กังวาล ทองเนตร

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา Pohthaiblogspot.com

วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2558

อภิปรัชญาคืออะไร


อภิปรัชญาคืออะไร
อภิปรัชญา( Metaphysics ) คือศาสตร์สาขาใหญ่สาขาหนึ่ง ในวิชาปรัชญา ซึ่งศาสตร์สาขาใหญ่ในวิชาปรัชญาจะมีอยู่ 3 สาขาด้วยกัน ซึ่งอภิปรัชญาก็เป็นหนึ่งใน 3 สาขานั้น คือ
  1. ญาณวิทยา หรือทฤษฏีแห่งความรู้ ( Epistemology )
  2. อภิปรัชญา หรือ ภววิทยา ( Metaphysics )
  3. คุณวิทยา หรือทฤษฏีว่าด้วยคุณค่า และอุดมการณ์อดุมคติ  ( Axiology ) ซึ่งคุณวิทยานี้ก็มีสาขาย่อยของตัวเองแตกแยกออกไปอีกหลายสาขาเช่นกัน ดังนี้
  • ตรรกวิทยา หมายถึง การแสวงหาความจริงสูงสุด
  • จริยศาสตร์ หมายถึง การแสวงหาความดีสูงสุด
  • สุนทรียศาสตร์ หมายถึง การแสวงหาความงามสูงสุด
  • เทววิทยา หมายถึง การแสวงหาความบริสุทธิ์สูงสุด
อภิปรัชญานั้น เรียกอีกอย่างว่า ปรัชญาบริสุทธิ์ หมายถึง เป็นเนื้อหาของวิชาปรัชญาแท้ๆหรือปรัชญาสมัยโบราณนั่นเอง โดยไม่ผ่านการประยุกต์ แต่งเติม ศาสตร์ใหม่เข้ามาผสมแต่อย่างใด โดยยังคงหลักการหลักความเชื่อเดิมๆแต่โบราณ จึงเรียกว่า ปรัชญาบริสุทธิ์

อภิปรัชญา แบ่งได้เป็น 4 ความหมาย คือ
  1. อภิปรัชญา หมายถึง ความรู้อันประเสริฐ
  2. อภิปรัชญา หมายถึง ความรู้ขั้นปรมัตถ์
  3. ความหมายที่สามมาจากภาษากรีกคือคำว่า Meta ta physika หมายถึง หลังหรือเบื้องหลัง หรือล่วงเลย
  4. ความหมายที่สี่มาจากภาษากรีก -ลาติน และอังกฤษ แต่นักภาษาศาสตร์ของไทยปรับเข้าเป็นบาลีว่า อตินทรีย์วิทยา หมายถึงวิชาที่ล่วงเลย
ความจริงในขั้นอภิปรัชญาหรือขั้นปรมัตถ์ แบ่งออกเป็น 3 ขั้นด้วยกันคือ
  1. ความจริงขั้นสมมุติ
  2. ความจริงตามสภาพ
  3. ความจริงขั้นปรมัตถ์
ตัวอย่างเช่น ของเหลวชนิดหนึ่งที่สามารถใช้อาบ ดื่ม กินได้ เราเรียกกันต่อๆมาว่า น้ำ
ดังนั้นคำว่าน้ำจึงเป็นความจริงขั้นสมมุติ คือน้ำเป็นความจริง มีอยู่จริง เราใช้ อาบดื่มกิน ได้จริง แต่เราไม่สามารถล่วงรู้ความจริงในขั้นที่ลึกซึ้งหรือสูงกว่านี้ได้ 

ดังนั้นน้ำจึงเป็นความจริงในขั้นสมมุติ

ต่อมาเมื่อวิทยาการก้าวหน้า มีนักวิทยาศาสตร์ทำการแยกแยะน้ำออกได้ว่า แท้จริงแล้วที่เราเรียกว่าน้ำนั้น มันเป็นเพียงสารประกอบทางเคมี ที่ประกอบด้วย สารไฮโดรเจน 2ส่วน และสารออกซิเจนอีกชนิด
เมื่อนำสารประกอบทางเคมีสองสิ่งนี้มารวมตัวกันในอัตราส่วนดังกล่าว มันจึงเกิดเป็นของเหลวที่เราเรียกว่าน้ำนี้ได้ โดยดุษฏี

ซึ่งความรู้ขั้นนี้จึงจัดเป็นความรู้ขั้น ความจริงตามสภาพ หรือตามสภาวะ ซึ่งเป็นขั้นที่สอง เป็นความจริงที่เกิดขึ้นอยู่แล้วตามสภาพของมัน แต่เรามาค้นพบความรู้หรือความจริงขั้นนี้นั่นเอง

  • และเมื่อเรารู้ขั้นความจริงตามสภาพแล้ว เรานำความรู้นั้นมาเป็นฐานศึกษาวิเคราะห์แยกแยะต่อออกไปอีก โดยนำอะตอมของไฮโดรเจน และอะตอมของ ออกซิเจน มาแยกย่อยลงไปอีก ก็จะค้นพบว่า มันมี 
  • อิเลคตรอน (พลังานไฟฟ้าศักย์เป็นลบ )
  • โปรตอน (พลังงานไฟฟ้ามีศักย์ทางไฟฟ้าเป็นบวก )
  • นิวตรอน ( พลังงานไฟฟ้าที่มีศักย์ทางไฟฟ้าเป็นกลาง ) รวมอยู่ในนั้น
ซึ่ง อิเลคตรอน โปรตอน และนิวตรอน จึงเป็นอานุภาคที่เล็กกว่า อะตอม หรือปรมาณู ลงไปอีก ดังนั้น สภาพของน้ำ ที่เป็นความจริงสมมุติ จึงหายไป ด้วยการเกิดขึ้นของ ความรู้หรือความจริงตามสภาพ และความจริงตามสภาพ ก็จะหายไป เมื่อความจริงขั้นอภิปรัชญา หรือ ความจริงปรมัตถ์ปรากฎขึ้น เช่นกัน
ความจริงขั้นปรมัตถ์ หรือความจริงขั้นสุดท้ายนี้ ในทางปรัชญาเรียกอีกอย่างว่า อินติมะสัจจะ ( Ultimate Reality )


ซึ่งความจริงขั้น อภิปรัชญาหรือ ปรมัตถ์นั้น และอตินทรีย์วิทยานั้น นักปรัชญาตะวันตกแบ่งออกเป็น 2 อย่างด้วยกันคือ

  1. สิ่งที่ปรากฎ ( Appearance )
  2. สิ่งที่เป็นจริง ( Reality )
หลักก็คือ

สิ่งทั้งหมดที่ปรากฎต่อประสาทสัมผัสทั้ง 5 นั้น เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฎเท่านั้น ยังไม่ถือว่าเป็นความจริง สิ่งต่างๆนั้นจะต้องมีสัจจะภาวะซ่อนอยู่เบื้องหลังเสมอ

ดังนั้นกล่าวโดยสรุปก็คือ

อภิปรัชญา จึงเป็น การค้นหาความจริง ขั้นสุดท้าย หรือความจริงอันสูงสุด หรือความจริงอันประเสริฐนั่นเอง ซึ่ง อภิปรัชญา เอง ก็เป็นเพียงศาสตร์สาขาหลักสาขาหนึ่ง ใน 3 สาขา ของวิชาปรัชญา และอภิปรัชญา ยังเป็นปรัชญาที่บริสุทธิ์ ที่คงหลักการดั้งเดิม ไม่ผ่าการ เติมแต่ง ศาสตร์ใหม่ เข้าไปประยุกต์อยู่ในหลักการนั้นแต่อย่างใด


กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์  ภาควิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ขอบคุณข้อมูลจากท่านอาจารย์ วิธาน สุชีวคุปต์ ภาควิชาปรัชญา คณะมนุษย์ศาสตร์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นอย่าสูง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น