กังวาล ทองเนตร

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา Pohthaiblogspot.com

วันพุธที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2558

สวัสดีใหม่


 คลิกที่ภาพเพื่อดูภาพต้นฉบับ



สวัสดี ปีใหม่ ชัยวาระ
ให้อายุ วรรณะ สถิตย์ศรี
ให้ทุกผู้ ทุกนาม จงโชคดี
ผ่องอินทรีย์ โสภา สถาพร
ให้สุขะ พละ จงกล้าแกร่ง
ให้มีเรี่ยว มีแรง อย่าล้มหมอน
ให้พระเจ้า โปรดดล ประทานพร
ให้มีสุขสถาพร ทุกชาติไป
ให้พระศรี ตรัยรัตน์ พระองค์นั้น
ประทานสุข นิรันดร์ นั้นมาให้
ให้ได้พบ นิพพาน ตลอดไป
เกิดชาติใด พาพบ แต่สิ่งดี
ให้มีสุข อิ่มเอม เปรมใจยิ่ง
มีคนรัก แท้จริง เกษมศรี
ให้มีสุข ทุกทิวา ทุกราตรี
ทุกข์อย่ามี ภัยอย่า ชั่วนิรันดร์




กังวาล ทองเนตร













กังวาล ทองเนตร กราฟิกดีไซน์


วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เรียนรามอย่างไรให้จบเร็ว




ตามที่ผมเขียนเขียนแนะนำระเบียบขั้นตอนต่างๆใน เตรียมให้พร้อมก่อนเรียนรามมาแล้วนั้น
ก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี มีการสอบถามมาอย่างต่อเนื่องในบล็อกและในเมล์ที่ผมวางไว้ ถึงวิธีการ การเรียนการลงทะเบียนเรียน หรือเรียนอย่างไรเพื่อให้ประสบความสำเร็จ

บทความนี้ผมจะขอแนะนำเรียนรามอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ

ก็อย่างที่เรารู้ครับรามคำแหงเข้าง่าย แต่ออกยาก คือไม่ต้องสอบเข้า แต่ต้องสอบออกครับ ไม่แน่จริงไม่มีทางได้สวมครุยวิทยฐานะของรามคำแหงครับ
  • รามคำแหงเป็นตลาดวิชานะครับ ไม่ใช่มหาวิทยาลัยเปิดตามที่เข้าใจ ตลาดวิชาก็หมายถึง ม.รามเป็นเหมือนตลาด แต่ขายวิชาการ คือทางรามได้จัดการเรียนการสอนไว้อย่างครบครัน วิชาต่างๆที่มีในเอกสาร ม.ร.1 คือวิชาที่รามเปิดสอนทุกวิชา ดังนั้นจึงเปรียนเหมือนตลาดที่มีสินค้ามาวางไว้ เพื่อให้ผู้เรียนหรือลูกค้าเข้าไปหยิบจับซื้อหาได้ตามความต้องการของตนเอง ซึ่งผมอยากเรียกว่า ห้างสรรพสินค้าของปัญญาชน หรือสรรพศาสตร์ เพราะรามมีพร้อมทุกอย่างที่ห้องเรียน โสตทัศนศึกษา วีดีทัศน์เอกสารห้องสมุด คณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิที่แต่งตำราเรียนเอง รวมไปถึงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆครบครัน
ก่อนลงทะเบียนเรียนรามต้องเตรียมตัวอย่างไร


  1. ต้องถามตนเองก่อนว่ามีเป้าหมายชีวิตหลังจบการศึกษาอย่างไร เพราะเราต้องรู้เส้นทางชีวิตของตนเองเสียก่อนว่า เราต้องการอะไรหรืออยากเป็นอะไรหลังจบการศึกษา เพื่อที่เราจะได้รู้จักตัวตนและความต้องการของตนเองก่อนลงทะเบียนเรียนราม
  2. จากนั้นไปดูว่าที่รามเปิดสอนคณะอะไรบ้าง และแต่ละคณะมีกี่แผน มีกี่สาขาอะไรบ้าง ตรงกับความต้องการของตนเองหรือไม่
  3. ให้ศึกษาโครงสร้างหลักสูตรที่คณะหรือแผน/สาขาที่เราจะเลือกเรียนหรือสนใจอยากเรียนว่ามีโครงสร้างหลักสูตรอย่างไร เช่น จบหลักสูตรมีกี่หน่วยกิต มีวิชาแกนอย่างไร แต่ละวิชามีแนวข้อสอบอย่างไร เป็นอัตนัย หรือ ปรนัย เป็นต้น
  4. อ่านรายละเอียดในคู่มือ เอกสารให้เข้าใจและก่อนตัดสินใจลงทะเบียน ให้ดูตารางปฎิทินการศึกษาให้ถูกต้องว่า วิชาที่เราจะเรียน เรียนวัน เวลาใด บรรยายที่ตึกใด และวันสอบวันอะไร (รามจะมีแนวทางมาให้ว่าสอบวันใดแล้วล่วงหน้า เพียงแต่ไม่ระบุสถานที่อาคารเท่านั้น ) ซึ่งจะระบุในตารางสอบรายบุคคล เราไปรับได้ก่อนสอบ 1 สัปดาห์ ) เพื่อที่เราจะได้จัดตารางเรียนให้ตรงกับข้อจำกัดของเราซึ่งอาจทำงาน ไม่ได้หยุดตรงกับวันนั้นๆเป็นต้น
  5. ลงทะเบียนเรียนตามความเหมาะสมที่ตัวเองสามารถเรียนได้ในแต่ละเทอม ไม่จำเป็นต้องลงครบ 24 หน่วยกิตก็ได้ ถ้าเราไม่มีเวลาในการเข้าสอบ เพราะจะเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายโดยเปล่าประโยชน์
  6. ลงทะเบียนเรียนให้ถูกคณะถูกสาขาวิชาที่เราต้องการเรียนจริงๆ เพื่อไม่เป็นการเสียเวลาหรือมีปัญหาเกิดขึ้นตามมาภายหลัง
  7. ลงทะเบียนเรียนในรหัสวิชาที่ตรงกับปีที่ตนเองเรียน เช่น ปี 1 ก็ควรเป็นกลุ่มวิชาทั่วไปที่มีรหัสเป็น 1 อาทิ PS103,PS110,SC103,PY103,PC103 เป็นต้น ในชั้นปีที่ 1 ไม่ควรลงทะเบียนเรียนในวิชาที่มีรหัสวิชา/ชั้นสูงกว่าที่ตนเองเรียน อาทิ 205,390,490,420เป็นต้น เพราะเป็นรหัสวิชาชั้นปีที่สูงขึ้น ซึ่งบางวิชามีรหัสเรียนต่อเนื่อง เช่น PS190,PS290,PS390,PS490 เป็นต้น
โครงสร้าง/แผนการเรียน แต่ละคณะ/สาขา/แผน ที่ราม จะถูกจัดแบ่งออกเป็นกลุ่มดังนี้ 

  • กลุ่มวิชาทั่วไปมีกี่หน่วยกิตก็ขึ้นอยู่ตามแต่ละคณะสาขา/แผนนั้นๆ ซึ่งวิชาทั่วไปนี้บางทีมักเรียกว่าวิชาปรับพื้นฐาน ซึ่งจะใช้เรียนสำหรับนักศึกษาปี่ที่ 1รหัสวิชาจะขึ้นต้นด้วยเลข 1 ตามที่กล่าวไว้แต่เบื้องต้น ซึ่งทุกคณะจะเรียนรวมกันหรือคละกันมีวิขาที่ปนกันอยู่ทุกคณะในชั้นปีที่ 1 นี้
  • กลุ่มวิชาแกนหรือวิชาเอก ก็จะมีหน่วยกิตไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับแต่ละคณะ/แผน/สาขานั้นๆเช่นกัน
  • กลุ่มวิชาโท ซึ่งบางคณะบางแผนอาจรวมเข้ากันกับวิชาแกนหรือวิชาเอกก็ได้่
  • วิชาเลือก ก็จะมีหน่วยกิตไม่เท่ากันแต่ละแผน/คณะ/สาขา เช่นกันอาจมีรายละเอียดปลีกย่อยบ้างเช่น เลือกในคณะ หมายถึงเราสามารถเลือกวิชาใดก็ได้ที่เปิดสอนในคณะนั้นๆไม่จำเป็นต้องเป็นแผนที่เราเรียนก็ได้ หรือ เลือกในแผนก็ได้ หมายถึงเราเลือกวิขาใดวิชาหนึ่งมาลงทะเบียนเรียนซึ่งเป็นวิชาในแผนเดียวกับที่เราเรียนก็ได้เช่นกันหรือตามแต่โครงสร้างหลักสูตรกำหนดให้
  • กลุ่มวิชาเลือกเสรี หมายถึงวิชาที่ผู้เรียนสามารถเลือกวิชาใดก็ได้ที่ รามเปิดสอนมาลงทะเบียนเรียน ซึ่งแต่ละคณะ/แผน/สาขา ก็จะมีหน่วยกิตให้เราเลือกได้ไม่เท่ากัน
  • วิชาบังคับ เป็นวิชาที่จำเป็นอย่างยิ่งในสาขา/แผนการเรียนนั้นๆที่เราจำเป็นต้องเรียนและสอบให้ผ่าน โดยไม่สามารถหลบเลี่ยงไปลงทะเบียนเรียนในวิชาอื่นแทนได้ ยกเว้นตัวเลือกที่รามกำหนดเท่านั้น
  • กลุ่มวิชาRU เป็นวิชาบังคับอีกวิชาที่ลูกพ่อขุนทุกคนต้องเรียนและสอบให้ผ่านจึงจะมีสิทธิเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร วิชา RUนี้เป็นวิชาที่ไม่มีหน่วยกิตคือหน่วยกิตเป็น ศูนย์ (0)ไม่ต้องเสียเงินค่าหน่วยกิตลงเบียนเรียนหรือเสียเงินลงทะเบียนสอบซ่อม แต่ทุกคนต้องลงเรียนและสอบให้ผ่านดังกล่าว
ตัวอย่างโครงสร้างวิชาคณะรัฐศาสตร์

คณะรัฐศาสตร์แบ่งเป็น 3 แผนคือ
  1.  แผน A การปกครอง
  2. แผน B ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (การฑูต)
  3. แผน C บริหารรัฐกิจ
และมีการเปิดสอนเพิ่มเติมมาอีกสาขาคือ บริหารงานยุติธรรมด้วย

โครงสร้างการเรียนเป็นดังนี้
  • กลุ่มวิชาทั่วไปมี 40 หน่วยกิต
  • กลุ่มวิชาแกนหรือวิชาเอกบวกวิชาโท 99 หน่วยกิต
  • วิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
รวมจบหลักสูตรที่ 145 หน่วยกิต (บวกวิชา RU100 ด้วย)


เอกสาร ม.ร.1

 การเรียนที่ราม

มหาวิทยาลัยรามคำแหง มีห้องเรียนที่เปิดสอนตามปกติ ในวันธรรมดา ทั้งที่ ม.ราม 2 วิทยาเขตบางนา สำหรับนักศึกษาชั้นปี่ที่ 1 และม.ราม 1 สำหรับนักศึกษาชั้นปี่ที่ 2 ขึ้นไป

สำหรับน้องๆที่มีเวลาเรียนเต็มที่ก็สามารถไปนั่งเรียนร่วมกับเพื่อนๆได้ทุกวันตามวัน เวลาที่กำหนดตามตารางปฎิทินการศึกษา เพื่อให้การเรียนมีความเข้าใจมากยิ่งขี้น หรือน้องที่ต้องทำงาน ก็สามารถซื้อตำรามาอ่านเองที่บ้านได้ ผมย้ำว่าตำราเรียนนะครับไม่ใช่ชีทหน้าราม เพราะตำราเรียนเราถูกมาก สามารถไปซื้อได้ที่อาคารโรงพิมพ์ตึกสีส้มที่ราม 1ด้านข้างตึกเวียงคำ(VKB ) หรือซื้อได้ที่อาคาร PRB ชั้น 1ที่ราม 2 ได้บางวิชา แต่ไม่ครบนะครับ

หรือสามารถซื้อแนวเฉลยข้อสอบเทอมล่าสุดมาอ่านเพื่อเป็นแนวทางว่าวิชานั้นๆแนวข้อสอบประมารไหนเป็นอัตนัยหรือปรนัยมีข้อสอบกี่ข้อกี่คะแนน แต่ไม่ใช่ไปยึดติดแนวข้อสอบเป็นหลักยึดนะครับ (การเข้าเรียนบ้างเมื่อมีเวลาจะมีผลดีมากกว่าเพราะเราได้เรียนกับอาจารย์โดยตรง ทำให้เราสามารถเข้าใจในบางสิ่งที่เราไม่สามารถหาคำตอบได้จากการอ่านตำราอย่างเดียว )


เรียนที่รามสามารถจบปริญญาตรีได้ภายใน 2 ปีครึ่ง



  • การเรียนที่รามคำแหงไม่ได้ยากอย่างที่คิด ถ้าน้องมีเวลา ตั้งใจเรียน น้องก็สามารถเรียนจบได้ภายใน 2 ปีครึ่ง กล่าวคือ
  • รามคำแหงจะมีการลงทะเบียนเรียนในภาคปกติปีละ 2 เทอม เทอมละ 24 หน่วยกิต รวมเป็น 48 หน่วยกิต/1 ปี เมื่อ2 ปี ก็เท่ากับ96 หน่วยกิต บวกกับภาคฤดูร้อน ภาคละ 18หน่วยกิต 2 ปีรวม 36หน่วยกิต เมื่อนำ 96มาบวกกับ 36หน่วยกิต เวลา 2 ปีเราก็จะได้เท่ากับ 132 หน่วยกิต
  • กรณีนี้ถ้าเป็นคณะรัฐศาสตร์ที่มี 145หน่วยกิต ถ้าใน 2 ปีน้องสามารถสอบเก็บได้ 132 หน่วยกิต น้องก็เหลืออีกแค่ 13 หน่วยกิต ดังนั้นอีกเทอมเดียวถ้าเป็นภาคปกติน้องลงทะเบียนขอจบได้สูงถึง 30 หน่วยกิต ซัมเมอร์ขอจบได้ถึง 24 หน่วยกิต เมื่อน้องเหลือแค่ 13 หน่วยกิต น้องสามารถลงทะเบียนเรียนเผื่อตกไว้ที่ 18 หน่วยหรือ 24ก็ได้เผื่อตก แต่เราต้องการแค่ 13หน่วยเท่านั้นเอง
  • ดังนั้น 2 ปีครึ่งจึงจบแน่นอนรับปริญญาเห็นๆไม่ต้องรอให้ครบ 4 ปี เหมือนที่มหาลัยแห่งอื่นๆ ที่รามถ้าน้องมุ่งมั่นจบก่อนจบจริง จบตามความสามารถเรา เรากำหนดชะตาเราเองได้เลยที่ราม
  • มีอะไรขาดหรืออยากเพิ่มเติมน้องสอบถามมานะครับ พี่ก้องจะเข้ามาตอบให้ที่นี่

กังวาล ทองเนตร คณะรัฐศาสตร์ภาควิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง



วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

จุดเด่นจุดด้อยของระบอบประชาธิปไตย


โครงสร้างอำนาจในส่วนการเมืองการปกครอง

 รูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตย มีทั้งหมด 3 รูปแบบดังนี้

  1. แบบประธานาธิบดีแบ่งแยกอำนาจ (อเมริกาเป็นต้นแบบ )
  2. แบบกึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภา        (ฝรั่งเศสเป็นต้นแบบ)
  3. แบบรัฐสภา                                       (อังกฤษต้นแบบ )

  • รูปแบบประธานาธิบดีแบบอเมริกา ต้นแบบอย่างอเมริกา ประชาชนเลือกประธานาธิบดีโดยอ้อม ผ่านคณะเลือกตั้ง และคณะเลือกตั้งไปเลือกประธานาธิบดีอีกชั้น
  • รูปแบบนี้ อำนาจอธิปไตย แบ่งแยกขาดจากกัน กล่าวคือ สภาไม่สามารถตรวจสอบประธานาธิบดีได้ เว้นแต่กรณีทำผิดศีลธรรมร้ายแรง ( Impeachment ) ในขณะที่ประธานาธิบดีก็ไม่สามารถยุบสภาได้เช่นกัน
  • รูปแบบนี้ไม่มีนายกรัฐมนตรี
  • ประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐ
  • ประธานาธิบดีเป็นประมุขฝ่ายบริหาร
  • ประธานาธิบดีแต่งตั้งรัฐบาลด้วยตนเอง
  • ประธานาธิบดีไม่ต้องแสดงความรับผิดชอบต่อสภา กรณีกฎหมายไม่ผ่านสภา
จุดเด่นของรูปแบบนี้
  • มีความรวดเร็ว
  • มีความมั่นคง
  • อำนาจไม่ก้าวก่ายกัน
  • ประธานาธิบดีมีอำนาจมาก
  • มีความต่อเนื่องในเชิงการบริหาร
จุดด้อยของรูปแบบนี้
  • ประธานาธิบดีมีอำนาจมากเกินไป ถ้าใช้อำนาจนั้นโดยขาดศีลธรรมจรรยาจะเป็นอันตรายเป็นอย่างมาก เพราะการถืออำนาจและสามารถสั่งการการใช้อำนาจอยู่ในมือคนคนเดียวมากเกินไป



โครงสร้างอำนาจในส่วนการเมืองการปกครอง
รูปแบบกึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภา

เป็นรูปแบบผสม เป็นการสังเคราะห์เอาข้อดีระหว่างรูปแบบรัฐสภาและประธานาธิบดีนำมารวมกัน ซึ่งฝรั่งเศส คิดรูปแบบการปกครองรูปแบบนี้ขึ้นมา ในสมัยสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5 โดยมีชาร์ลส์ เดอ โกลล์ เป็นประธานาธิบดี 

ทั้งนี้เพราะไม่ว่าผู้ใดจะมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ก็ทำให้เกิดความวุ่นวาย มีข้อขัดแย้งมากและต้องยุบสภาบ่อย รัฐบาลหรือรัฐสภาต้องออกจากตำแหน่งและมีการเลือกตั้งใหม่อยู่บ่อยครั้ง ทำให้เสียงบประมาณ ดังนั้นนักรัฐศาสตร์และนักนิติศาสตร์ของประเทศฝรั่งเศสจึงได้พัฒนารูปแบบการปกครองโดยผสมผสานกันระหว่างระบอบรัฐสภาและระบอบประธานาธิบดี ทั้งนี้ได้มีการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส พ.ศ. 2493 และมีการแก้ไขในปี พ.ศ. 2505 
  • รูปแบบนี่้ประชาชนเลือกประธานาธิบดี
  • ประธานาธิบดีเลือกนายกฯ
  • นายกฯเลือกคณะรัฐมนตรี โดยผ่านการเห็นชอบของประธานาธิบดี
  • ประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐ
  • ประธานาธิบดีเป็นประมุขฝ่ายบริหาร
  • นายกรัฐมนตรีทำหน้าที่คล้ายผู้ช่วยประธานาธิบดี และมีบทบาทน้อยมาก
  • ประธานาธิบดีมีอำนาจยุบสภาได้



 โครงสร้างอำนาจในส่วนการเมืองการปกครอง

รูปแบบรัฐสภา

  • รูปแบบนี้ ประมุขแห่งรัฐมี 2 ประเภท คือ แบบประธานาธิบดีก็ได้ เช่น อินเดีย เยอรมัน สิงคโปร์ ฯลฯ และมีกษัตริย์เป็นประมุข เช่น อังกฤษ ไทย มาเลเซีย ญี่ปุ่น เป็นต้น
  • มีนายกรัฐมนตรีเป็นประมุขหรือหัวหน้าฝ่ายบริหาร
  • ประชาชนเลือกสมาชิกสภาผู้แทนฯเป็นรัฐสภา
  • รัฐสภาเลือกนายกรัฐมนตรี
  • นายกรัฐมนตรีจัดตั้งคณะรัฐบาล
  • นายกรัฐมนตรีมีอำนาจยุบสภา
  • รัฐสภามีอำนาจตรวจสอบนายกรัฐมนตรีได้
  • สำหรับของประเทศไทย พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจอธิปไตยผ่านรัฐสภา รัฐบาล และตุลาการภายใต้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ

จุดอ่อนของระบอบรัฐสภาคือ

  • ขาดเสถียรภาพ ไม่เป็นเอกภาพ 

ดังนั้นตามครรลองของรูปแบบนี้ จึงไม่สามารถ แยกขาด สองอำนาจคือ นิติบัญัติ (รัฐสภา ) และ บริหาร (รัฐบาล) ออกจากกันโดยสิ้นเชิงได้ เพราะรัฐบาลจะเป็นรัฐบาลได้ ต้องประกอบด้วยเสียงจากรัฐสภาที่เป็นเสียงข้างมาก จึงจะสามารถเป็นรัฐบาลได้

  • เมื่อมือของ ส.ส.ในรัฐสภามีผลอย่างมากต่อการมีเสถียรภาพหรือไม่มีเสถียรภาพของรัฐบาล เป้าหมายแรกของการนำไปสู่การถือครองอำนาจรัฐ จึงเป็นที่นั่งในสภา พรรคการเมืองต่างๆจึงแย่งชิงเพื่อให้ได้มาซึ่งตัวเลขในสภาให้มากที่สุด เพื่อเป้าหมายการถือครองอำนาจรัฐ ด้วยวิธีการต่างๆ
  • จุดอ่อนของระบบรัฐภานี้ก็คือ ความไม่มีเอกภาพ ขาดเสถียรภาพ โดยหลักการของตัวมันเอง
  • เมื่อรัฐบาลต้องรับผิดชอบต่อสภา กรณีกฎหมายของรัฐบาลไม่ผ่านสภา จึงเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ ส.ส.ไม่มีสิทธิในการออกเสียงอย่างเป็นอิสระ การออกเสียงในแต่ละครั้งจะเป็นไปภายใต้ มติร่วมของรัฐบาล ผ่าน คณะกรรมการที่เรียกว่า วิปรัฐบาลนั่นเอง

จุดเด่นคือ

  • หลักการถ่วงดุลย์อำนาจ


โครงสร้างอำนาจในส่วนการเมืองการปกครอง

กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์ภาควิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง

วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2558

อภิปรัชญาคืออะไร


อภิปรัชญาคืออะไร
อภิปรัชญา( Metaphysics ) คือศาสตร์สาขาใหญ่สาขาหนึ่ง ในวิชาปรัชญา ซึ่งศาสตร์สาขาใหญ่ในวิชาปรัชญาจะมีอยู่ 3 สาขาด้วยกัน ซึ่งอภิปรัชญาก็เป็นหนึ่งใน 3 สาขานั้น คือ
  1. ญาณวิทยา หรือทฤษฏีแห่งความรู้ ( Epistemology )
  2. อภิปรัชญา หรือ ภววิทยา ( Metaphysics )
  3. คุณวิทยา หรือทฤษฏีว่าด้วยคุณค่า และอุดมการณ์อดุมคติ  ( Axiology ) ซึ่งคุณวิทยานี้ก็มีสาขาย่อยของตัวเองแตกแยกออกไปอีกหลายสาขาเช่นกัน ดังนี้
  • ตรรกวิทยา หมายถึง การแสวงหาความจริงสูงสุด
  • จริยศาสตร์ หมายถึง การแสวงหาความดีสูงสุด
  • สุนทรียศาสตร์ หมายถึง การแสวงหาความงามสูงสุด
  • เทววิทยา หมายถึง การแสวงหาความบริสุทธิ์สูงสุด
อภิปรัชญานั้น เรียกอีกอย่างว่า ปรัชญาบริสุทธิ์ หมายถึง เป็นเนื้อหาของวิชาปรัชญาแท้ๆหรือปรัชญาสมัยโบราณนั่นเอง โดยไม่ผ่านการประยุกต์ แต่งเติม ศาสตร์ใหม่เข้ามาผสมแต่อย่างใด โดยยังคงหลักการหลักความเชื่อเดิมๆแต่โบราณ จึงเรียกว่า ปรัชญาบริสุทธิ์

อภิปรัชญา แบ่งได้เป็น 4 ความหมาย คือ
  1. อภิปรัชญา หมายถึง ความรู้อันประเสริฐ
  2. อภิปรัชญา หมายถึง ความรู้ขั้นปรมัตถ์
  3. ความหมายที่สามมาจากภาษากรีกคือคำว่า Meta ta physika หมายถึง หลังหรือเบื้องหลัง หรือล่วงเลย
  4. ความหมายที่สี่มาจากภาษากรีก -ลาติน และอังกฤษ แต่นักภาษาศาสตร์ของไทยปรับเข้าเป็นบาลีว่า อตินทรีย์วิทยา หมายถึงวิชาที่ล่วงเลย
ความจริงในขั้นอภิปรัชญาหรือขั้นปรมัตถ์ แบ่งออกเป็น 3 ขั้นด้วยกันคือ
  1. ความจริงขั้นสมมุติ
  2. ความจริงตามสภาพ
  3. ความจริงขั้นปรมัตถ์
ตัวอย่างเช่น ของเหลวชนิดหนึ่งที่สามารถใช้อาบ ดื่ม กินได้ เราเรียกกันต่อๆมาว่า น้ำ
ดังนั้นคำว่าน้ำจึงเป็นความจริงขั้นสมมุติ คือน้ำเป็นความจริง มีอยู่จริง เราใช้ อาบดื่มกิน ได้จริง แต่เราไม่สามารถล่วงรู้ความจริงในขั้นที่ลึกซึ้งหรือสูงกว่านี้ได้ 

ดังนั้นน้ำจึงเป็นความจริงในขั้นสมมุติ

ต่อมาเมื่อวิทยาการก้าวหน้า มีนักวิทยาศาสตร์ทำการแยกแยะน้ำออกได้ว่า แท้จริงแล้วที่เราเรียกว่าน้ำนั้น มันเป็นเพียงสารประกอบทางเคมี ที่ประกอบด้วย สารไฮโดรเจน 2ส่วน และสารออกซิเจนอีกชนิด
เมื่อนำสารประกอบทางเคมีสองสิ่งนี้มารวมตัวกันในอัตราส่วนดังกล่าว มันจึงเกิดเป็นของเหลวที่เราเรียกว่าน้ำนี้ได้ โดยดุษฏี

ซึ่งความรู้ขั้นนี้จึงจัดเป็นความรู้ขั้น ความจริงตามสภาพ หรือตามสภาวะ ซึ่งเป็นขั้นที่สอง เป็นความจริงที่เกิดขึ้นอยู่แล้วตามสภาพของมัน แต่เรามาค้นพบความรู้หรือความจริงขั้นนี้นั่นเอง

  • และเมื่อเรารู้ขั้นความจริงตามสภาพแล้ว เรานำความรู้นั้นมาเป็นฐานศึกษาวิเคราะห์แยกแยะต่อออกไปอีก โดยนำอะตอมของไฮโดรเจน และอะตอมของ ออกซิเจน มาแยกย่อยลงไปอีก ก็จะค้นพบว่า มันมี 
  • อิเลคตรอน (พลังานไฟฟ้าศักย์เป็นลบ )
  • โปรตอน (พลังงานไฟฟ้ามีศักย์ทางไฟฟ้าเป็นบวก )
  • นิวตรอน ( พลังงานไฟฟ้าที่มีศักย์ทางไฟฟ้าเป็นกลาง ) รวมอยู่ในนั้น
ซึ่ง อิเลคตรอน โปรตอน และนิวตรอน จึงเป็นอานุภาคที่เล็กกว่า อะตอม หรือปรมาณู ลงไปอีก ดังนั้น สภาพของน้ำ ที่เป็นความจริงสมมุติ จึงหายไป ด้วยการเกิดขึ้นของ ความรู้หรือความจริงตามสภาพ และความจริงตามสภาพ ก็จะหายไป เมื่อความจริงขั้นอภิปรัชญา หรือ ความจริงปรมัตถ์ปรากฎขึ้น เช่นกัน
ความจริงขั้นปรมัตถ์ หรือความจริงขั้นสุดท้ายนี้ ในทางปรัชญาเรียกอีกอย่างว่า อินติมะสัจจะ ( Ultimate Reality )


ซึ่งความจริงขั้น อภิปรัชญาหรือ ปรมัตถ์นั้น และอตินทรีย์วิทยานั้น นักปรัชญาตะวันตกแบ่งออกเป็น 2 อย่างด้วยกันคือ

  1. สิ่งที่ปรากฎ ( Appearance )
  2. สิ่งที่เป็นจริง ( Reality )
หลักก็คือ

สิ่งทั้งหมดที่ปรากฎต่อประสาทสัมผัสทั้ง 5 นั้น เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฎเท่านั้น ยังไม่ถือว่าเป็นความจริง สิ่งต่างๆนั้นจะต้องมีสัจจะภาวะซ่อนอยู่เบื้องหลังเสมอ

ดังนั้นกล่าวโดยสรุปก็คือ

อภิปรัชญา จึงเป็น การค้นหาความจริง ขั้นสุดท้าย หรือความจริงอันสูงสุด หรือความจริงอันประเสริฐนั่นเอง ซึ่ง อภิปรัชญา เอง ก็เป็นเพียงศาสตร์สาขาหลักสาขาหนึ่ง ใน 3 สาขา ของวิชาปรัชญา และอภิปรัชญา ยังเป็นปรัชญาที่บริสุทธิ์ ที่คงหลักการดั้งเดิม ไม่ผ่าการ เติมแต่ง ศาสตร์ใหม่ เข้าไปประยุกต์อยู่ในหลักการนั้นแต่อย่างใด


กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์  ภาควิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ขอบคุณข้อมูลจากท่านอาจารย์ วิธาน สุชีวคุปต์ ภาควิชาปรัชญา คณะมนุษย์ศาสตร์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นอย่าสูง