กังวาล ทองเนตร

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา Pohthaiblogspot.com

วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ไมโครโฟน (Microphone)




 Carbon Microphone


ไมโครโฟน ( Microphone )

ไมโครโฟน ( Microphone ) คืออุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ที่มีหน้าที่เปลี่ยนพลังงานเสียง ให้เป็นคลื่นไฟฟ้า
และนำไปขยายให้มีลูกคลื่นขนาดใหญ่ขึ้นหรือแรงขึ้น แล้วส่งผ่านลำโพงออกมาเป็นเสียง ที่เหมือนกับเสียงต้นทางที่ป้อนเข้ามา นิยมเรียกสั้นๆว่า ไมค์ ( Mic )

ไมโครโฟนแบ่งออกได้ 5 ชนิดดังนี้

1.  คาร์บอนไมโครโฟน ( Carbon Microphone )
2. ไดนามิคไมโครโฟน ( Dinamic Microphone )
3.  เวลอซิตี้ไมโครโฟน  ( Velocity Microphone )
4.  คริสตอลไมโครโฟน ( Crystal Microphone )
5.  คอนเดนเซอร์ไมโครโฟน ( Condenser Microphone )


หลักการทำงานของไมโครโฟน

  • ไมค์ทุกชนิดมีโครงสร้างแตกต่างกันไปตามแต่ละอุปกรณ์ที่นำมาสร้าง แต่มีหลักการทำงานเดียวกันหรือคล้ายกันคือ
  • ในขณะที่มีคลื่นเสียงมากระทบที่แผ่นไดอะแฟรม จะเกิดการสั่นสะเทือนที่แผ่นไดอะแฟรม ซึ่งที่แผ่นไดอะแฟรมจะมีขดลวดวอยซ์คอยล์ยิดติดแน่นอยู่กับแม่เหล็กถาวร จะทำให้ขดลวดวอยซ์คอยล์เคลื่อนที่ ตัดกับเส้นแรงแม่เหล็ก และแม่เหล็เกิดการเหนี่ยวนำ ให้เป็นแรงเคลื่อนไฟฟ้าขนาดต่ำๆ ส่งไปให้กับอินพุทของทรานฟอร์เมอร์ ( หม้อแปลง ) ซึ่งเป็นทรานฟอร์เมอร์แบบสเต็พอัพ หรือแปลงให้สูงขึ้นกว่าเดิม เพื่อเหนี่ยวนำให้เป็นสัญญาณเสียงที่แรงมากพอ และส่งสัญญาณนั้นไปยังภาคขยายต่อไป



Carbon Microphone

Carbon Microphone (โครงสร้าง)

Carbon Microphone




Carbon Microphone





( Velocity Microphone

( Velocity Microphone

( Velocity Microphone


Velocity Microphone Structure


Crystal Microphone 


Crystal Microphone 


Crystal Microphone 


Crystal Microphone 




Condenser Microphone 
คอนเดนเซอร์ไมค์โครโฟน

เป็นไมค์โครโฟนที่นิยมใช้กันมาก ในวงจรเครื่องรับวิทยุทั่วไป รวมไปถึง เครื่องรับโทรศัพท์ เคลื่อนที่ด้วย


  • โครงสร้างของ คอนเดนเซอร์ไมค์โครโฟน จะมีแผ่นโลหะ Electrode จำนวน 2 แผ่นวางอยู่ใกล้ๆกัน ใช้อากาศทำหน้าที่เป็นไดอิเลคทริค หรือแกนกั้นกลางระหว่างแผ่น
  • แผ่นโลหะแผ่นหน้าจะมีขนาดบางมาก จะทำหน้าที่เหมือนแผ่นไดอะแฟรม แผ่นนี้มีความไวต่อการรับคลื่นเสียง เมื่อมีคลื่นเสียงมากระทบจะเกิดการสั่นสะเทือนเปลี่ยนเป็นพลังงานกล ผ่านแบตเตอรี่ ทำให้แรงไฟมีการเปลี่ยนแปลงเป็นสัญญาณเสียง ซึ่งเป็นรูปไฟเอซี ตามรูปด้านล่าง



คุณลักษณะพิเศษของ คอนเดนเซอร์ไมโครโฟนคือ

  • มีความไวมากในการรับเสียง แม้จะมีสัญญานเสียงเพียงเล็กน้อย หรือ มีเสียงต้นทางพูดในระยะไกล ก็สามารถจับทิศทางได้ ทำให้เวลาพูด ผู้พูดไม่ต้องใช้ปากติดชิดไมค์ เหมือนไมค์แบบไดนามิค
  • และในวงจรคอนเดนเซอร์ไมค์ จะต้องมัพลังงานไฟฟ้าเลี้ยงตลอดเวลา จึงจะทำงาน ส่วนใหญ่คอนเดนเซอร์ไมค์จะใช้ไฟฟ้าเป็นแบตเตอรี่ ขนาด AA 1.5 โวลท์ คอยเลี้ยงวงจร



Condenser Microphone 



Condenser Microphone 


Dinamic Microphone


Condenser Microphone 


การเลือกใช้ไมค์และเครื่องขยายเสียง



  • สิ่งแรกที่เราจะต้องคำนึงถึงทุกครั้งในการเลือกซื้อไมค์และเครื่องขยายเสียงคือ ค่าความต้านทานหรือ อิมพิแดนซ์ของทั้งไมค์และเครื่องขยายเสียง ต้องให้แมทชิ่งกัน
  • กล่าวคือ เอาท์พุทอิมพิแดนซ์ของไมค์โครโฟน ต้องแมทชิ่งกับ อินพุท อิมพิแดนซ์ของเครื่องขยายเสียง ทั้งนี้เพื่อให้ได้คุณภาพเสียงที่ดี รับได้ไว ไม่เกิดการ ฟีดแบ็ค Feed back  ขณะใช้งาน




คุณลักษณะของไมโครโฟนเราสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
  1. ไมโครที่มีอิมพิแดนซ์ ต่ำ ( Low Impidance Microphone ) หมายถึง ไมโครโฟนที่มีเอาท์พุท อิมพิแดนซ์ต่ำกว่า 10 K มีความไวต่ำ ใช้กับเครื่องขยายเสียงที่มี อินพุทอิมพิแดนซ์ต่ำ เครื่องเสียงและไมชุดนี้เหมากับงานที่มีพื้นที่แคบๆจำกัด
  2. ไมโครโฟนอิมพิแดนซ์สูง ( Hi Impidance Microphone ) หมายถึงไมโครโฟนที่มีเอาท์พุทอิมพิแดนซ์สูงเกินกว่า 10 K  และมีความไวในการรับเสียง ใช้กับเครื่องขยายที่มี Mic อินพุทอิมพิแดนซ์สูง เหมาะสำหรับงานที่มีพื้นที่กว้างมากๆ หรืองานนอกสถานที่
  • หมายเหตุ ถ้าเราใช้ไมค์ผิดลักษณะกับคู่ จะเกิดอาการฟีดแบ็ค เกิดเสียงหวีดดังขึ้นมาตลอด หรือเรียกว่าเสียงหอน 
  • สำหรับเสียงหวีดในบางกรณี ถึงแม้เราใช้ไมค์และเครื่องขยาย แมทชิ่งกันดีแล้ว ยังมีเสียงหวีดดังขึ้นอยู่อีก ให้เราตรวจสอบดูว่าเราได้หันหน้าลำโพง กับหน้าไมค์เข้าหากันหรือไม่ เพราะถ้าเราวางหน้าไมค์ เข้าหาหน้าลำโพง ในตำแหน่งตรงกัน จะเกิด การออสซิเลทชั่น ของสัญญาณเสียง และเกิดเสียงหวีดขึ้นได้ ให้แก้ไขโดยการ ปรับทิศทางไมค์และลำโพงออกจากกัน จะแก้อาการนี้ได้

อาการเสียของไมค์

  1. วอยซ์ขาด ตั้งสเกลมิเตอร์ที่ R X 1 วัดค่าวอยซ์ เข็มมิเตอร์จะไม่ขึ้น
  2. อินพุทขาด สวิทช์ ON -OFF เสีย บางครั้งก็เกิดจากสายชีลด์ชอร์ท
การตรวจสอบไดนามิคไมค์

  • ให้ตั้งสเกลมิเตอร์ R X 1 เขี่ยที่ขั้วต่อไมค์ ถ้าไมค์ปกติ จะต้องมีเสียงดังออกมา เช่นเดียวกับตรวจสอบลำโพง คือ ดัง ก๊อกแก๊กๆ
  • ถ้าไม่มีเสียงให้ตรวจเช็คที่ สายต่อสวิทช์ และอินพุททรานฟอร์เมอร์จะหาเจอ

การตรวจสอบคอนเดนเซอร์ไมค์

  • ให้ตั้งสเกลมิเตอร์ย่าน DC ตรวจสอบไฟเลี้ยง ถ้าไมค์ปกติ จะมีไฟเลี้ยงประมาณ 1.5-1.6 โวลท์โดยประมาณ ถ้าไฟเลี้ยงมีถูกต้องแล้วแต่ไม่ดังให้ตรวจสอบที่ สายต่อ อาจขาด หรือตัวคอนเดนเซอร์ไมค์ เสียเอง ให้เปลี่ยน กระป๋องคอนเดนเซอร์ไมค์ ราคาไม่กี่บาท


กังวาล ทองเนตร ช่างอิเลคทรอนิคส์ แผนกวิทยุ -โทรทัศน์ขาวดำ แสงทองอิเลคทรอนิคส์
ช่างอิเลคทรอนิคส์ แผนกโทรทัศน์สี วีดีโอ เลเซอร์ดิสก์ เทคนิคเทพนิมิตร ( เทคนิคไทยญี่ปุ่น )
คอมพิวเตอร์ กราฟฟิคดีไซน์ - มัลติมิเดียส์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
รัฐศาสตร์ภาควิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง






แผ่นไดอะแฟรมและขดลวดเสียง หรือวอยซ์ คอยล์

Dinamic Microphone


Dinamic Microphone


Dinamic Microphone




Dinamic Microphone

Dinamic Microphone

Dinamic Microphone






สายไมโครโฟน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น