เพลโต ( plato )
- นั่งมองโสเครตีสผู้อาจารย์ดื่มยาพิษตายต่อหน้า อิทธิพลความคิดของเพลโต ถูกเหตุการณ์ครั้งนี้กดดันจิตใจของเขา เพลโต มีทัศนคติที่เป็นลบต่อผู้ปกครองเป็นอย่างมาก เขาเจ็บแค้นที่อาจารย์ต้องโทษอย่างไม่เป็นธรรมจากผู้ปกครอง ดังนั้น ทฤษฎีต่างๆที่เขาเสนอต่อไปนี้จึงพุ่งตรงไปยังผู้ปกครอง เพลโตวาดภาพผู้ปกครองในจินตนาการของเขา ต้องเป็นผู้มีคุณธรรมสูงส่งเพียบพร้อม เขาเสนอว่าผู้ปกครองที่ดี ต้องเป็นราชานักปราชญ์ โดยเขาขีดเส้นทางเดินของราชานักปราชญ์ไว้เป็นช่วงๆโดยใช้ระบบการศึกษาเป็นตัวชี้วัด เพลโตไม่ศรัทธารูปแบบการปกครองแบบหมู่คณะโดยเหตุผลที่กล่าวมาแล้วแต่ข้างต้น
เพลโตจัดแบ่ง คนออกเป็น 3 ชนชั้น
คือ ผู้ปกครอง-เจ้าหน้าที่-และผู้ผลิต
โดยจะกำหนดจากคุณธรรมประจำจิตใจของแต่ละคน เขาบอกว่าถ้าจิต
- ผู้ใดถูกครอบงำด้วยเหตุผลผู้นั้นเหมาะจะเป็นผู้ปกครอง
- ผู้ใดถูกครอบงำด้วยความกล้าหาญผู้นั้นเหมาะจะทำหน้าที่เป็นทหาร
- ผู้ใดถูกครอบงำด้วยตัณหาผู้นั้นเหมาะจะเป็นกรรมมาชีพหรือผู้ผลิต
- เพลโตวางหลัการศึกษาไว้เป็นแบบทดสอบ โดยให้ทุกคนได้มีโอกาสเล่าเรียนเสมอหน้ากัน ความสามารถของผู้เรียนจากผลสอบจะแยกแยะคนผู้นั้นว่าอยู่ในชนชั้นใด
- ขั้นต้น บังคับให้ทุกคนเรียนจนอายุ 18 ปี ต่อด้วยฝึกทหารอีก 2ปี วิชาขั้นต้นเน้นให้เรียน พลศึกษาและดนตรี งานวรรณกรรม กาพย์ กลอน โคลง ฉันท์ ผู้ที่สอบผ่านขั้นแรกนี้มาได้จะได้ศึกษาในขั้นที่ 2 ส่วนผู้ที่สอบขั้นแรกไม่ผ่าน ต้องไปทำหน้ามี่กรรมาชีพหรือผู้ผลิต
- ขั้นที่ 2 กำหนดระยะเวลา 15 ปี แบ่งเป็น 2ช่วงเริ่มแต่อายุ 20 ปี 10ปีแรกให้เรียนวิชา คณิตศาสตร์อย่างเดียวจากขั้นต้นจนระดับที่สูงสุดและเรียนวิชาดาราศาสตร์ จากนั้นจะทำการทดสอบ ผู้ที่สอบไม่ผ่านในขั้นที่ 2นี้ จะต้องออกไปรับใช้รัฐโดยทำหน้าที่เป็นทหาร
- ส่วนผู้ที่สอบผ่าน ใช้เวลาอีก 5ปี เรียนวิชาปรัชญาแสวงหาความดีและสัจจะธรรม เมื่อสำเร็จขั้นสองมาได้ ผู้เรียนจะมีอายุครบ 35 ปีพอดีและให้ทำงานในตำแหน่งผู้บริหารและในระยะเวลาลองงานถือเป็นการทดสอบภาคปฏิบัติใช้เวลา 15 ปี อายุผู้เรียนจะครบ 50 ปีพอดีผู้ที่ผ่านการทดสอบมาถึงขั้นนี้จะได้เข้าเป็นสมาชิกของคณะราชานักปราชญ์ซึ่งจะทำหน้าที่บริหารรัฐต่อไป
เพลโตมีผลงานเขียนเป็นที่รู้จักคือ
- The Republic ( อุตมรัฐ )
- The stattes man ( รัฐบุรุษ )
- The law (กฎหมาย )
- และเขาได้เปิดโรงเรียนสอนชื่อ อะแคเดมี่ อย่างไรก็ตามต่อมาเพลโตได้ออกมายอมรับว่า ราชานักปราชญ์ตามจินตนาการของเขาแม้เป็นสิ่งที่ดี แต่เขายอมรับว่าในโลกนี้จะหามนุษย์ที่ไม่มีข้อบกพร่องเลยอย่างนั้นไม่ได้แน่ เขาจึงยอมรับแนวคิดของศิษย์เอกของเขาในเวลาต่อมาคือ อริสโตเติ้ล บิดาแห่งศาสตร์วิชาสาขาต่างๆ....อริสโตเติ้ล....ฯ
กังวาล ทองเนตร ( รัฐศาสตร์ การปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง )
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น