การปกครองของไทยนับตั้งแต่ กำเนิดรัฐชาติอย่างเป็นทางการ นับจากสมัยสุโขทัย
ซึ่งผมเคยอธิบายเกี่ยวกับพ่อปกครองลูกไว้แล้ว
- ยุคสุโขทัยแบ่งการปกครอง ออกเป็น 3 ส่วนคือ
1.หัวเมืองชั้นใน
2.หัวเมืองชั้นนอก
3.หัวเมืองประเทศราช ( ไม่มีหัวเมืองชั้นกลางครับ )
- หัวเมืองชั้นใน คือส่วนที่เป็นราชธานีหรือเมืองหลวง
- หัวเมืองชั้นนอก คือเมืองพระยามหานคร มีข้าราชการหรือขุนนางชั้นผู้ใหญ่ปกครอง
- หัวเมืองประเทศราช กษัตริย์จะเป็นผู้แต่งตั้ง เจ้าพื้นเมืองเป็นผู้ปกครอง
ยุคสมัยอยุธยา
- สมัยพระเจ้าอู่ทอง (รามาธิบดีที่1 ) หมายเหตุ อ่านประวัติราชวงค์ไทยที่ผมเขียนไว้แล้วประกอบ.
- สมัยพระเจ้าอู่ทองแบ่งการปกครองออกเป็นส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค
- ส่วนกลางปกครองแบบจตุสดมภ์ ตามอย่างเขมร คือ เวียง วัง คลัง นา
- ส่วนภูมิภาค ยังคงยึดหลักตามแบบสุโขทัย คือแบบหัวเมือง แต่เรียกหัวเมืองชั้นใน 4 เมืองรอบราชธานีว่า เมืองลูกหลวง หรือเมืองหน้าด่าน
- ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ถือว่าเป็นยุคเปลี่ยนแปลงการปกครองในสมัยอยุธยา
โดยสมัยนี้ได้ปรับปรุงการปกครองขึ้นใหม่ และแยก การบริหารราชการออกเป็น ฝ่าย พลเรือน และฝ่ายทหาร
- โดยตั้งกรมมหาดไทยมีสมุหนายกเป็นเสนาบดี มีหน้าที่ดูแลกิจการฝ่ายพลเรือนในราชธานีและทุกหัวเมือง
- กรมกลาโหมมีสมุหพระกลาโหมเป็นอัครเสนาบดีดูแลกิจการฝ่ายทหารในราชธานีและทุกหัวเมือง
การปกครองส่วนภูมิภาค ในสมัยนี้
- ได้ยกเลิกเมืองหน้าด่าน และขยายเขตราชธานีออกไปให้กว้างมากขึ้น เพื่อรวบรวมอำนาจมาไว้ส่วนกลางให้มากที่สุด
- *** หมายเหตุ**วิเคราะตรงนี้ตามให้ดีครับ คือสมัยพระเจ้าอู่ทองจะกระจายอำนาจไว้ในส่วนภูมิภาค แต่สมัยนี้ จะรวบอำนาจมาไว้ส่วนกลางโดยวิธีที่แยบยลคือขยายอาณาเขตราชธานีแทน
และได้แต่งตั้งเจ้านายหรือขุนนางที่ใกล้ชิดไปปกครองหัวเมืองชั้นนอกนั้น คือนอกจากรวบอำนาจแล้ว อำนาจที่เหลือยังอยู่ในมือคนใกล้ชิด
- ส่วนเมืองประเทศราชยังคงไว้เหมือนเดิม
- นอกจากนี้ยังออกระเบียบการปกครองท้องที่ แบ่งเมืองออกเป็นแขวง
- แขวงแบ่งออกเป็นตำบล
- ตำบลแบ่งออกเป็นหมู่บ้าน
(ผู้ที่จะศึกษาการปกครองต้องอ่านและวิเคราะห์ตรงนี้ครับ ผมพยายามย่อยให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ) นับว่า สมัยพระบรมไตรโลกนาถ มีการยกเครื่องรูปแบบการปกครอง ขนานใหญ่ แต่ยุคสมัยของพระองค์ให้ไปอ่านประวัติราชวงค์ไทยที่เสนอไปแล้วประกอบว่าสมัยนี้ปกครองอยู่กี่ปี
สมัยพระเทพราชา
สมัยนี้เป็นอีกสมัยที่ พลิกการปกครองขนานใหญ่
- พระเทพราชาไม่ไว้วางใจอัครเสนาบดีทั้งหลาย จึงปรับเปลี่ยน การบังคับบัญชาใหม่
- โดยแบ่งหัวเมือง ออกเป็น ฝ่ายเหนือฝ่ายใต้
- ให้กรมมหาดไทยบังคับบัญชาทั้งทหาร และพลเรือน ในหัวเมืองฝ่ายเหนือ
- ให้กรมกลาโหมบังคับบัญชาทั้งทหารและพลเรือนในหัวเมืองฝ่ายใต้
- จุดเปลี่ยนยุคนี้คืออะไร คือเดิมสมัยพระบรมไตรโลกนาถ แยกพลเรือนและทหารออกจากกัน โดยให้สมุหนายกดูแลฝ่ายพลเรือน และให้สมุหกลาโหมดูแลฝ่ายทหาร
- แต่สมัยพระเทพราชา แบ่งหัวเมืองเป็นเหนือใต้ แล้วให้สมุหนายกดูแลทั้ง ทหารและพลเรือนในฝ่ายเหนือ
- และเช่นเดียวกันให้สมุหกลาโหมดูแลทั้งทหารและพลเรือนในฝ่ายใต้
- วัตถุประสงค์เพื่อแยกกำลังทหารออกจากกันเป็นสองฝ่ายคานอำนาจกันเอง เพื่อลดความระแวงนั่นเอง ต้องแยกให้ชัดแล้วจะเข้าใจครับ
- และใช้มาจนปลายสมัยอยุธยาแม้มีการเปลี่ยนราชวงค์หลายครั้ง แล้วมีการลดอำนาจสมุหกลาโหมลง แล้วให้กรมพระคลังดูแลฝ่ายใต้แทน **เห็นจุดเปลี่ยนนะครับ** อำนาจทหารหลุดมือจากกลาโหมไปอยู่ที่กรมพระคลังแทน
สมัยรัตนโกสินทร์
- รัชกาลที่ 1 - 4 ให้อำนาจการบังคับบัญชาฝ่ายใต้ไปขึ้น กับกรมกลาโหมตามเดิม ( หัวเมืองเหนือใต้ยังอยู่นะครับตกมาถึงรัตนโกสินทร์ และได้อำนาจคืนในสมัยนี้ )
- หัวเมืองตะวันออก ตรงนี้โผล่มาปลายอยุธยาครับ ให้กรมพระคลังดูแล และรูปแบบการปกครอง สมัย ร.1 - ร.4 ก็หวนกลับไปสู่ยุคอยุธยาตอนปลายเช่นเดิม และผู้มีบทบาทเข้ามา จากอยุธยาตอนปลายคือ กรมพระคลัง
- สมัย รัชกาลที่ 5 สมัยนี้คือยุคเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ในยุครัตนโกสินทร์เช่นกัน
- การปกครองสมัยนี้ได้ปฏิรูปการปกครองทุกอย่างไปตามอย่างตะวันตก
- แบ่งการปกครองออกเป็น ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น
- ยกเลิกการปกครอง แบบจตุสดมภ์ ที่ติดมาแต่อยุธยาเสีย
- และทรงให้จัดตั้งกระทรวงขึ้นตามแบบตะวันตก 12 กระทรวง จุดเรื่มการปกครองสมัยใหม่เกิดในสมัย รัชกาลที่ 5 นี้ครับ
- สมัยรัชกาลที่ 6 ได้ปรับปรุงโครงสร้างบางประการเช่นเปลี่ยนแปลงกระทรวงบางกระทรวง แต่ยังคงยึดหลักแบบ สมัย รัชกาลที่ 5
ส่วนการปกครองภูมิภาค ให้รวม มณฑลหลายมณฑลเข้าเป็นภาค ( ภาคเกิดยุคนี้ครับ ) และให้ตั้งอุปราชให้เป็นผู้ปกครองภาคขึ้น และให้ขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ เพื่อลดอำนาจของกระทรวงมหาดไทยลง
- การปกครองท้องถิ่นสร้างเมืองจำลองขึ้น เรียกว่าดุสิตธานี
- สมัยรัชกาลที่ 7 ได้จัดตั้ง คณะกรรมการประชาภิบาลขึ้นในพ.ศ.2470เพื่อทำหน้าที่ดูแลงานด้าน สุขาภิบาลตามหัวเมืองต่าง
- พ.ศ.2476 คณะราษฎรได้ออกพระราชบัญญัติ เทศบาลขึ้น และบังคับใช้จนถึง 2496
- นี่คือวิวัฒนาการการเมืองการปกครองของไทยทั้งหมด เราจะเห็นจุดเปลี่ยน จุดต่าง รายละเอียดยิบย่อยอยู่ ให้ทำความเข้าใจครับ แล้วเราจะวิเคราะห์การเมืองที่เหลือได้ อย่างถูกหลักและแม่นยำ
กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์ การปกครองมหาวิทยาลัยรามคำแหง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น