กังวาล ทองเนตร

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา Pohthaiblogspot.com

วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ไมโครโฟน (Microphone)




 Carbon Microphone


ไมโครโฟน ( Microphone )

ไมโครโฟน ( Microphone ) คืออุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ที่มีหน้าที่เปลี่ยนพลังงานเสียง ให้เป็นคลื่นไฟฟ้า
และนำไปขยายให้มีลูกคลื่นขนาดใหญ่ขึ้นหรือแรงขึ้น แล้วส่งผ่านลำโพงออกมาเป็นเสียง ที่เหมือนกับเสียงต้นทางที่ป้อนเข้ามา นิยมเรียกสั้นๆว่า ไมค์ ( Mic )

ไมโครโฟนแบ่งออกได้ 5 ชนิดดังนี้

1.  คาร์บอนไมโครโฟน ( Carbon Microphone )
2. ไดนามิคไมโครโฟน ( Dinamic Microphone )
3.  เวลอซิตี้ไมโครโฟน  ( Velocity Microphone )
4.  คริสตอลไมโครโฟน ( Crystal Microphone )
5.  คอนเดนเซอร์ไมโครโฟน ( Condenser Microphone )


หลักการทำงานของไมโครโฟน

  • ไมค์ทุกชนิดมีโครงสร้างแตกต่างกันไปตามแต่ละอุปกรณ์ที่นำมาสร้าง แต่มีหลักการทำงานเดียวกันหรือคล้ายกันคือ
  • ในขณะที่มีคลื่นเสียงมากระทบที่แผ่นไดอะแฟรม จะเกิดการสั่นสะเทือนที่แผ่นไดอะแฟรม ซึ่งที่แผ่นไดอะแฟรมจะมีขดลวดวอยซ์คอยล์ยิดติดแน่นอยู่กับแม่เหล็กถาวร จะทำให้ขดลวดวอยซ์คอยล์เคลื่อนที่ ตัดกับเส้นแรงแม่เหล็ก และแม่เหล็เกิดการเหนี่ยวนำ ให้เป็นแรงเคลื่อนไฟฟ้าขนาดต่ำๆ ส่งไปให้กับอินพุทของทรานฟอร์เมอร์ ( หม้อแปลง ) ซึ่งเป็นทรานฟอร์เมอร์แบบสเต็พอัพ หรือแปลงให้สูงขึ้นกว่าเดิม เพื่อเหนี่ยวนำให้เป็นสัญญาณเสียงที่แรงมากพอ และส่งสัญญาณนั้นไปยังภาคขยายต่อไป



Carbon Microphone

Carbon Microphone (โครงสร้าง)

Carbon Microphone




Carbon Microphone





( Velocity Microphone

( Velocity Microphone

( Velocity Microphone


Velocity Microphone Structure


Crystal Microphone 


Crystal Microphone 


Crystal Microphone 


Crystal Microphone 




Condenser Microphone 
คอนเดนเซอร์ไมค์โครโฟน

เป็นไมค์โครโฟนที่นิยมใช้กันมาก ในวงจรเครื่องรับวิทยุทั่วไป รวมไปถึง เครื่องรับโทรศัพท์ เคลื่อนที่ด้วย


  • โครงสร้างของ คอนเดนเซอร์ไมค์โครโฟน จะมีแผ่นโลหะ Electrode จำนวน 2 แผ่นวางอยู่ใกล้ๆกัน ใช้อากาศทำหน้าที่เป็นไดอิเลคทริค หรือแกนกั้นกลางระหว่างแผ่น
  • แผ่นโลหะแผ่นหน้าจะมีขนาดบางมาก จะทำหน้าที่เหมือนแผ่นไดอะแฟรม แผ่นนี้มีความไวต่อการรับคลื่นเสียง เมื่อมีคลื่นเสียงมากระทบจะเกิดการสั่นสะเทือนเปลี่ยนเป็นพลังงานกล ผ่านแบตเตอรี่ ทำให้แรงไฟมีการเปลี่ยนแปลงเป็นสัญญาณเสียง ซึ่งเป็นรูปไฟเอซี ตามรูปด้านล่าง



คุณลักษณะพิเศษของ คอนเดนเซอร์ไมโครโฟนคือ

  • มีความไวมากในการรับเสียง แม้จะมีสัญญานเสียงเพียงเล็กน้อย หรือ มีเสียงต้นทางพูดในระยะไกล ก็สามารถจับทิศทางได้ ทำให้เวลาพูด ผู้พูดไม่ต้องใช้ปากติดชิดไมค์ เหมือนไมค์แบบไดนามิค
  • และในวงจรคอนเดนเซอร์ไมค์ จะต้องมัพลังงานไฟฟ้าเลี้ยงตลอดเวลา จึงจะทำงาน ส่วนใหญ่คอนเดนเซอร์ไมค์จะใช้ไฟฟ้าเป็นแบตเตอรี่ ขนาด AA 1.5 โวลท์ คอยเลี้ยงวงจร



Condenser Microphone 



Condenser Microphone 


Dinamic Microphone


Condenser Microphone 


การเลือกใช้ไมค์และเครื่องขยายเสียง



  • สิ่งแรกที่เราจะต้องคำนึงถึงทุกครั้งในการเลือกซื้อไมค์และเครื่องขยายเสียงคือ ค่าความต้านทานหรือ อิมพิแดนซ์ของทั้งไมค์และเครื่องขยายเสียง ต้องให้แมทชิ่งกัน
  • กล่าวคือ เอาท์พุทอิมพิแดนซ์ของไมค์โครโฟน ต้องแมทชิ่งกับ อินพุท อิมพิแดนซ์ของเครื่องขยายเสียง ทั้งนี้เพื่อให้ได้คุณภาพเสียงที่ดี รับได้ไว ไม่เกิดการ ฟีดแบ็ค Feed back  ขณะใช้งาน




คุณลักษณะของไมโครโฟนเราสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
  1. ไมโครที่มีอิมพิแดนซ์ ต่ำ ( Low Impidance Microphone ) หมายถึง ไมโครโฟนที่มีเอาท์พุท อิมพิแดนซ์ต่ำกว่า 10 K มีความไวต่ำ ใช้กับเครื่องขยายเสียงที่มี อินพุทอิมพิแดนซ์ต่ำ เครื่องเสียงและไมชุดนี้เหมากับงานที่มีพื้นที่แคบๆจำกัด
  2. ไมโครโฟนอิมพิแดนซ์สูง ( Hi Impidance Microphone ) หมายถึงไมโครโฟนที่มีเอาท์พุทอิมพิแดนซ์สูงเกินกว่า 10 K  และมีความไวในการรับเสียง ใช้กับเครื่องขยายที่มี Mic อินพุทอิมพิแดนซ์สูง เหมาะสำหรับงานที่มีพื้นที่กว้างมากๆ หรืองานนอกสถานที่
  • หมายเหตุ ถ้าเราใช้ไมค์ผิดลักษณะกับคู่ จะเกิดอาการฟีดแบ็ค เกิดเสียงหวีดดังขึ้นมาตลอด หรือเรียกว่าเสียงหอน 
  • สำหรับเสียงหวีดในบางกรณี ถึงแม้เราใช้ไมค์และเครื่องขยาย แมทชิ่งกันดีแล้ว ยังมีเสียงหวีดดังขึ้นอยู่อีก ให้เราตรวจสอบดูว่าเราได้หันหน้าลำโพง กับหน้าไมค์เข้าหากันหรือไม่ เพราะถ้าเราวางหน้าไมค์ เข้าหาหน้าลำโพง ในตำแหน่งตรงกัน จะเกิด การออสซิเลทชั่น ของสัญญาณเสียง และเกิดเสียงหวีดขึ้นได้ ให้แก้ไขโดยการ ปรับทิศทางไมค์และลำโพงออกจากกัน จะแก้อาการนี้ได้

อาการเสียของไมค์

  1. วอยซ์ขาด ตั้งสเกลมิเตอร์ที่ R X 1 วัดค่าวอยซ์ เข็มมิเตอร์จะไม่ขึ้น
  2. อินพุทขาด สวิทช์ ON -OFF เสีย บางครั้งก็เกิดจากสายชีลด์ชอร์ท
การตรวจสอบไดนามิคไมค์

  • ให้ตั้งสเกลมิเตอร์ R X 1 เขี่ยที่ขั้วต่อไมค์ ถ้าไมค์ปกติ จะต้องมีเสียงดังออกมา เช่นเดียวกับตรวจสอบลำโพง คือ ดัง ก๊อกแก๊กๆ
  • ถ้าไม่มีเสียงให้ตรวจเช็คที่ สายต่อสวิทช์ และอินพุททรานฟอร์เมอร์จะหาเจอ

การตรวจสอบคอนเดนเซอร์ไมค์

  • ให้ตั้งสเกลมิเตอร์ย่าน DC ตรวจสอบไฟเลี้ยง ถ้าไมค์ปกติ จะมีไฟเลี้ยงประมาณ 1.5-1.6 โวลท์โดยประมาณ ถ้าไฟเลี้ยงมีถูกต้องแล้วแต่ไม่ดังให้ตรวจสอบที่ สายต่อ อาจขาด หรือตัวคอนเดนเซอร์ไมค์ เสียเอง ให้เปลี่ยน กระป๋องคอนเดนเซอร์ไมค์ ราคาไม่กี่บาท


กังวาล ทองเนตร ช่างอิเลคทรอนิคส์ แผนกวิทยุ -โทรทัศน์ขาวดำ แสงทองอิเลคทรอนิคส์
ช่างอิเลคทรอนิคส์ แผนกโทรทัศน์สี วีดีโอ เลเซอร์ดิสก์ เทคนิคเทพนิมิตร ( เทคนิคไทยญี่ปุ่น )
คอมพิวเตอร์ กราฟฟิคดีไซน์ - มัลติมิเดียส์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
รัฐศาสตร์ภาควิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง






แผ่นไดอะแฟรมและขดลวดเสียง หรือวอยซ์ คอยล์

Dinamic Microphone


Dinamic Microphone


Dinamic Microphone




Dinamic Microphone

Dinamic Microphone

Dinamic Microphone






สายไมโครโฟน



วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เทคนิคการปรับเปลี่ยนสีภาพ


รูปที่1

เทคนิคการปรับเปลี่ยนสีภาพ ในโปรแกรม โฟโตช็อป เราสามารถทำได้หลายวิธี แต่ในเวิร์คช็อปนี้ ผมจะสอนวิธีง่ายๆด้วยชุดเครื่องมือ Eyedropper และชุดคำสั่ง Color Range ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1.

เปิดโปรแกรมโฟโตช็อป รุ่น CS3 ขึ้นไป จากนั้นเปิดไฟล์ภาพที่ต้องการนำมาปรับแต่ง ของผมเลือกรูปที่ 1

ขั้นตอนที่ 2. 

  • เลือกเครื่องชุด Eyedropper  จากนั้นคลิกเมาส์หนึ่งครั้งที่ภาพต้นฉบับ บริเวณที่เป็นใบไม้ ( การคลิกครั้งแรกควรเลือกสีใบไม้ส่วนที่เป็นสีเขียวเข้มก่อน ) เพื่อให้โปรแกรมคำนวณค่าสี


ขั้นตอนที่ 3.
สร้าง Selection บริเวณที่เราเลือกคลิกสีไว้ โดยชุดคำสั่ง Select > Color Rang จะเห็นหน้าต่างตามรูปที่ 2 ขึ้นมา ปรับแต่งค่า ตามรูป หรือตามต้องการ แล้วคลิก OK


รูปที่2

ขั้นตอนที่ 4

  • เราจะเห็น Selection เลือกพื้นที่ตามค่าสีให้เราตามรูปที่ 3 ให้เราปรับความเบลอให้ขอบSelectionลงเล็กน้อย โดยชุดคำสั่ง Select > Modify > Feather กำหนดค่าให้เหลือ 0.5 ตามรูปที่ 4 



รูปที่3


รูปที่4


ขั้นตอนที่ 5

  • คลิกที่ชุดคำสั่งตามลูกศรสีแดงในรูปที่ 5 เมื่อมีเมนูย่อยขึ้นมาให้คลิกเลือก Channel Mixer จะเห็นหน้าต่างตามรูปที่ 6 ขึ้นมา ปรับค่าตามรูปที่ 6 หรือตามต้องการ จะได้ผลลัพธ์ตามรูปที่ 7



รปที่5


รปที่ 6

  •  ในขั้นตอนนี้เราต้องการปรับสีใบไม้ให้เป็นสีแดง ให้เลือก output channel เป็น Red ตามรูปที่ 6 (และให้ติ้กที่บ๊อก Monochrome ด้านซ้ายล่างรูปที่ 6 ด้วยอย่างรวดเร็วเพื่อให้ภาพเป็นขาวดำก่อน และติ้กอีกครั้งเพื่อยกเลิก ต้องทำอย่างรวดเร็ว )



รปที่ 7


ขั้นตอนที่ 6

  • ให้คลิกที่ เลเยอร์ Background หรือเลเยอร์ภาพต้นฉบับ

จากนั้นใช้เครื่องมือ Eyedropper คลิกเมาส์บริเวณใบไม้หรือสีส่วนที่เหลือที่ภาพต้นฉบับบอีกครั้ง
และเลือกคำสั่ง Select  >> Color Rang อีกครั้งเพื่อเลือกบริเวณของ Selection และให้ทำซ้ำตามขั้นตอนที่ 5อีกครั้งเพื่อเปลี่ยนสีภาพจนกว่าเราจะพอใจ 



รปที่ 8

เสร็จขั้นตอน
เราก็จะได้รูปภาพใหม่เป็นต้นไม้กำลังเปลี่ยนใบ สวยงามแปลกตาไปจากต้นฉบับที่เป็นภาพปกติธรรมดา


รปที่ 9

หรือจะเปลี่ยนสีตามใจชอบตามรูปที่ 9 ( สีต่างๆที่เปลี่ยนไป จะขึ้นอยู่กับค่าที่เรากำหนดเอง และเลือกสีตามที่เราต้องการตามเนื้องานและความเหมาะสมของภาพ )

กังวาล ทองเนตร คอมพิวเตอร์กราฟฟิคดีไซน์ มัลติมิเดียส์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง