ดร. ปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษของไทย
มณฑลบูรพาของไทยในอดีตประกอบด้วย
- ฝั่งลาวมี จำปาสัก-ล้านช้าง
- ฝั่งเขมรมี พระตะบอง-พิบูลสงคราม
- เมื่อไทยรบกับฝรั่งเศส จนเข้ายึดทำลายค่ายทหารของฝรั่งเศส คือค่าย เบียนเบียนฟู ที่เวียตนามได้
- ญี่ปุ่นเสนอตัวเข้ามาเป็นคนกลางเพื่อเจรจาสงบศึกไทยฝรั่งเศส ฝ่ายไทยขณะนั้นยอมเจรจาภายใต้เงื่อนไขว่า ต้องใช้เขตน้ำลึกเป็นตัวแบ่งเขตแดน และให้ อินโดจีนทั้งหมดที่เป็นมณฑลบูรพาที่ฝรั่งเศสยึดไป สมัย ร. 5 คืนแก่ไทยทั้งหมดเมื่อฝรั่งเศสหมดอำนาจไปจากดินแดนฝรั่งเศสยอมรับเงื่อนไข และตกลง เซ็นสัญญา เรียกสัญญานี้ว่า สัญญาอนุโตเกียว พ.ศ. 2484 และจอมพล ป.พิบูลสงคราม นำอนุสัญญานี้ไปแถลงต่อรัฐสภา และสภา ลงมติ รับรอง
- ต่อมา ฝรั่งเศสบีบบังคับไทย ขอดินแดนคืนอีก หลังจากที่ฝรั่งเศสเข้าร่วมรบกับฝ่ายสัมพันธมิตรและชนะ ฝรั่งเศสกีดกันไทยออกไม่ให้ไทยเป็นฝ่ายชนะด้วย และบีบให้ไทยยกดินแดนให้
- นี่คือมูลเหตุทั้งหมดของการเสียดินแดน ไม่ใช่ไทย พิพาทกับเขมร แต่เป็นไทยกับ นักล่าอาณานิคม ฝรั่งเศส และ หลังจากฝรั่งเศสถอนตัวออกไป ก็ได้ ถ่ายอุจจาระก้อนโตเอาไว้แนวชายแดนไทย เป็นปัญหาให้ลูกหลานไทย กับเขมรต้องมารบรากัน ทั้งที่ต้นเหตุคือเจ้าฝรั่ง มังฆ้องตาน้ำข้าวทำเอาไว้ ไม่รักษาสัญญาลูกผู้ชาย
- ให้ประเทศไทยได้รับคืนดินแดนทั้งหมดที่เสียให้ฝรั่งเศสตามสนธิสัญญา เมื่อ ร.ศ. 123 มณฑลบูรพาที่เสียไปใน ร.ศ. 126 ฝรั่งเศสจะคืนพระตะบองและศรีโสภณให้จนถึงทะเลสาบ แต่เสียมราฐและนครวัดยังเป็นของฝรั่งเศสอยู่
- ให้ถือร่องน้ำลึกเป็นเส้นเขตแดนใน แม่น้ำโขง แต่เกาะโขงยังเป็นของอาณาเขตอินโดจีนฝรั่งเศส เกาะโคนตกเป็นของไทย ส่วนดินแดนเล็กๆบนฝั่งขวาของแม่น้ำตรงข้ามกับสะตรึงเตรง ซึ่งแต่เดิมสงวนไว้ให้ฝรั่งเศสนั้น ฝรั่งเศสยกให้ไทย
- ในทะเลสาบ รัศมี 20 กิโลเมตรจากจุดพรมแดนปัจจุบันระหว่างเสียมราฐกับพระตะบอง จดทะเลสาบ (ปากน้ำสะดึงกัมบด) ไปบรรจบจุดพรมแดนปัจจุบันระหว่างพระตะบองกับโพธิสัตว์จดทะเลสาบ (ปากน้ำตะตึงดนตรี) เป็นเส้นเขตแดน ทะเลสาบคนไทยและฝรั่งเศสทำการเดินเรือจับสัตว์น้ำได้โดยเสรี
- ในบรรดาดินแดนที่โอนให้แก่ประเทศไทยนั้นต้องปลอดทหาร คนฝรั่งเศสจะได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกับคนไทย ยกเว้นการได้มาของ อสังหาริมทรัพย์ สาธารณสมบัติของแผ่นดิน
- รัฐบาลไทยจะอำนวยความคุ้มครองให้แก่บรรดาที่บรรจุราชอัฐิของราชวงค์หลวงพระบาง ซึ่งอยู่ฝั่งขวาแม่น้ำโขงตรงข้ามเมืองหลวงพระบาง และจะอำนวยความสะดวกต่างๆในการรักษาและเยี่ยมเยียนที่บรรจุอัฐินั้น
- ในการโอนอธิปไตยเหนือดินแดนที่ยกให้ไทยนั้น คนชาติฝรั่งเศสที่อาศัยอยู่ย่อมได้สัญชาติไทยทันที แต่ภายในเวลา 3 ปี คนชาติฝรั่งเศสจะเลือกเอาสัญชาติฝรั่งเศสไว้ได้โดย
ย้ายภูมิลำเนาไปอยู่ในดินแดนฝรั่งเศส
ประเทศไทยจะใช้เงิน 6 ล้านเปียสอินโดจีนแก่ฝรั่งเศส ในเวลา 6 ปี
การขัดกันที่เกิดขึ้นระหว่างไทยและฝรั่งเศสในเรื่องตีความหรือการใช้บทแห่งอนุสัญญานี้ให้ตกลงกันด้วยการทูต ถ้าไม่สามารถตกลงกันได้ให้เสนอรัฐบาลญี่ปุ่นไกล่เกลี่ย
ส่วนการถอนตัวและโอนดินแดนนั้น รัฐบาลฝรั่งเศสจะมอบบัญชีรายการอสังหาริมทรัพย์สาธารณะที่มีอยู่ในดินแดนที่ยกให้พร้อมบัญชีรายนามผู้แทนฝรั่งเศสซึ่งได้รับมอบหมายให้ดำเนินการโอนนั้นแก่รัฐบาลไทยภายใน 20 วัน ส่วนรัฐบาลไทยจะมอบบัญชีรายนามผู้แทนฝ่ายไทยภายใน 20 วันเช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ดีอนุสัญญานี้ได้ถูกยกเลิกโดย "ความตกลงระงับกรณีระหว่างไทยกับฝรั่งเศส" (Accord de rėglement Franco-Siamois)
ซึ่งทำที่กรุงวอชิงตัน เมื่อ 17 พฤศจิกายน 2489 (ค.ศ. 1946) หรือที่รู้จักในชื่อ "Washington Accord"
อ้างอิง >> วิกิพิเดีย
เนื้อหาความตกลงระงับระหว่างไทยกับฝรั่งเศส 1946 (2489)
คลิกที่รูปเพื่อซูมภาพให้ใหญ่ขึ้น
เนื้อหา MOU 2543 มีดังนี้
คลิกที่รูปเพื่อซูมภาพให้ใหญ่ขึ้น
ฉบับภาษาไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น