กังวาล ทองเนตร

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา Pohthaiblogspot.com

วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

อำนาจหน้าที่ของ กทม.



เสาชิงช้าหน้าที่ว่าการกรุงเทพมหานคร


กรุงเทพมหานคร (กทม.)เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ เช่นเดียวกับ พัทยา แท้จริงกรุงเทพมหานคร เป็นเทศบาลนคร ผู้บริหารสูงสุดของ กทม. แม้จะเรียกติดปากว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ แต่แท้จริงเป็นนายกเทศบาลนครเท่านั้น ข้อแตกต่างของผู้ว่าราชการจังหวัดต่างกับผู้ว่าการกรุงเทพคือ 

ผู้ว่ากรุงเทพฯเป็นนักการเมือง มาจากการเลือกตั้งของประชาชนในกรุงเทพฯ ถือกุญแจเมือง อยู่ในความควบคุมของกระทรวงมหาดไทยเช่นกัน เวลามีแขกเมืองมาผู้ว่ากรุงเทพจะทำพิธีมอบกุญแจเมืองให้กับแขก 

  • กรุงเทพมหานครจัดรูปแบบการปกครองตาม พ.ร.บ.จัดระเบียบบริหารราชการกรุงเทพฯ พ.ศ.2528 ซึ่งเนื้อหา ล้อมาจาก พ.ร.บ.ฉบับเดิมปี 18 ตามพ.ร.บ.ฉบับปัจจุบันได้ให้อำนาจและหน้าที่กับกรุงเทพมหานครไว้ในมาตรา 89 ไว้ดังนี้ 

1. การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
2. การทะเบียนตามที่กฎหมายกำหนด
3. ป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย 
4. การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
5. การผังเมือง
6. การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบกหรือทางน้ำ และทางระบายน้ำ
7. การวิศวกรรมจราจร
8. การขนส่ง
9. การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
10. การดูแลรักษาที่สธารณะ
11. การควบคุมอาคาร
12. การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
13. การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
14. การพัฒนาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
15. การสาธารณูปโภค
16. การสาธารณะสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
17. การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
18. การควบคุมสัตว์เลี้ยง
19. การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
20. การควบคุมความปลอดภัยความเป็นระเบียบเรียบร้อยการอนามัยในโรงมหรสพและสาธารณะสถานอื่นๆ
21. การจัดการศึกษา
22. การสาธารณูปการ
23. การสังคมสังเคราะห์
24. การส่งเสริมการกีฬา
25. การส่งเสริมการประกอบอาชีพ
26. การพานิชย์ของกรุงเทพมหานคร
27. หน้าที่อื่นๆตามที่กฎหมายระบุให้เป็นอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด อำเภอ เทศบาลนคร หรือตามที่คณะรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมายหรือกฎหมายระบุให้เป็นหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร

  • โดยรวมแล้วอำนาจของกรุงเทพ เน้นไปที่งานบริการ งานประสานงานเป็นส่วนใหญ่ อำนาจทางโครงสร้างส่วนใหญ่ยังอยู่ที่ส่วนกลาง ดังนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีอำนาจ ที่จะดำเนินการกับผู้ว่ากรุงเทพได้แม้ถึงขั้นปลดออก ( ดูกฎหมายที่เกี่ยวข้องประกอบ ) 

กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์ภาควิชาการปกครองมหาวิทยาลัยรามคำแหง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น