ยกเลิกการปกครองส่วนภูมิภาค
อำนาจทางปกครองของไทยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนดังนี้
1) ส่วนกลาง เป็นการรวมศูนย์อำนาจทางปกครองไว้ที่ส่วนกลาาง มีกระทรวง ทบวง กรม มีรัฐมนตรีคอยควบคุมดูแล และมีนายกรัฐมนตรี บังคับบัญชาสูงสุด ตามมาตรา 11 พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
2 ) ส่วนภูมิภาค ข้าราชการส่วนภูมิภาคจะถูกส่งไปจากส่วนกลาง คอยเป็นหูเป็นตาแทนส่วนกลาง เป็นการแบ่งอำนาจจากส่วนกลางบางส่วนไปยังส่วนภูมิภาคโดยผ่านตัวแทนของตน
ตัวอย่างข้าราชการส่วนภูมิภาคที่ถูกส่งไปในแต่ละจังหวัด
2.1 ผู้ว่าราชการจังหวัด
2.2 รองผู้ว่าฯ
2.3 ปลัดจังหวัด
2.4 ผู้ช่วยปลัดฯ
2.5 ผู้ตรวจราชการส่วนท้องถิ่น
2.6 เสมียนตราจังหวัด
2.7 นายอำเภอ
2.8 ปลัดอำเภอฝ่ายปกครองและพัฒนา
2.9 ปลัดอำเภอฝ่ายพัฒนาท้องถิ่น
2.10 ปลัดอำเภอที่เป็นหัวหน้ากิ่งอำเภอ
- เดิมผู้ว่าราชาการฯสวมหมวก 2 ใบคือ ผู้ว่า และ นายก อบจ.ด้วย ปัจจุบันนายก อบจ.มาจากการเลือกตั้งท้องถิ่น
3) ส่วนท้องถิ่น เป็นการกระจายอำนาจบางส่วนไปยังท้องถิ่น ให้ท้องถิ่น มีโอกาสในการเลือกผู้บริหาร และนิติบัญญัติของตนเอง เช่น อบจ. เทศบาล อบต. ซึ่งนี่คือฐานรากของระบอบประชาธิปไตยที่เปิดโอกาสให้คนท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการท้องถิ่นของตนเอง
- ตามความเห็นของผมน่าจะยกเลิกการปกครองส่วนภูมิภาคเสีย และปล่อยให้เป็นหน้าที่ของท้องถิ่นจัดการเอง ข้ออ้างที่อ้างว่าถ้าทำเช่นนั้นจะเกิดการแยกตัวเองเป็นรัฐอิสระ ซึ่งผิดไปจากความเป็นจริง
- ปัจจุบันท้องถิ่นไม่มีอำนาจหน้าที่ในการดูแลหรือควบคุมกองกำลัง ไม่ว่าจะเป็น ทหาร ตำรวจ ดังนั้นข้ออ้างดังกล่าวเป็นเพียงการหวงอำนาจของส่วนกลาง เพราะอำนาจท้องถิ่นที่กระจายไปจากส่วนกลางเป็นอำนาจเพียงบางส่วนเล็กน้อยเท่านั้น การยกเลิกการปกครองส่วนภูมิภาคจะทำให้ท้องถิ่นเข้มแข็งขึ้น ลดรายจ่ายภาครัฐลงเป็นอย่างมากและเป็นการให้ความสำคัญกับวงนอกสุดของใยแมงมุม ลดโครงสร้างอำนาจที่เป็นแนวดิ่งจากบนลงล่างเช่นปัจจุบัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น