่ค่าเรียนถูก แต่ศักดิ์และสิทธิ์ แห่งปริญญาบัตรเท่ากัน และรับค่าแรงตามกฎหมายแรงงานที่เท่ากันเมื่อจบใหม่ แถมน้องไม่ต้องเครียดว่าจะถูกดรอปเรียนกลางทางเพราะไม่มีค่าเล่าเรียน

หลักการเรียนต้องมีเป้าหมายในอนาคต

  • น้องจำไว้ว่า ถ้าน้องเลือกคณะที่เรียนง่าย ก็หมายความว่า คนอื่นก็เรียนได้ด้วย เมื่อคนอื่นก็เรียนได้ ก็หมายความว่า ในแต่ละปี มีบัณฑิต คณะนั้นๆจบออกมาจำนวนมาก เมื่อมีคนจบจำนวนมาก ก็หมายถึงการแย่งกันทำงาน ซึ่งตำแหน่งงานมีอยู่อย่างจำกัด
  • ดังนั้น น้องต้องท่องไว้เสมอว่า เรียนง่าย ก็หางาน ยาก แต่ถ้าน้องเรียนยาก ก็จะหางานง่าย เพราะเรียนยาก คนเรียนน้อย และจบน้อย เมื่อจบน้อยแต่ความต้องการในตลาดแรงงานจึงมีมาก จึงประกันว่าน้องจบแล้วมีงานทำ และอีกกรณี ในคณะที่มีการฝึกงานจริง นั้นก็คือ การที่น้องได้มีโอกาสไปแสดงความสามารถให้นายจ้างเห็นไปในตัว น้องจงทำให้เต็มความสามารถ เพราะไม่แน่ว่า ที่ที่น้องไปฝึกงาน ก็อาจจะเป็นสถานที่ทำงานของน้องในอนาคตที่น้องจบไปก็เป็นได้ จึงขึ้นอยู่กับเป้าหมายน้องว่า จะเรียนเพื่อเป้าหมายในชีวิตอย่างไร

นายแบบจากคณะรัฐศาสตร์มาแนะนำคณะศึกษาศาสตร์


นอกจากนี้ยังมีคณะ เศรษฐศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ก็เป็นอีก 2 คณะที่ จบแล้วมีอนาคตมีทางไป จึงขึ้นอยู่กับ จริตน้องแต่ละคนว่าตนเอง ถนัด รัก ชอบ หรือวางเป้าหมายชีวิตไว้อย่างไร พี่ก้อง เป็นเพียงผู้ชี้ แนวทางให้เห็นเท่านั้น


คณะศึกษาศาสตร์สำหรับน้องที่ต้องการอยากเป็นครู แม่พิมพ์พ่อพิมพ์ของชาติ


ส่วนการเรียนที่ราม

  • เรามีห้องเรียนใหญ่โตโอ่อ่า ทั้งประจำคณะและเรียนรวม มีจอวงจรปิดถ่ายทอดไปทุกอาคารทุกห้องเรียนขณะที่อาจารย์บรรยาย
  • มีห้องสมุดให้ค้นคว้า ทันสมัย
  • มีศูนย์ปฎิการคอมพิวเตอร์ เรียนหนึ่งคนต่อหนึ่งเครื่อง
  • มีเรียนทาง Electronics เลือกเวลาเรียนและเวลาสอบด้วยตัวเราเอง
  • มีอาจารย์แนะแนว อาจารย์ที่ปรึกษา
  • มีเรียน รด.
  • มีห้องทดลองและปฏิบัติการที่ทันสมัย
  • เพราะรามเราคือมหาวิทยาลัยแบบตลาดวิชา ที่คนเรียนสามารถเลือกหาได้ตามความถนัดของตนเอง เรามีทุกอย่างที่มหาวิทยาลัยปิดมี
  • และเรามีอีกหลายอย่างที่มหาวิทยาลัยปิดไม่มี
  • เรียนวันจันทร์ถึงศุกร์ ( ปกติ)
  • มีบรรยากาศความเป็นพี่น้องที่แสนอบอุ่น
  • มีกลุ่มกิจกรรมให้น้องเลือกได้มากมายตามชอบ
  • มีตำราเรียนที่แสนถูก
  • ค่าเรียนที่แสนถูก
  • ไม่มีคุณภาพจริงไม่มีสิทธิ์สวมครุยวิทยฐานะเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร ถ้าคุณแน่ใจมีความมุ่งมั่น รามคำแหงให้โอกาสคุณทุกคนทุกเพศ ทุกวัย พิสูจน์ตัวเอง

สิ่งที่น้องพึงรู้ไว้

  • การเรียนที่รามฯ ศักดิ์ศรีแห่งปริญญาบัตร เท่าเทียมกัน เมื่อจบการศึกษาแล้ว รับค่าสแรงขั้นต่ำตามกฎหมายแรงงานเท่ากัน

  • แต่สิ่งที่ มหาวืทยาลัยรามคำแหงให้ได้แต่ที่อื่นให้ไม่ได้คือ ราม ให้โอกาสทางการศึกษา กับคน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกอาชีพ ทุกเชื้อชาติ ทุกศาสนา อย่างเท่าเทียม เปิดโอกาสให้ทุกคนได้เรียน ตามที่ตนเองถนัด รัก ชอบ หรือความใฝ่ฝัน รวมถึง อัตราค่าเล่าเรียนที่ ถูกมาก คือหน่วยกิตละ 25 บาทเท่านั้น สำหรับนักศึกษาปกติ และ หน่วยกิตละ 50 บาท สำหรับนักศึกษารายกระบวนวิชา หรือ Pre-Degree  เพราะเราคือ ตลาดวิชา เตรียมทุกสิ่งพร้อมสรรพ สำหรับผู้ที่แสวงหามาเลือกสิ่งที่เหมาะสมด้วยตนเอง

อาคารสวรรคโลกหรือ SWB เป็นตึกเรียน ตึกสอบอีกอาคารอยู่ที่ราม 1 ข้างตึกคณะวิทยาศาสตร์

ข้อสังเกต และขณะนี้ (25 เม.ย.59 ) ทาง ม.ราม ได้ปรับเปลี่ยนรหัส รายกระบวนวิชาใหม่ ให้น้องๆศึกษาให้เข้าใจให้ดีก่อนลงทะเบียนเรียน เช่น เดิม  PS ก็จะเปลี่ยนเป็น POL ตามด้วยเลขรหัสชั้นปี เช่น POL 1100 ซึ่งเป็นวิชารัฐศาสตร์ทั่วไป รหัสเดิมคือ PS103 มี 3 หน่วยกิตเท่าเดิม
  • พี่น้องของเราออกไปรับใช้สังคมอย่างมีคุณภาพทั้งหน่วยงานทางปกครองของรัฐ ศาล และหน่วยงานเอกชน ภายใต้คำขวัญ เปลวเทียนให้แสงรามคำแหงให้ทาง

หอประชุมพ่อขุน อยู่ที่ราม 1 ใช้เป็นที่รับสมัครนักศึกษาใหม่และใช้ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร



รูปปั้นพ่อขุนศูนย์รวมใจลูกพ่อขุนทุกคน อยู่ที่ลานพ่อขุน ราม 1


ด้านหน้าตึกคณะศึกษาศาสตร์ ราม 1


ตึกคณะนิติศาสตร์ ราม 1


ตึกคณะมนุษย์ศาสตร์ราม 1




สำหรับนักศึกษา กศน.ที่ต้องการกวดวิชา หรือผู้ที่ต้องการเรียนต่อ กศน.

..............................................................................................................................................................
เว็บไซต์ ม.ราม >>> http://www.ru.ac.th/

>>>> เช็คตารางสอบรายบุคคล (ก่อนสอบหนึ่งสัปดาห์ ที่นี่ ) <<<<

>>>> ตาราง ม.ร. 30 <<<<
>>> การรับนักศึกษาใหม่ 
>>>> ตรวจผลสอบนักศึกษาปริญญาตรีที่นี่<<< (ระบบเก่า)
>>> ตรวจผลสอบนักศึกษาปริญญาตรี (ระบบใหม่ ต้องใส่รหัสผ่าน)

>>>> ตรวจผลสอบนักศึกษษปริญญาโทที่นี่

>>> สมัครสมาชิกเว็บราม <<<  (สมัครตรงนี้ก่อนค่อยเข้าเช็คเกรดระบบใหม่ )

..................................................................................................................................................................

ขอให้น้องโชคดีและประสบความสำเร็จทุกคน

กังวาล ทองเนตร ( พี่ก้อง ) รัฐศาสตร์ ภาควิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง
คอมพิวเตอร์-กราฟฟิคดีไซน์-มัลติมิเดียส์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง



วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555

วิธีอ่านเวลาแบบฝรั่ง



คำศัพท์สำคัญที่ใช้เกี่ยวกับเวลา

  1. Morning                         (มอร์นิ่ง )              หมายถึง    เวลาเช้า
  2. Before noon                   ( บีฟอร์นูน )              "            ก่อนเที่ยง
  3. noon                                ( นูน )                        "             เวลาเที่ยง
  4. afternoon                        ( อัฟเทอะนูน )          "            เวลาบ่าย
  5. evening                           ( อีฟนิ่ง )                   "            เวลาเย็น
  6. night                                ( ไนท์ )                      "            เวลาค่ำ/กลางคืน
  7. hour                                 ( อาวร์ )                     "            ชั่วโมง
  8. minute                              ( มินิท )                     "            นาที
  9. second                              ( เซคคั่น )                 "           วินาที
  10. quarter                              ( ควอเทอะ )             "          15 นาที
  11. half                                    ( ฮาล์ฟ )                  "           30 นาที / ครึ่ง
  12. half an hour          ( ฮาล์ฟ แอนด์ อาวร์ )         "            ครึ่งชั่วโมง
  13. half past                    ( ฮาล์ฟ พาสท์   )             "           ผ่านครึ่งชั่วโมง
  14. Time                                   ( ไทม์ )                    "           เวลา
  15. O'clock                               ( โอคลอค )             "            น. (นาฬิกา )
  16. after                                       ( อัฟเทอะ )          "            ผ่าน/หลัง ความหมายเดียวกับ past   

  • a.m. ( เอ เอ็ม ) ย่อมาจากคำเต็มคือ ante meridiem   ( แอนทิ มิริดเดียม )
  •  หมายถึงช่วงเวลาก่อน เที่ยง เป็นต้นไป
  • p.m. ( พี เอ็ม ) ย่อมาจากคำเต็มคือ  post meridiem    ( โพสท์ มิริดเดียม ) 
  • หมายถึงช่วงเวลา หลังเที่ยงเป็นต้นไป



ตัวอย่างการอ่านเวลารูปที่ 1
It's seven o'clock  ( 7.00 น. )
( อิท เซเวน โอคลอค ) = เวลา 7 นาฬิกา ]





It' s a quarter  after seven.  
( อิท อะ ควอร์เตอร์ อัฟเทอะเซเวน) 7.15 น.
หรือ It's seven fifteen.


It's twenty minute after seven 

( อิท ทเวนตี้ มินิท อัฟเทอะ เซเวน  ) 7.20 น



It's half seven. ( อิท ฮาล์ฟ เซเวน ) 7.30 น
หรือ It's seven thirty
หมายถึงผ่าน 7 โมงไปแล้วครึ่งชั่วโมง


It's twenty-five minute to eight  

(อิท ทเวนตี้-ไฟว์ มินิท ทู เอท ) = อีก 25 นาที จะถึง 8 โมง


  • ข้อสังเกตคือ เมื่อเข็มยาวหรือเข็มนาที อยู่ในฝั่งด้านขวาของหน้าปัทม์นาฬิกา 
  • คือจาก 12-6 เราจะใช้ คำว่า after หรือ  past
  • แต่เมื่อเข็มนาทีผ่านเลข 6 ไป เราจะใช้คำว่า   to ( ทู ) = ถึง
  • และจะอ่านเวลาส่วนที่เหลือ ว่าเหลือเท่าไหร่จะถึง ชั่วโมงต่อไป

                                                         

It's a quarter to eight  

( อิท อะ ควอร์เตอร์ ทู เอท ) อีก 15 นาทีจะถึง 8 โมง

หรือ It's fifteen minute to eight




It's a quarter after eight 

(อิท อะควอร์เทอะ อัฟเทอะ เอท ) 8.15

  • ข้อสังเกตุ เมื่อเข็มนาที มาถึงเลข 3 ซึ่งเป็นตำแหน่ง 1 ส่วน 4 ของ 60 นาที หรือ 15 นาที
  • จะใช้คำว่า ควอร์เทอะ และตามหลังด้วย อัฟเทอะ เสมอ
  • เมื่อเข็มยาวถึงเลข 6 ซึ่งเป็น เศษ 1 ส่วน 2 ของ 60 นาที ใช้คำว่า ฮาล์ฟ half
  • เมื่อเข็มยาว ไปถึงเลข 9 ก็จะใช้ คำว่า ควอร์เทอะอีก quarter แต่ตามด้วย ทู ( to) 


  • จำไว้ครับ ซ้าย ทู ( to)
  • ขวาใช้ พาส ( past )
เมื่อเข้าใจแล้ว

ลองฝึกดูเวลา กับรูปภาพที่เหลือครับ










































กังวาล ทองเนตร