ระวังจะเสียหมา ถ้าไม่เข้าใจ กติกา-กฎ-กฎหมาย
- กติกาคือ สิ่งที่ บุคคลหรือคณะบุคคลสร้างขึ้น เพื่อให้เป็นแบบแผนปฏิบัติในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เมื่อ กติกานั้น ได้รับการยอมรับในสังคมมากขึ้น กติกานั้นก็จะกลายเป็น กติกาสากล เช่น กติกา การแข่งขันกีฬาเป็นต้น
- กฎ ตามพ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 5 ( 2 ) หมายความว่า พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น ระเบียบ ข้อบังคับ หรือบทบัญญัติอื่นที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไป โดยไม่มุุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดหรือบุคคลใดเป็นการจำเพาะ
อธิบาย กฎ หมายถึงทุกอย่างที่กล่าวมาแต่ต้นออกโดย หน่วยงานทางปกครอง โดยมีผลบังคับเช่นเดียวกับกฎหมาย อาจมีระยะเวลาหรือไม่ก็ได้ ที่เรียกว่ากฎก็เพราะว่า กฎ ไม่ได้ออกโดยรัฐสภา หรือฝ่ายนิติบัญญัติ มีศักดิ์ทางกฎหมายตามลำดับชั้นอยู่ในชั้น กฎ ถึงแม้ระเบียบข้อบังคับท้องถิ่นจะออกโดยสภานิติบัญัติท้องถิ่น ก็มีศักดฺิ์เป็นเพียงกฎ
- กฎหมาย หรือพระราชบัญญัตติ ถูกตราขึ้นโดย ฝ่ายนิติบัญญัติหรือรัฐสภา คือ สภาผู้แทน +วุฒิสภา = รัฐสภา ในประเทศที่ใช้ระบบ สองสภา ส่วนในประเทศที่ใช้สภาเดียว ก็ทำหน้าที่เป็นรัฐสภาไปเลย
การเสนอกฎหมาย ถึงแม้โดยหลักการจะอออกโดยรัฐสภา แต่กฎหมายส่วนใหญ่ถูกเสนอขึ้นโดยฝ่ายบริหาร หรือรัฐบาล ( ในรูปแบบรัฐสภา )ในรูปแบบอื่นจะต่างไปจากนี้ กฎหมาย สมาชิกสภาผู้แทน ฯสามารถเสนอเข้าสู่สภาได้ โดยมีผู้เข้าชื่อรับรองในการเสนอร่างกฎหมายนั้น 20 คน แต่กฎหมายใด ที่เป็นกฎหมายเกี่ยวกับการเงิน คือเกี่ยวข้องกับงบประมาณแผ่นดิน เช่นแยกกระทรวงแยกจังหวัดเป็นต้น ร่างกฎหมายฉบับนั้นต้องให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้เซ็นรับรองก่อนที่จะนำเสนอสู่สภา
- เมื่อถูกบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุม ผู้เสนอที่เป็นเจ้าของญัตติ จะต้องนำเสนอ หลักการและเหตุผล ต่อสภา และประธานเปิดโอกาสให้มีการอภิปราย ขั้นตอนนี้เรียกว่า วาระ 1 ขั้นรับหลักการ เมื่ออภิปรายพอประมาณประธานที่ประชุมจะถามมติที่ประชุม เห็นสมควรให้รับหลักการหรือไม่
- ถ้าที่ประชุมมีมติไม่รับหลัการ ร่างกฎหมายนั้นก็ตกไป
- ถ้าที่ประชุมมีมติรับหลัการ ก็จะเข้าสู่วาระที่ 2 ขั้นแปรญัตติ โดยตั้งกรรมาธิการขึ้นมาทำหน้าที่แปรญัตติ โดยมีการกำหนดวันว่าภายในกี่วัน แล้วนำกลับเข้ามาสู่สภาในวาระที่ 3 ต่อไป
- ขั้นตอนการแปรญัตตินี้จะมีการแก้ไขขัดเกลาถ้อยคำให้ถูกต้องสมบูรณ์ก่อนนำเข้าสภาใหญ่ สมาชิกเสียงส่วนน้อย สามารถ สงวนคำแปรญัตติของตนเพื่อมาอภิปรายในสภาใหญ่ได้
- ในกรณีที่มีการตั้งกรรมาธิการเต็มสภา คือสมาชิกทั้งหมดเป็นกรรมาธิการ เรียกวิธีการนี้ว่า พิจารณา 3 วาระรวด ใช้ในกรณีที่เห็นว่ากฎหมายนั้นต้องออกให้ทันกับสถานะการณ์หรือเป็นการเร่งด่วน
- กรณีนี้ เลขาธิการสภาฯ จะอ่านรายมาตรา ถ้าสมาชิกมีข้อสงสัยให้ยกมือ ประธานเรียกชื่ออนุญาตให้อภิปรายได้ และลงมติเป็นรายมาตราไปจนกว่าจะครบ แล้วเข้าสู่วาระที่3 คือขั้นรับ หรือไม่รับ ร่างกฎหมายนั้น เมื่อรับ ร่างนั้นจะกลายเป็นร่างที่ผ่านการพิจารณาจากสภาผู้แทน และจะนำเข้าสู่ วุฒิสภาในลำดับต่อไป ถ้าวุฒิรับสามวาระ นายกก็จะนำร่างนั้นขึ้นทูลเกล้าเพื่อลงพระนามาภิไธ ประกาศในรากิจจาเป็นกฎหมายต่อไป
- ถ้าวุฒิไม่รับหรือมีการแก้ไขหลักการ ก็จะแจ้งให้สภาผู้แทนทราบถ้าสภาผู้แทนเห็นว่าไม่เสียหายก็ยอมไปตามนั้น ถ้าสภาผู้แทนเห็นว่าวุฒิแก้จนหลักการเสียหาย ทั้งสองสภาก็จะตั้งกรรมาธิการร่วมทั้งสองสภาเพื่อหาข้อยุติตามระเบียบต่อไป
ทั้งหมดนี้คือขั้นตอนการตรากฎหมาย
ดังนั้นกฎหมายจึงมีศักดิ์สูงกว่ากฎ โดยลำดับชั้นทางกฎหมาย รัฐธรรมนูญมีศักดิ์สูงสุด การแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือยกเลิกก็จะเลิกด้วยรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หรือรัฐประหารที่เป็นวิธีนอกขั้นตอน นอกแบบแผนและหลักการประชาธิปไตย
- กฎหมาย เมื่อต้องการยกเลิกก็ต้องตรากฎหมายใหม่ขึ้นมายกเลิกเช่นกัน
....เช่นเดียวกับกฎ ที่ประกาศไปก่อนหน้า เมื่อรัฐมนตรีเจ้ากระทรวงเห็นว่าควรให้ยกเลิกกฎเก่านั้นก็ประกาศกฎใหม่ยกเลิกเช่นกันไม่ต้องนำเข้าสภาเพราะเป็นอำนาจทางบริหารของรัฐมนตรีนั้นๆ
- กฎ จะต่างจาก คำสั่งทางปกครอง กฎจะบังคับใช้เป็นการทั่วไป ไม่ระบุตัวตนผู้ใดผู้หนึ่ง เช่น ม.ราม ออกกฎให้นักศึกษา ลงทะเบียนเรียนภาคปกติได้ไม่เกิน 24 หน่วยกิต ดังนั้นทุกคนที่เข้าเรียนรามต้องปฏิบัติตามกฎนี้
.....แต่คำสั่งทางปกครอง ระบุตัวบุคคลว่าคำสั่งนั้นใช้กับใคร เช่น เมื่อเข้าสอบ ม.รามจับได้ว่า นักศึกษาชื่อ ก. ทุจริจสอบ ทาง ม.รามออกคำสั่งทางปกครองให้ปรับตกทุกวิชานักศึกษาคนนั้นและห้ามลงทะเบียนเรียน 1 ปี และใหประทับตราว่าทุจริจในใบปริญญาของนักศึกษาคนนั้น เป็นต้น คือจะมีผลเฉพาะคนๆนั้นจะไม่รวมผู้อื่น หรือ ตำรวจ ออกหมายเรียกนายอภิสิทธิ์ เข้าให้ปากคำ ก็เรียกเฉพาะนายอภิสิทธิ์ก็เป็นการออกคำสั่งทางปกครองเช่นกัน
กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์ การปกครองมหาวิทยาลัยรามคำแหง
.................................................................................................................................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น