คำว่าประชาธิปไตย มาจากภาษากรีก 2 คำมารวมกัน คือ
- Demos หมายถึงประชาชน
- Kratia หรือ Kratos หมายถึงการปกครอง
- เมื่อนำคำสองคำนี้มารวมกันจึงหมายถึง การปกครองของประชาชน
- ระบอบประชาธิปไตยถือกำเนิดขึ้นที่ นครรัฐเอเธนส์ Athens เป็นนครรัฐที่ยิ่งใหญ่ของกรีกโบราณ หรือ กรีช ในปัจจุบัน
อารยะธรรมกรีก
กรีกโบราณ แบ่งการปกครองออกเป็นรูปแบบนครรัฐ ผมจะขอหยิบยกเอามา เฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับประชาธิปไตย เพียง สองนครรัฐคือ
1.นครรัฐ เอเธนส์ นครรัฐนี้ มีการจัดการปกครองเป็นแบบประชาธิปไตย ( โดยตรง หรือทางตรง )
2. นครรัฐ สปาร์ตา นครรัฐนี้ ปกครองแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ
- ชาวกรีกเป็นพวกอินโด - ยูโรเปี้ยน มีหลักแหล่งดั้งเดิมอยู่ที่ลุ่มน้ำ ดานูบ Danube ชาวกรีกเมื่อเปรียบเทียบกับ ชาติพันธุ์อื่นในยุคนั้น จัดว่าเป็นพวกเร่ร่อน ไม่มีความเจริญ เมื่อเทียบกับพวก ครีตัน -ไอโอเนียน
- นครรัฐสปาร์ตามีพื้นที่ประมาณ 3,000 ตารางไมล์ มีประชากร ประมาณ 400,000 คนประชาชนของรัฐสปาร์ตา เป็นเชื้อสาย ดอเรียน Dorians
รูปแบบการปกครองของ สปาร์ตา แบ่งเป็น 3 หน่วยงาน
1. มีกษัตริย์ 2 องค์ เป็นผู้นำทางทหาร และศาสนา
2. มีสภามนตรี ประกอบด้วยกษัตริย์ 2 องค์ และขุนนางอีก 28 คน รวม เป็น 30 คน มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ดำรงตำแหน่งตลอดชีวิต
- สภามนตรีมีหน้าที่ บริหาร เป็นที่ปรึกษา เตรียมงาน ตุลาการ ฯลฯ
3. สภาประชาชน ประกอบด้วยชายชาวสปาร์ตา ที่มี อายุ 30 ปีขึ้นไป สภาประชาชนมีหน้าที่ ให้ความเห็นชอบหรือคัดค้าน ข้อเสนอของขุนนาง นอกจากนี้ยังมีหน้าที่เลือกเจ้าหน้าที่สภามนตรี กำหนดนโยบาย ต่างประเทศ สงคราม การสืบตำแหน่งกษัตริย์ ( นี่เป็นเพียงรูปแบบที่วางไว้ครับ ) แต่ในความเป็นจริงแล้วอำนาจเบ็ดเสร็จ อยู่ในมือคน 5 คน เรียกว่า เอโพเรท Ephorate
พวกเอเพอร์นี้ เป็นใคร
- เป็นรัฐบาล
- เป็นประธานในสภามนตรี
- ประธานสภาประชาชน
- คอยควบคุมการศึกษา ความมั่นคง ความเป็นอยู่ของประชาชน และมีอำนาจยับยั้งพระราชบัญญัติทุกฉบับ และมีอำนาจในการกำหนดชะตาชีวิตของเด็กเกิดใหม่ ในรัฐทุกคน เมื่อเด็กเกิดมา คนพวกนี้จะเป็นผู้กำหนดว่าจะให้อยู่หรือให้ตาย โดยดูจากรูปร่างของเด็ก ถ้าดูแล้วไม่แข็งแรงก็จะให้ฆ่าทิ้งเสีย ถ้าเห็นว่าน่าจะแข็งแรงก็จะให้เลี้ยงไว้ ( นี่คืออำนาจ เบ็ดเสร็จของ 5 คนนี้ )
- *** ผมแนะนำให้ไปหาหนังประวัติศาสตร์เกี่ยวกับพวกรีกนี้มาดูครับ เช่น 300 เป็นต้น ดูเพื่อศึกษาโครงสร้างของเขา ไม่ใช่สีสันที่เขาใส่เข้าไป***
ในรัฐ สปาร์ตาร์ ยังแบ่งคนออกเป็น 3 ชนชั้น
1. สปาร์ติเอท Spartiates เป็นชนชั้นปกครอง พวกนี้ต้องมีเชื้อสาย ดอเรียนเท่านั้น และเป็นพวกเดียวนี้เท่านั้นที่มีสิทธิทางการเมือง
2. เพริออไค Perioeci พวกนี้ไม่ใช่ชาว สปาร์ตาโดยตรง แต่เป็นพวกที่เป็นพันธมิตร หรือเคยเป็นพันธมิตรกับสปาร์ตามาก่อน พวกนี้ไม่มีสิทธิทางการเมือง แต่มีเสรีภาพในการทำการค้าอย่างเสรีในสปาร์ตา
3. เฮลอท-เซิฟ Helot -serfsพวกนี้เป็นชาวพื้นเมืองเดิม เป็นทาสติดดิน ชะตาชีวิตขึ้นอยู่กับผู้เป็นนาย
นครรัฐเอเธนส์
เอเธนส์ มีเนื้อที่ประมาณ 1,060ตารางไมล์ มีประชากรประมาณ 400,000 คน พอๆกับ สปาร์ตา
- การปกครองเอเธนส์ใน ศตวรรษที่ 8 ยังเป็นรูปแบบกษัตริย์ต่อมา ในสมัย ดราโก Dracoได้ปฏิรูปสังคมใหม่และออกกฎหมายลงโทษอย่างรุนแรง และก่อน ค.ศ.594 ปี ประชาชนพร้อมใจกันเลือกโซลอน Solon เป็นผู้นำ
โซลอนได้ปฏิรูปการเมืองดังนี้
1.ตั้งสภา 400 ( Council of four hundred ) เลือกจากพลเมืองทั้ง 4 หมู่ของเอเธนส์ หมู่ละ 100 คนเป็นสมาชิกของสภา
2.ให้สิทธิการเลือกตั้งกับคนชั้นต่ำให้เข้ามามีส่วนร่วมในสภาประชาชน ( สภาประชาชน มาจากพลเมืองทุกคนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ) นี่คือประชาธิปไตยทางตรง
3. จัดระเบียบศาลสูงสุด เปิดโอกาสให้ประชนทุกคนมีสิทธิเลือกตั้ง มีอำนาจรับคำอุทธรณ์ จากการตัดสินของผู้ปกครอง แก้กฎหมายให้มีความยุติธรรมโทษหนักเบาลดหลั่นกันตามความผิด
- ในยุคโซลอน จะให้ความสำคัญกับชาวนามาก เขายกเลิกการจำนองยกเลิกทาสเนื่องจากหนี้จำกัดการถือครองที่ดินให้กระจายออกสู่มือทุกคน นำระบบเงินตราเข้ามาใช้ บังคับพ่อแม่ให้สอนลูกตนเองให้รู้จักทำการค้า ให้สิทธิพิเศษชาวต่างชาติ การกระทำเหล่านี้ ทำให้เหล่าขุนนางไม่พอใจ และเกิดความวุ่นวายขึ้น
- เอเธนส์ ตกอยู่ในมือทรราชอย่าง ไพซิสตราตัส เอเธนส์เข้าสู่ยุคมืด ต่อมา ฮิปเปียส บุตรชาย ไพซิสตราตัส สืบอำนาจต่อยิ่งเลวร้ายยิ่งกว่า ในที่สุด ขุนนางอีกเช่นกันทนการกดขี่ไม่ได้ลุกขึ้นมาโค่นล้ม ฮิปเปียส ลง และแต่งตั้ง ไคลอีส เธนิส ซึ่งประชาชนให้การสนับสนุน
- เธนิส ตอบแทนประชาชนโดยปฏิรูปการเมืองอย่างเร่งด่วนและขนานใหญ่
- จนได้รับสมญานามจากประชาชนเอเธนส์ว่าเป็นบิดาแห่งประชาธิปไตยของเอเธนส์
- เธนิส ก่อตั้ง สภา 500 ขึ้นมา (คุ้นๆ )แทนสภา 400 ยุคโซลอน แบ่งประชาชนเป็น 10 หมู่ เลือกสมาชิกมาหมู่ละ 50 คนผลัดเปลี่ยนกันเข้าทำหน้าที่ใน สภา 500 เวียนกันไปจนครบประชาธิปไตยโดยตรงได้กลับคืนสู่เอเธนส์อีกครั้ง
- อเธนส์มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองอีกหลายยุคแต่ที่ถือว่าประชาธิปไตยเจริญขีดสุดมาอยู่ในยุคของ เพริคลิส Pericles 461- 429 ก่อนคริสต์ศตวรรษระบบศาลมีคณะลูกขุน ฯลฯ
- นี่คือวิวัฒนาการการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งถือกำเนิดที่ นครรัฐ เอเธนส์ กรีกโบราณ เป็นแบบประชาธิปไตยโดยตรง เริ่มในยุค โซลอน มีสภา 400 แล้วเข้ายุคมืด มาเป็นประชาธิปไตยอีกครั้งยุค เธนีส มีสภา 500 แล้วมาเจริญขีดสุด ยุคเพริคลิส
กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์การปกครอง ศศบ.รบ.รามคำแหง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น