กังวาล ทองเนตร

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา Pohthaiblogspot.com

วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

กำเนิดการพิจารณาคดี ระบบ ลูกขุน




  •     ระบบลูกขุุนเกิดขึ้นครั้งแรกที่อังกฤษ โดยชาวนอร์แมนที่รุกเข้าไปในอังกฤษเดิมทีเดียวมีการพิจารณาเป็น 2 รูปแบบ


1. การสาบานตน Compurgation หรือ  Wager of Law โดยฝ่ายจำเลยหากสามารถหาบุคคลในฐานันดรเดียวกันกับตนเอง         จำนวน 12 คนมาศาลและสาบานตนว่าทั้ง 12คนเชื่อในคำให้การของจำเลยว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ทุกคน ศาลจะพิพากษาให้             ปล่อยตัวจำเลยไป (วิธีการนี้ยกเลิกไปเมื่อ ค.ศ. 1833 )
2. เป็นการพิสูจน์ด้วยน้ำและไฟ ( Tial by fire or Water) การพิสูจน์ด้วยไฟจำกัดไว้เฉพาะขุนนาง ส่วนไพร่ให้พิสูจน์ด้วยน้ำ
       (วิธีนี้ยกเลิกเมื่อ ค.ศ.1819 ก่อนวิธีแรก )


  •     พวกนอร์แมนได้นำต้นตอของระบบลูกขุนเข้ามา โดยใช้คน 12 คนทำหน้าที่เสมือนศาลสอบสวน ตัวเลข 12คนมาจากจำนวนสาวก 12 คนแรกที่พระเยซูเลือกเพื่อให้เผยแพร่คริสต์ศาสนา
       

  •      ต่อมาอเมริกาได้นำเอาระบบลูกขุนเข้ามาใช้ คณะลูกขุนที่จะพิจารณาคดีมี 12 คนคัดเลือกมาจากคณะบุคคลจำนวนมากที่ศาลเรียกมาเพื่อคัดเลือกให้เป็นลูกขุนโดยสุ่มเอามาจากทุกมุมเมืองไม่เจาะจงตัวบุคคลมิฉะนั้นจะถูกคัดค้านและให้นำชื่อผู้ที่จะเป็นลูกขุนจำนวน 36 คนไปใส่ในกล่อง แล้วให้เด็กอายุไม่เกิน 10 ขวบ เป็นคนจับรายชื่อขึ้นมา 12 รายชื่อ


  •  คุณสมบัติของลูกขุนต้องกำหนดโดยรัฐบาลกลาง หรือรัฐบาลมลรัฐ ว่าต้องมีอายุ21 ปีมีภูมิลำเนาในเขตศาลนั้นเป้นเวลา 1 ปีไม่เคยทำผิดขั้น ร้ายแรง (Felony)


  •     การพิจารณาคดี ก่อนพิจารณาคดีคู่ความทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องแถลงเปิดคดีขอแต่ละฝ่ายให้ลูกขุนทราบเพื่อลูกขุนจะได้เข้าใจพยานหลักฐาน ทำให้ได้รับความเชื่อถือจากประชาชนเป็นอย่างมาก


  •    ประมาณศตวรรษที่ 19 อำนาจของผู้พิพากษาถูกลดลง เนื่องจากมีความเชื่อมั่นในความสามารถของบุคคลธรรมดาที่ทำหน้าที่เป็นลูกขุน และมีหลายมลรัฐห้ามผู้พิพากษามิให้เป็นผู้สรุปพยานหลักฐานที่นำสืบในศาล

  ระบบลูกขุนได้รับการพัฒนามาเรื่อยจนถึงปัจจุบันนี้   แต่มีที่มาและจุดกำเนิดจากที่กล่าวมาแล้ว

               ขอบคุณข้อมูลจาก  อาจารย์ รศ. ดวงจิตต์  กำประเสริฐ  ภาควิชากฎหมายทั่วไป คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น