- ก.พ.ค. หรือคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม ถูกตั้งขึ้น ตาม พ.ร.บ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
ตามมาตรา 24 ของพ.ร.บ.นี้ ให้มี ก.พ.ค.จำนวน 7 คน
โดย ก.พ.ค. ทั้ง 7 คนถูกคัดเลือกมาจาก คณะกรรมการ คัดเลือก ก.พ.ค. ที่มีประธานศาลปกครอง สูงสุดเป็นประธาน รองประธานศาลฎีกาอีก 1 คน กรรมการที่ ก.พ.คัดเลือกมาอีก 1 คนและให้เลขา ก.พ.เป็นเลขากรรมการชุดนี้ ทำหน้าที่คัดเลือก ก.พ.ค.จำนวน 7 คน และให้เลขา ก.พ.เป็นเลขา ก.พ.ค.
คุณสมบัติ พอสังเขป มีสัญชาติไทย อายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบห้าปี มีวาระ ดำรง ตำแหน่ง 6 ปี และเป็นได้วาระเดียว ก.พ.ค.ต้องทำงานเต็มเวลา
อำนาจหน้าที่ ก.พ.ค.
- เสนอแนะต่อ ก.พ.หรือองค์กรกลางบริหารงานบุคคลอื่นเพื่อให้ดำเนินการหรือปรับปรุงนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพิทักษ์ระบบคุณธรรม
- พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา 114
- พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ ตามมาตรา 123
- พิจารณาเรื่องคุ้มครองระบบคุณธรรม ตามมาตรา 126
- ออกกฎ ก.พ.ค.ระเบียบหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อปฏิบัติการ ตาม พร.บ.นี้
- แต่งตั้งบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่ ก.พ.ค. กำหนด เพื่อเป็นกรรมการวินิจฉัย อุทธรณ์ หรือ กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์
แต่ทั้งนี้ กฎเกณฑ์ต่างๆมีระเบียบขั้นตอน การร้องทุกข์ การอุทธรณ์ และเกี่ยวข้องกับกฎหมายอีกหลายฉบับ ผู้ที่จะใช้สิทธิร้อง ต้องศึกษากฎหมายให้ถ่องแท้ชัดเจนเสียก่อน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น