กังวาล ทองเนตร

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา Pohthaiblogspot.com

วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2559

หัวใจของธรรมาภิบาล


หลักธรรมาภิบาล

หลักธรรมาภิบาล ซึ่งเรา มักจะพูดหรือมักจะได้ยินกันอยู่เป็นประจำแท้จริงแล้วมีที่มาที่ไปอย่างไร

แนวคิดหลักธรรมาภิบาล หรือ Good Governance ของประเทศไทยนั้น เกิดขึ้นมาจาก 
พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับ พ.ศ.2551 ในมาตรา 3/1

  • โดยความในมาตรา 3/1 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว มีข้อความดังต่อไปนี้


" มาตรา 3/1 การบริหารราชการตามพระราชบัญญัตินี้ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ความมีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจแห่งรัฐ การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน การลดภาระกิจและยุบเลิกหน่วยงานที่ไม่จำเป็น การกระจายภารกิจและทรัพยากรให้แก่ท้องถิ่น การกระจายอำนาจตัดสินใจ การอำนวยความสะดวก และตอบสนองความต้องการของประชาชนทั้งนี้ โดยมีผู้รับผิดชอบต่อผลของงาน "

จากข้อความในมาตราดังกล่าวทำให้รัฐบาลไทยได้ตรา พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 ขึ้นมา มีทั้งสิ้นจำนวน 9 หมวด รวม 53 มาตรา และมีการบันทึกเหตุผลในการตรา พ.ร.ฏ.ขึ้นมาไว้ใน หมายเหตตอนท้าย พ.ร.ฎ.นี้ด้วย

ซึ่ง พ.ร.ฎ.นี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ณ วันที่ 9 ตุลาคม 2546 และมีผลบังคับใช้ในวันที่ 10 ตุลาคม 2546 ถัดจากวันประกาศ 1 วัน

  • ธรรมาภิบาลมีหลักการสำคัญอยู่ 6 หลัก และมีเป้าหมายในการปฏิบัติ 7 เป้าหมาย ดังนี้


หลักธรรมาภิบาล 6 หลักคือ
  1. หลักนิติธรรม ( The Rule of Law )
  2. หลักคุณธรรม (Morality)
  3. หลักความโปร่งใส (Accountability)
  4. หลักการมีส่วนร่วม (Participation)
  5. หลักความรับผิดชอบ (Responsibility)
  6. หลักความคุ้มค่า (Cost )

  • ส่วนเป้าหมาย 7 เป้าหมายมีดังนี้

  1. เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
  2. เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
  3. มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
  4. ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เกินความจำเป็น
  5. มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์
  6. ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ
  7. มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอยู่สม่ำเสมอ



โดย พ.ร.ฎ.ฉบับบนี้ได้ระบุให้ส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรมและหน่วยงานอื่นของรัฐที่อยู่ในกำกับของราชการ ฝ่ายบริหาร ต้องจัดทำธรรมาภิบาลให้ครบ ตาม 7 เป้าหมาย รวมไปถึงรัฐวิสาหกิจ ข้าราชการ ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานในส่วนราชการก็มีผลผูกพันไปด้วย

อีกทั้งได้กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ ต้องจัดทำ เป้าหมายของธรรมาภิบาลอย่างน้อย 2 เป้าหมายคือ เป้าหมายที่ 4 และเป้าหมายที่ 6เป็นอย่างน้อย และให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการตาม พ.ร.ฎ.นี้



กังวาล  ทองเนตร รัฐศาสตร์ ภาควิชาการปกครองมหาวิทยาลัยรามคำแหง