กังวาล ทองเนตร

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา Pohthaiblogspot.com

วันพุธที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556

รัฎฐาธิปัตย์และองค์อธิปัตย์คืออะไร

 รัฐาธิปัตย์ ( Sovereign ) 


รัฐาธิปัตย์ ( Sovereign ) เป็นศัพท์ทางวิชารัฐศาสตร์ เป็นศัพท์กลางๆที่ชี้บ่งเจาะจงไปถึงอำนาจใน รัฐ - ชาตินั้นๆ การที่จะเข้าใจคำว่า รัฐาธิปัตย์ คืออะไร เราจำเป็นต้องเข้าใจบริบทแห่งอำนาจ ในรัฐเสียก่อน

ดังนั้นผมจะอธิบายบริบทนี้เสียก่อน


  • ตามสภาพปกติในแต่ละรัฐหรือประเทศ จะมีอำนาจสูงสุดในการบริหารประเทศอยู่ บางรัฐก็จะเป็นการรวมศูนย์อำนาจไว้ที่คนๆเดียว เช่น รัฐที่ปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช หรือราชาธิปไตย ราชาก็จะเป็นผู้ใช้อำนาจสูงสุดนี้ เพียงแต่ผู้เดียวอำนาจสูงสุดในการปกครอง รัฐ - ชาติ ทั้งหมดทั้งสิ้นนี้ เรียกว่า รัฐาธิปัตย์



  • ต่อมา นักปรัชญา ชาวฝรั่งเศส ชื่อ มองเตสกิเออ  (Montesquieu) ได้ศึกษาจำแนกอำนาจปกครองในรัฐนี้ออกเป็น 3 อำนาจ หรือที่เรียกว่า อำนาจธิปไตย หรืออำนาจสูงสุด ในปัจจุบันได้แก่


  1. อำนาจบริหาร
  2. อำนาจนิติบัญญัติ
  3. อำนาจตุลาการ
  • ซึ่งแต่เดิมอำนาจอธิปไตยนี้ถูกใช้โดยคนเพียงคนเดียว และกลุ่มบุคคล หรือคณะบุคคล  ที่ใช้อำนาจสิทธิ์ขาด เบ็ดเสร็จ เพียงกลุ่มตน โดยไม่ แบ่งอำนาจไปยังองค์กรอื่น

ดังนั้น
  • รัฐาธิปัตย์  ( Sovereign ) หมายถึง อำนาจเบ็ดเสร็จ เด็ดขาด ทั้งหมดทั้งสิ้น ในรัฐ หรือประเทศนั้น ๆ ที่ใช้ในการปกครองรัฐ - ชาติ หรือประเทศ  ดังนั้น คำว่ารัฐาธิปัตย์ จึงมีความหมายสื่อไปในแง่ของอำนาจโดยตรง ไม่ได้หมายถึงผู้ใช้อำนาจ ส่วนผู้ใช้อำนาจ รัฐาธิปัตย์นั้นเรียกว่า องค์อธิปัตย์

  • องค์อธิปัตย์ หมายถึง บุคคล คณะบุคคล ที่ได้ยึดอำนาจ รัฐาธิปัตย์ ซึ่งเป็นอำนาจเบ็ดเสร็จนั้นไว้ในมือสมบูรณ์เบ็ดเสร็จแล้ว และประกาศตนเป็นผู้ใช้อำนาจนั้น หรือตั้งตนเป็นองค์อธิปัตย์ เพื่อใช้อำนาจรัฐาธิปัตย์ในรัฐนั้นๆแต่เพียงผู้เดียว
  • ดังนั้น คำว่าองค์อธิปัตย์ จึงมีความหมายเจาะจง ไปที่คนที่เข้ามาใช้อำนาจ รัฐาธิปัตย์ ไม่ว่าจะโดยวิธีการ ก่อรัฐประหาร เปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจ โครงสร้างเศรษฐกิจ และสังคม หรือ ปฏิวัติ

  • กล่าวคือ องค์อธิปัตย์ จะเป็นผู้ใช้ อำนาจรัฐาธิปัตย์ แบบเบ็ดเสร็จเพียงกลุ่มเดียว คณะเดียว ทั้งการออกคำสั่ง ซึ่งมีผลบังคับใช้เป็นเสมือนกฎหมายแห่งรัฐ เป็นการใช้อำนาจนิติบัญญัติ โดยไม่ผ่านกระบวนการปกติ
  • นอกจากนี้องค์อธิปัตย์ยังใช้อำนาจทางตุลาการ ในการตั้งกลุ่มบุคคลขึ้นมาพิพากษาโทษ ตัดสินคดี กำหนด บทบังคับในการลงโทษ กับบุคคลฝ่ายตรงข้ามนั้น 
  • รวมไปถึงใช้อำนาจบริหาร ในการบริหารรัฐ - ชาติ แบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด

องค์อธิปัตย์ จึงเป็นกลุ่มคนที่ได้อำนาจมาในรูปแบบพิเศษ ที่นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในสภาพปกติ และเป็นผู้ใช้อำนาจรัฐาธิปัตย์ หรืออำนาจอธิปไตย แบบรวมศูนย์ เพียงผู้เดียว




 ลักษณะของผู้ที่จะเรียกตัวเองว่าเป็นองค์อธิปัตย์


  1. ต้องได้ทำการยึดอำนาจรัฐาธิปัตย์จากผู้ปกครองเดิมได้เบ็ดเสร็จ
  2. ควบคุมกลไกหน่วยงานของรัฐได้แบบเบ็ดเสร็จ
  3. บีบบังคับให้ประชาชน ข้าราชการ องค์กรทางสังคมอื่นๆให้ ยอมรับ ยอมสยบ ยอมจำนน ให้ยอมรับอำนาจตน โดยดุษฎี
การได้มาซึ่งอำนาจรัฐาธิปัตย์
  1. ได้มาจากการบีบบังคับ ก่อการ รัฐประหาร จนสำเร็จลุล่วง
  2. ได้มาจากก่อการปฏิวัติ ที่สำเร็จลุล่วง
  3. ได้มาจากการยอมรับ การสถาปนาตนเองขึ้นเป็นผู้ปกครอง และสืบทอดอำนาจนั้นทางสายเลือดหรือแบบแผนที่กำหนด ( ราชาธิปไตย Absolute Monarchy )
สรุปคือ

  • รัฐาธิปัตย์ หมายถึงอำนาจสูงสุด ทั้งหมดที่มีอยู่ในรัฐโดยธรรมชาติตามสภาพ ประกอบด้วย อำนาจ บริหาร ตุลาการ นิติบัญญัติ ซึ่งแต่เดิมถูกใช้หรือรวมศูนย์อำนาจไว้ที่คนเพียงผู้เดียว 
ต่อมามีการศึกษาโครงสร้างอำนาจนี้ โดย มองเตสกิเออ และได้ แยกให้เห็นชัดเจน  จนรัฐ - ชาติสมัยใหม่ มีการแบ่งแยกอำนาจนี้ออกจากกัน และให้องค์กรต่างๆทางสังคม เข้ามาใช้อำนาจนั้น แยกขาดจากกันหรือ ถ่วงดุลกัน

  • องค์อธิปัตย์ หมายถึง กลุ่มบุคคล หรือคณะบุคคล ที่เข้ามาใช้อำนาจรัฐาธิปัตย์ โดยวิธีพิเศษ ที่นอกเหนือจากรูปแบบที่มีอยู่ตามสภาพปกติ และใช้อำนาจทั้งหมดที่มีเพียงผู้เดียว ทั้ง บริหาร นิติบัญญัติ ตุลาการ
กังวาล  ทองเนตร รัฐศาสตร์ ภาควิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง








2 ความคิดเห็น:

  1. น่าจะยกตัวอย่างมากกว่านี้ รวมถึงอธิบายเทียบกับประเทศไทยว่าในยุคสมัยไหน อะไรถือเป็นอะไร หรือใครถือเป็นอะไร จะเห็นภาพชัดกว่า

    ตอบลบ
  2. รัฎฐาธิปัติย์ในไทย ก็ยุคสมบูรณาญาสิทธิราช นั่นเอง อำนาจฮะิปไตยทั้งหมดอยู่ที่ราชา หรือเรียกว่ายุคราชาธิปไตย เป็นการใช้อำนาจไม่แบ่งแยก

    หรือในสมัยที่มีการทำรัฐประหาร (ยึดอำนาจ ) นั่นก็ ด้วย เพราะคณะบุคคลที่ยึดอำนาจได้ใช้อำนาจทั้ง 3 อำนาจด้วยตนเองโดยไม่มีส่วนยึดโยงกับประชาชน

    ถ้าเข้าใจคำว่าอำนาจอธิปไตย คุณจะเข้าใจได้ไม่ยาก จากนั้นก็ดูแค่ว่า ใช้โดยใคร ผู้ใช้เป็นใคร มาจากประชาชนหรือไม่
    ถ้ามาก็ไม่ใช่ ถ้าไม่มาก็ใช่
    คำว่ารัฎฐาธิปัติย์ มันจึงเป็น ความหมายกลางๆ ซึ่งหมายถึงอำนาจอธิปไตยทั้ง 3 อำนาจนั่นเอง ถ้าใช้โดยบุคคล คณะบุคคล ไม่มาจากประชาชน เรียกว่า เผด็จการ จะ เผด็จการ อำนาจนิยมก็ชั่ง เผด็จการคอมมิวนิสต์ หรือฟาสซิสต์ก็ชั่ง มันคือเผด็จการที่ใช้ อำนาจสูงสุด เพียงคนเดียว กลุ่มเดียว โดยไม่ยึดโยงประชาชน

    ตอบลบ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น