กังวาล ทองเนตร

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา Pohthaiblogspot.com

วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555

มนุษยสัมพันธ์คืออะไร



มนุษยสัมพันธ์คืออะไร


  • มนุษยสัมพันธ์ ( Human Relations )  เป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์โดยตรง เพราะเป็นการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของมนุษย์ด้วยกัน

เนื่องจากในชีวิตประจำวันมนุษย์แต่ละคนจะมีการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน หรือร่วมทำกิจกรรม อื่นๆ
ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่มนุษย์จะต้องรู้จักสร้างสัมพันธ์กับผู้อื่น เพื่อที่จะปรับตัวเองเข้ากับบุคคลอื่นๆได้ในสังคม


  • อริสโตเติล บิดาแห่งวิชารัฐศาสตร์ เป็นผู้บัญญัติศัพท์ มนุษย์เป็นสัตว์สังคม กล่าวคือ มนุษย์ต้องอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม ชุมน สังคม โดยธรรมชาติของมนุษย์ไม่สามารถที่จะหลีกหนีไปอยู่ได้เพียงลำพัง


ตั้งแต่เกิดลืมตาดูโลก มนุษย์ก็ต้องการ การเลี้ยงดู ให้ความรัก ความอบอุ่น ถ่ายทอด ภาษา วัฒนธรรม
วิทยาการต่างๆ ซึ่งกันและกันไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

มนุษยสัมพันธ์คืออะไร


  • มีนักวิชาการพยายามให้คำจำกัดความตามทัศนะของตนเองไว้หลายคน เช่น สมพร สุทัศนีย์

ให้คำจำกัดความไว้เป็น 2 ลักษณะ ดังนี้

  1. มนุษยสัมพันธ์หมายถึง การติดต่อเกี่ยวข้องกัน เพื่อเป็นสะพานทอดไปสู่ความเป็นมิตร รวมถึงการพัฒนาตนเองให้เป็นที่รักใคร่ชอบพอ และเพื่อได้รับการสนับสนุนจากบุคคลอื่น
  2. เป็นความหมายทางวิชาการ สมพรให้ทัศนะว่า มนุษยสัมพันธ์หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยศาสตร์และศิลป์ในการสร้างเสริมความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เพื่อให้ได้มาซึ่งความรักใคร่นับถือ จงรักภักดี ตลอดจนความร่วมมือจากผู้อื่นอย่างมีความสุข
สมใจ เขียวสด ให้ความหมายไว้ว่า

  • มนุษยสัมพันธ์ คือการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในรูปแบบต่างๆเพื่อให้เกิดความรักความนับถือซึ่งกันและกัน ปรองดองกันอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข เป็นต้น

ดังนั้นมนุษยสัมพันธ์จึงพอสรุปได้ว่า

  • เป็นการประสานกัน เป็นการพยายามปรับตัวเข้าหากันของบุคคล เพื่อให้ได้รับความรัก ความน่าเชื่อถือ ความร่วมมือ ความสงบสุข ในการดำเนินชีวิต

จุดมุ่งหมายของการศึกษามนุษยสัมพันธ์
  1. ทำให้เกิดความเข้าใจอันดีซึ่งกันและกันเพื่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจกันทั้งในการทำงาน ครอบครัว และชุมชน
  2. ทำให้เข้าใจความเป็นมนุษย์ของตนเองและบุคคลอื่น สามารถปรับตัวเข้าหากันได้อย่างเหมาะสมกับกลุ่มบุคคลและสถานการณ์
  3. ทำให้เกิดความรักใคร่กลมเกลียวร่วมมือกันทำงานด้วยความพึงพอใจตามวัตถุประสงค์
  4. ทำให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธา นิยมยกย่องบุคคล นำไปสู่ความสุขของทุกฝ่าย
  5. ช่วยเสริมสร้างความสัมพันธืในองค์กร ระหว่างผู้บริหารและคนทำงานระดับอื่นๆ อันจะส่งผลต่อการบริหารงานเป็นไปด้วยความราบรื่นและมีประสิทธิภาพ

กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์ ภาควิชาการปกครอง
การสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ขอขอบคุณ
อาจารย์ ลีนา ลิ่มอภิชาติ ภาควิชาสื่อสารมวลชน คณะมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น