เปรียบเทียบรูปแบบการปกครอง
มองเตสกิเออปราชญ์ฝรั่งเศสแยกการปกครองในโลกนี้ไว้เป็น 3 รูปแบบใหญ่ๆดังนี้
1 ) แบบราชาธิปไตย ระบอบนี้มีตัวค้ำชูระบอบคือ เกียรติยศ
2) แบบสาธารณะรัฐ ระบอบนี้มีตัวค้ำชูระบอบคือคุณธรรม
3 ) แบบเผด็จการ ระบอบนี้มีตัวค้ำชูระบอบคือ ความกลัว
วิเคราะห์ทฤษฎีของมองเตสกิเออตามแนวคิดของผมเปรียบเทียบกับระบบการค้าดังนี้
1 )แบบราชาธิปไตยเปรียบได้กับร้านค้าโชว์ห่วย ที่ผู้ปกครองหรือเจ้าของร้านกุมอำนาจเพียงผู้เดียวประชาชนหรือผู้ซื้อไม่มีสิทธิเลือกทุกอย่างขึ้นอยู่กับอาแปะ ถ้าเห็นผู้ซื้อแต่งตัวมอซออาแปะก็จะหยิบสินค้าในร้านที่เปื้อนฝุ่นเขอะใกล้หมดอายุหรือหมดอายุแล้วให้ แถมจะได้เงินทอนเป็นเศษเหรียญดำๆหรือแบงค์ขาดๆเป็นตางค์ทอนกลับบ้านไปด้วยแต่ถ้าลูกค้าแต่งตัวดีมิชื่อเสียงอาแปะก็ขอถ่ายรูปเพื่อติดไว้หน้าร้านอีกด้วยเมื่อประชาชนหรือผู้ซื้อมีทางเลือกที่ดีกว่าหรือไม่สนใจเกียรติยศที่ยื่นให้ระบอบนี้ก็จะเสื่อม
2 )แบบสาธารณะรัฐ ระบอบนี้เทียบได้กับห้างสรรพสินค้าปัญญาชน กล่าวคือผู้ซื้อสามรถเข้าไปหยิบหาของที่ตนต้องการได้ตามใจชอบแต่ผู้ซื้อก็จะรู้กำลังของตนเองว่ามีกำลังในการซื้อแค่ไหน และเมื่อซื้อแล้วผู้ซื้อก็จะรู้ว่าจะไปจ่ายเงิน ณ จุดใดซึ่งเป็นคุณธรรมของผู้ซื้อเอง ระบอบนี้จะล่มสลายก็ต่อเมื่อตัวค้ำชูระบอบคือคุณธรรมถูกทำลายกล่าวคือเมื่อผู้ซื้อขาดคุณธรรมห้างก็อยู่ไม่ได้
3 )แบบเผด็จการ ผมเปรียบให้กับตลาดมืดของเถื่อนหนีภาษี ลูกค้าจะถูกพาเข้าหลังร้าน ถูกบังคับให้ซื้อโดยที่ตนเองไม่ต้องการผู้ซื้อจะได้สินค้าคุณภาพต่ำราคาแพงแถมโดนตีหัวหักคอออกมาจากหลังร้านอย่างเจ็บปวดแถมคำข่มขู่จากทางร้านอีกด้วย เมื่อใดประชาชนหรือผู้ซื้อไม่กลัวระบอบนี้ก็จะอยู่ไม่ได้เช่นกัน
จะเห็นได้ชัดว่าทั้ง 3 ระบอบตามความคิดของมองเตสกิเออ ตัวทำลายระบอบก็คือตัวค้ำชูระบอบนั้นเองในทางกลับกันและเมื่อผมนำมาเทียบกับระบบการค้าเราจะเห็นได้ชัดเจนขึ้นว่าทิศทางของแต่ละระบอบจะไปแนวทางใด
กังวาล ทองเนตร (รัฐศาสตร์การปกครองมหาวิทยาลัยรามคำแหง)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น