กังวาล ทองเนตร

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา Pohthaiblogspot.com

วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

อนุรักษ์นิยม Conservative

edmund burke
            เอ็ดมันด์ เบอร์ก ต้นตำรับลัทธิ อนุรักษ์นิยม


  •     ลัทธิอนุรักษ์นิยม  Conservative  เป็นลัทธิการเมืองอีกลัทธิหนึ่งที่มีบทบาทในสังคมการเมืองการปกครองของโลกวันนี้จะอธิบายลัทธิอนุรักษ์นิยมพอเข้าใจ
  • พูดถึงลัทธิอนุรักษ์นิยม ต้อง เริ่มจาก เอ็ดมันด์ เบอร์ก เพราะคนผู้นี้เป็นผู้สถาปนาลัทธินี้ให้เป็นแบบแผน
  • อนุรักษ์นิยมหรือลัทธิ  หัวเก่า ชอบสภาวะดั้งเดิม  status quo  ชอบอยู่กับที่ไม่ทำอะไรให้กระทบกับสิ่งที่มีอยู่แล้ว ไม่นิยมการเปลี่ยนแปลง หรือถ้าจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง ก็ต้องแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ยอมรับ  นวัตรกรรมใหม่ๆ แบบพลิกฝ่ามือ
  • กลุ่มอนุรักษ์นิยมเชื่อว่า มนุษย์เป็นผู้มีความไม่ดีในตนเองตั้งแต่เกิด และฝังแน่นอยู่ในใจ จึงทำให้เกิดสงครามการสู้รบทำผิดร้ายแรง
  • อนุรักษ์นิยม ให้ความสำคัญกับ ประสบการณ์ของบุคล หรืออาบน้ำร้อนมาก่อน หรือประเภทเดินตามหลังผู้ใหญ่หมาไม่กัด ทำนองนั้น   ที่สำคัญอนุรักษ์นิยมถือว่า ความเสมอภาคเป็นอันตรายต่อเสรีภาพ เมื่อทุกคนมีเสรีภาพซะแล้วย่อมใช้เสรีภาพนั้นให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองโดยจำกัดเสรีภาพบุคคลอื่น
  •  อเล็กซีส เดอ ทอคเกอวิลย์ นักวิเคราะห์ชาวฝรั่งเศส ได้เขียนเตือน ให้ระวัง ทรราชเสียงข้างมาก
( Tyranny of the majority ) อันเกิดจากความเสมอภาค 1 คน 1 เสียงเป็นความเสมอภาคเชิงจำนวนหรือปริมาณ โดยไม่มีการ พิจารณาในเชิง แตกต่าง ของ
  • อายุ
  • ภูมิหลังของครอบครัว
  • ระดับการศึกษา
  • ฐานะทางเศรษฐกิจ
  • ระยะเวลาแห่งการประกอบอาชีพ (ประสบการณ์ )
  •  ประสบการณ์แห่งการทำงานระดับต่างๆ
  • กลุ่มอนุรักษ์นิยมเห็นว่า 1 คน 1 เสียง ไม่ได้นำปัจจัยเหล่านี้เข้าไปพิจารณาด้วย และเมื่อเป็นเช่นนั้น อนุรักษ์นิยมจึงถือว่าทำผิด มหันต์เพราะจะทำให้น้ำหนักแห่งคะแนนเสียงเท่ากันหมดโดยยึดความเป็นคนในเชิงจำนวนเป็นเกณฑ์อย่างเดียว
  •     สรุป อนุรักษ์นิยมหรือลัทธิหัวเก่า มีมาตั้งแต่ ศตวรรษที่ 18 เริ่มที่อังกฤษ โดยนักการเมืองที่ชื่อ  เอ็ดมันด์ เบอร์ก เป็นลัทธิที่ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงไปตามวิวัฒนาการของยุคสมัย เป็นลัทธิที่เชื่อว่าคนไม่เท่ากัน และเป็นอย่างนั้นตลอดไป เชื่อถือประสบการณ์ของบุคคลเป็นที่่่่่ตั้ง ไม่ศรัทธาระบบ 1 คน 1 เสียง เพราะไม่ได้นำปัจจัยแห่งความแตกต่างเข้าไปพิจารณาร่วมด้วย เรียกระบบ 1 คน 1 เสียงว่า เสมอภาคเชิงจำนวน เท่านั้น

             กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์ การปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง
.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น