กังวาล ทองเนตร

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา Pohthaiblogspot.com

วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การเมืองไทย-อังกฤษ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

สภาพการเมืองไทย-อังกฤษ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

                                                                               



  •          อังกฤษปกครองแบบประชาธิปไตยรูปแบบรัฐสภา มีฟระมาหากษัตริย์เป็นประมุขเช่นเดียวกับไทย แต่รายละเอียดเนื้อในแตกต่างกันครับ เช่น อังกฤษไม่มีรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษร มีเพียงข้อตกลงของพระเจ้าจอห์นกับเหล่าขุนนาง ที่เรียกว่า แมกนาร์คาตา เท่านั้นแต่ ไทย มีรัฐธรรมนูญถึงปัจจุบัน 18 ฉบับ และมีแนวโน้มว่าจะมีเพิ่มอีก


  •  ความรู้ทางการเมืองของไทย ขาดหายไปช่วงหนึ่งครับ คนไทยเราเรียนรู้ทางการเมือง อยู่ในขั้นไปตลาดเท่านั้น กล่าวคือ เมื่อเรามีความต้องการอาหาร เรารู้ว่าต้องไปหาซื้อที่ตลาด เพื่อมาบริโภค เรารู้เท่านั้น เรายังขาด ขั้นตอนเรียนรู้พื้นฐาน คือกระบวนการตั้งแต่เตรียมเมล็ดพันธุ์ เตรียมดิน เตรียมน้ำ เพาะปลูกดูแล จนไปถึงเกิดผลผลิต แล้วไปรวมอยู่ที่ตลาด
  •         เราขาดความรู้ส่วนนั้นไปเรารู้แต่ว่าเมื่อหิวก็ไปตลาดไปร้านอาหาร ร้านอาหารหรือศูนย์รวมอำนาจนั้นคือ ตึกไทยคู่ฟ้า เมื่อเรามีปัญหาเมื่อเราต้องการ ทุกคนพุ่งเป้าไปที่ตึกไทยคู่ฟ้าหรือทำเนียบรัฐบาล เพราะเราคิดว่าที่ตรงนี้คือที่แก้ปัญหา และเมื่อมาแล้วหลายคนพอใจ คนอื่นจึงเห็นเกิดลัทธิเอาอย่างขึ้น ดังนั้นทำเนียบจึงไม่เคยร้างลาจากประชาชนผู้เดือดร้อน

                                           ภาพนี้สะท้อนอะไร

  •  สะท้อนให้เห็นว่า อำนาจไม่ได้กระจายออกสู่ท้องถิ่น แต่รวมศูนย์อยู่ที่ส่วนกลาง
  • สะท้อนว่าระบบราชการส่วนภูมิภาคล้มเหลวแก้ปัญหาไม่ได้
  • สะท้อนให้เห็นว่า ชาวบ้านไม่เชื่อถือระบบราชการ ซึ่งเป็นที่ตั้งของปัญหา
  • สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยเราชอบลัดขั้นตอน เพราะเราขาดการมีส่วนร่วมในระดับท้องถิ่น ประชาชนไม่มีส่วนร่วมไม่รู้จักข้าราชการในส่วนภูมิภาคแต่รู้จักรัฐบาล จึงพุ่งเป้ามาที่นี่
  • อังกฤษ ปกครองโดยระบบจารีต มีความต่อเนื่องมาอย่างยาวนาน วัฒนธรรมแบบแผนทางสังคม  บรรทัดฐานทางสังคมถูกปลูกฝัง มาแต่เกิดให้เคารพในสิ่งนี้
  • อีกสิ่งหนึ่งที่ผมมองว่าที่ทำให้การเมืองอังกฤษนิ่งคือ  หัวใจของคนอังกฤษถูกดึงลงไปที่สนามหญ้าสีเขียวๆ มาเป็นเวลาช้านาน คนอังกฤษมีความหวังอยู่กับสนามหญ้าสีเขียว ในแต่ละสัปดาห์หัวใจคนอังกฤษจะจดจ่ออยู่กับสนามหญ้าสีเขียว  นั่นคือสนามฟุตบอล คนอังกฤษสนใจว่าทีมตนเองมีใครมาใหม่บ้างใครลงสนามบ้างใครเจ็บบ้าง ความสนใจคนอังกฤษพุ่งตรงไปที่ตรงสนามนี้เพราะที่ตรงนี้เกี่ยวข้องกับปากท้องเขา มากกว่าเวทีการเมือง เวทีการเมืองจึงถูกมองข้ามจากคนอังกฤษ แต่คนอังกฤษเทหัวใจและสายตาไปที่สนามฟุตบอล
  •  นี่เองก็เป็นทฤษฎีการปกครองอีกรูปแบบหนึ่ง คือ มอมเมาแล้วปกครอง เพื่อดึงความสนใจประชาชนออกจากการเมือง อยากเล่นการพนันมี อยากเล่นฟุตบอล มี มีทุกอย่างเพื่อมอมเมา จึงเรียกว่า มอมเมาแล้วปกครอง อังกฤษนี่เองที่เป็นต้นตำรับนี้
  •  ส่วนสร้างความหวาดกลัวและแตกแยกแล้วปกครอง มาจากฝรั่งเศส หลัการก็คือ สร้างความหวาดกลัว ทำให้ประชาชนคิดว่าบ้านเมืองนี้มันเต็มไปด้วยอันตรายทั้งระเบิด การฆ่าแกงไม่เว้นแต่ละวันแล้วก็ส่งทหารหรืออาวุธเข้าไปเพื่อให้ประชาชนคิดว่าถ้าไม่มีผู้คุ้มกันเราอยู่ไม่ได้ ที่แท้ ความน่ากลัวนั้นมาจากผู้ปกครองนั่นเอง เช่น สถานะการณ์ใต้ ผมชี้ได้เลย เป็นขนมจีนผสมน้ำยาครับคือทั้งมาจากภาครัฐและกลุ่มโจรไม่มีอุดมการณ์ ท่านสังเกตุดูครับ

                        กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์การปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง
...............................................................................................................................................................

1 ความคิดเห็น:

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น