กังวาล ทองเนตร

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา Pohthaiblogspot.com

วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

องค์การบริหารส่วนจังหวัด ( อบจ. ) ตอนที่ 2


                                                    จอมพล ป.พิบูลสงคราม ผู้ผลักดันให้เกิด อบจ.               

ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า อบจ.มีการจัดองค์การออกเป็น 2 ส่วน คือ นิติบัญญัติ และบริหาร

                                                              อำนาจและหน้าที่

 สภา  อบจ. ประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น   จำนวนมากหรือน้อยใช้เกณฑ์ประชากรเป็นตัวตัดสิน
  • จังหวัดที่มีราษฎรไม่เกิน    500,000                                ให้มีสมาชิกได้   24 คน
  • -----------------------เกิน     500,000                                -------------    30 คน
  • -----------------------เกิน    1 ล้าน แต่ไม่เกิน 1 ล้าน 5 แสน  มีสมาชิกได้    36 คน
  • -----------------------เกิน 1ล้าน 5 แสน แต่ไม่เกิน 2 ล้านคน มีสมาชิกได้    42 คน
  • ------------------------เกิน 2 ล้านคนขึ้นไป ให้มีสมาชิกได้                           48  คน  


                                               หน้าที่สภา อบจ.มีดังนี้

1.        ตราข้อบัญญัติ และเสนอข้อบัญญัติ
2.        อนุมัติงบประมาณ ( จัดทำเป็นข้อบัญญัติ เสนอโดยนายกฯ อบจ. เท่านั้น)
3.         ควบคุมการบริหารจัดการของฝ่ายบริหาร เช่นตั้งกระทู้ถาม และตรวจสอบข้อเท็จจริง

  • จะเห็นได้ว่า หลักการเดียวกันกับโครงสร้างหลักของประเทศ คือจำลองแบบลงไปทั้งหมดเลย แต่..ผมพยายามย้ำตรงนี้มาตลอด เพราะหลายคนสับสน ข้อบัญญัติ ทุกอย่างที่ออกโดยสภาท้องถิ่น ไม่ว่าสภาไหน มีศักดิ์ทางกฎหมายเป็นเพียงกฎ ตาม มาตรา 5  ( 2 ) พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง 2539 มีผลบังคับเหมือนกฎหมายทุกอย่าง แต่บังคับในท้องที่ของตนเองเท่านั้น และไม่ได้ลงพระ ปรมาภิไธ จึงเป็นเพียงกฎ ย้ำหน่อยก็ได้
  • กฎคือ พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น ระเบียบ ข้อบังคับ หรือบทบัญญัติอื่นที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไป โดยไม่มุงหมายให้ใช้บังคับ แก่กรณีใดหรือบุคคลใดเป็นการจำเพาะ
  • ผมสรุปไว้ง่ายๆว่า อะไรก็ตามแต่ที่ออกโดยหน่วยงานทางปกครอง ไล่ลงจาก กระทรวง กรม จังหวัด อำเภอ ตำบล ล้วนเป็นกฎ
                 ผู้ที่จะเป็นนักปกครอง หรือนักการเมืองระดับบริหารที่ออกกฎได้ ต้องทำความเข้าใจข้อนี้ เพราะตกม้าตายมามากแล้วเพราะไม่มีความรู้เรื่องกฎ และคำสั่งทางปกครอง ออกมั่ว ออกผิดวิธีการ ติดคุกมาเยอะแล้วครับ หลายคนไปจำสับสนกับคำสั่งทางปกครองยิ่งไปกันใหญ่ ให้กลับไปอ่าน บันทึกผมเรื่อง ระวังเสียหมา ถ้าไม่เข้าใจ กติกา-กฎ-กฎหมาย ผมแจงไว้แล้ว มันเป็นหัวใจสำคัญของนักปกครอง หรือผู้ที่จะลงรับเลือกตั้งทุกระดับต้องทำความเข้าใจ เราจะไม่ลังเลในอำนาจเราถ้าเราเข้าใจและรู้วิธีการออก กฎ หรือ คำสั่งทางปกครองนั้น



  อำนาจหน้าที่นายกฯอบจ. มีดังนี้ ( เฉพาะนายก เป็นการใช้อำนาจและดุลพินิจ นายกฯ )

1.  กำหนดนโยบายโดยไม่ขัดต่อกฎหมายและรับผิดชอบในการบริหารราชการของ อบจ.ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ และนโยบาย (ข้อนี้เป็นการตรากฎ และรักษา กฎ )

2.  สั่ง อนุญาต และอนุมัติ เกี่ยวกับราชการของ อบจ. ( ข้อนี้เป็นการใช้คำสั่งทางปกครองล้วนๆ มันตกม้าตายตรงนี้ครับ ไปคิดว่ากฎเป็นคำสั่งทางปกครอง กลับกัน วิธีการจึงกลับกันเลยเละหมด โดยเฉพาะใน อบต. นายกส่วนใหญ่ ไม่มีความรู้ทางรัฐศาสตร์เลย)

3. แต่งตั้งและถอดถอนรองนายกฯ เลขา ฯ และที่ปรึกษานายก ฯ อบจ. ( ตรงนี้ก็เป็นการใช้คำสั่งทางปกครอง หรือใช้อำนาจ )

4. วางระเบียบ เพื่อให้งานของ อบจ . เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ( ข้อนี้ก็เป็นการใช้กฎ )

5. รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติ อบจ. ( หน้าที่ )

6. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติและกฎหมายอื่น ( หน้าที่ ทั่วไป )


เขตอำนาจของ อบจ. (อาณาบริเวณที่อำนาจ อบจ.เข้าถึงและดูแล )

กฎหมายกำหนดให้ เขตอำนาจของ อบจ.อยู่ในพื้นที่นอกเขต เทศบาลภายในจังหวัดนั้น


  • ตรงนี้หมายความว่าอย่างไร หมายความว่า ในหนึ่งจังหวัดมันมีอยู่หลายโครงสร้าง ถ้าเรามองเข้าไปในจังหวัด เราจะเห็น ผู้ว่า คนนี้มาจากส่วนกลาง เป็นราชการส่วนภูมิภาค มีอบจ.มาจาการเลือกตั้ง + สภา อบจ.ด้วย มีเทศบาล มี อบต.ซ้อนเป็นวงเล็กอยู่อีกวง เราลองเอาปากกาเขียนวงกลม ขนาดต่างกันซ้อนไว้ แล้วใส่ชื่อแต่ละวง นั่นแหล่ะคือโครงสร้างของ หนึ่งจังหวัด ของไทย มันซ้อนขี่คอกันอยู่ ผมถึงได้เสนอให้ยกเลิก ราชการส่วนภูมิภาคเสีย เพราะโลกนี้เขาเลิกกันหมดแล้ว เหลือไทยกับฝรั่งเศสเท่านั้น แต่ฝรั่งเศสเขาปกครอง กึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภา จึงคล่องตัวกว่าเรา

เห็นหรือยังว่าถ้าเราเรียนกันแบบเจาะลึก เราจะเห็นปัญหาเชิงโครงสร้าง และการบริหารจัดการทับกันอยู่

ส่วนอำนาจของตัว อบจ. ก็คล้ายผู้ว่ากรุงเทพครับ หน้าที่หลักก็แค่ประสานงานกับหน่วยงานอื่น พวกนี้ส่วนใหญ่ข้าราชการประจำเขาทำกันแล้วเสนอมา ผมถือว่าเป็นสาระรอง เพราะมีคนชงมาให้เราแล้ว



                      กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์ การปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง ศศบ.ร.บ.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น