กังวาล ทองเนตร

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา Pohthaiblogspot.com

วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

คอมมิวนิสต์คืออะไร

คอมมิวนิสต์คืออะไร และสอนอะไร




คาร์ล มาร์กซ์ เจ้าของ ทฤษฎีคอมมิวนิสต์ 


  • ถ้าเป็นสมัย ปี 14 ผมต้องโดนตัดคอข้อหาเป็นคอมมิวนิสต์แน่ที่นำลัทธิคอมมิวนิสต์ออกเผยแพร่ ผมมิได้ศรัทธาแนวทางคอมมิวนิสต์ แต่ก็ไม่ได้รังเกียจคอมมิวนิสต์ ในฐานะที่เรียนรัฐศาสตร์ เอกการปกครองก็ไม่อยากให้คนเข้าใจคอมมิวนิสต์ในความหมายที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้นจึงขอเสนอแนวทางคอมิวนิสต์พอสังเขป เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์การเมืองต่อไป


ลัทธิคอมมิวนิสต์ ต้นตำรับก็คือ


คาร์ล มาร์กซ์ นักสังคมวิทยาชาวเยอรมัน เชื้อสายยิว ปี ค.ศ.1818-1883


  • มื่อพูดถึงมาร์กซ์ จะละเลยบุคคลอีกผู้หนึ่งเสียไม่ได้ เพราะบุคคลนี้เป็นผู้มีอิทธิพลทางความคิดของ มาร์กซ์ นั่นคือ เฟรดริค เฮเกล Friedrich Hegel ค.ศ. 1770-1831 ตอนเป็นนักศึกษา มาร์กซ์ได้รู้จักกับ เฮเกลซึ่งเป็นศาสตราจารย์ชาวเยอรมัน และได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้สถาปนาสำนักปรัชญาชื่อ อุดมคตินิยมยุคใหม่ (Modern Idealism ) เฮเกลจัดเป็นนักปรัชญาในกลุ่มจิตนิยม เฮเกลให้ความสำคัญกับสภาวะทางนามธรรม หรือ ความคิดเป็นอย่างมาก
  • เขาถือว่าความคิดเป็นโครงสร้างส่วนล่าง ( Infra Structure ) มีอิทธิพลต่อความเป็นไปของโครงสร้างส่วนบน (super structure ) ส่วนบนคือ เศรษฐกิจ วัฒนธรรม สังคม รวมถึงสภาวะทางการเมืองการปกครอง
  •  มาร์กซ์ ได้รับอิทธิพลทางความคิดจากเฮเกล แต่เขามอง กลับกัน คือจากบนเป็นล่างจากล่างเป็นบน
  • มาร์ก เห็นว่า super structure ควรเป็นโครงสร้างพื้นฐานหรือส่วนล่าง ซึ่งจะมีอิทธิพล ต่อความคิดหรือเหตุผลของมนุษย์บางประการ
  • ปี 1949 มาร์กซ์ ทำงานกับหนังสือ ที่เยอรมันฉบับหนึ่ง แต่ข้อเขียนของเขา ทำให้หนังสือนั้นถูกปิดและถอนใบอนุญาต ต่อมาเขาไปศึกษาต่อที่ ปารีส และย้ายไปอยู่ที่อังกฤษ ตราบ วาระสุดท้ายของเขา
  • เฟรดริค เองเกล ป็นอีกบุคลหนึ่งที่มีความสำคัญกับมาร์กซ์ เพราะเป็นผู้ออกทุนให้ มาร์กซ์ในงานเขียนต่างๆ
  • ชีวิตของ มาร์กซ์ เป็นไปอย่าง ลุ่มๆ ดอนๆ ถึงขั้นไปสมัครเป็นเพียงเสมียน แต่ถูก ปฏิเสธ เพราะลายมือไม่สวย
  • งานเขียนที่สร้างชื่อและมีอิทธิพลต่อสังคมโลก ของมาร์กซ์ และเองเกล คือ....ทุน.. (capital )
  • และคำปฏิญญา คอมมิวนิสต์ หรือคำประกาศ คอมมิวนิสต์ ( Communist Manifesto ) มาร์กซ์ กล่าวว่า ความคิด และวัฒนธรรมทั่วไป มีอิทธิพลน้อย และมักจะถูกกระตุ้นโดย เศรษฐกิจ และ สังคมการเมือง 

  • คำกล่าวนี้กลับมีอิทธิพลอย่างมหาศาล ในรัสเซีย จนเกิดการก่อตัวขึ้นของขบวนการปฏิวัติ และนำไปสู่การ ปฏิวัติ รัสเซีย ในที่สุด


คำปฏิญญาคอมมิวนิสต์ มี 8 ประการ

1. การยึดที่ดินเป็นของรัฐและการใช้ค่าเช่าจากที่ดินเหล่านั้นเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของรัฐ ระหว่างที่ยังไม่บรรลุเป็นสังคมคอมมิวนิสต์
2. ภาษีเงินได้ที่เก็บเป็นอัตราส่วนที่สูงขึ้นเมื่อรายได้สูงขึ้น หรือภาษี ก้าวหน้า( Progressive Tax ) เช่น 3

หมื่น เก็บ ร้อยละ 10 มีรายได้ 5 หมื่น เก็บ 12 เป็นต้น

3. ยกเลิกสิทธิในมรดก

4. ให้มีศูนย์กลางสินเชื่อ โดยการจัดตั้ง ธนาคารของรัฐ

5. กิจการขนส่งเป็นของรัฐ

6. ให้รัฐเป็นเจ้าของโรงงานมากยิ่งขึ้นและให้มีการแบ่งสรรที่ดินใหม่

7. ให้เป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องทำงาน

8. ให้มีการศึกษาของรัฐแก่เด็กทุกคน และไม่ให้มีการใช้แรงงานเด็ก
  • จะเห็นได้ว่าปฏิญญาคอมมิวนิสต์ ก็เป็นความปรารถนาพื้นฐานบ้านๆของมนุษย์ทั่วไป แต่สมัยนั้นเป็นเรื่องใหญ่มาก
  • จากปฏิญญานี้ ที่เราเห็นชัดว่าโลกประชาธิปไตยไม่มีและนำมาใช้ เช่น ภาษีอัตรา ก้าวหน้า และ การศึกษา พื้นฐาน การคุ้มครองแรงงาน และระบบสหกรณ์ ล้วน เป็นของมาร์กซ์ แท้ๆ ทั้งสิ้น ดังนั้นโลกประชาธิปไตยที่รังเกียจคอมมิวนิสต์ก็เหมือนเกลียดตัวกินไข่
  • ลัทธิคอมมิวนิสต์ มองโลกในแง่ เปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ ซึ่งถูกผลักดันโดยพลังทางวัตถุ และพลังทางเศรษฐกิจ ซึ่ง มาร์กซ์เรียก ทฤษฎีของเขาว่า วิภาษวิธีทางวัตถุ ( Dialectical materialism )
  • หลักการใหญ่คือเปลี่ยนแปลงสังคมรวมถึงความคิด รูปแบบเนื้อหาสาระทางวรรณคดี สถาบันต่างๆ เป็นผลกระทบมาจากแรงผลักดันทางวัตถุโดยเฉพาะทางเศรษฐกิจ แรงกระตุ้นคือ การ ขัดแย้ง (รายละเอียดเรื่องนี้หาอ่านได้จากหนังสือที่ว่าด้วยลัทธิอำนาจนิยมเบ็ดเสร็จฝ่ายซ้าย

ตามทฤษฎีของมาร์กซ์ได้แบ่งโลกออกเป็นยุคต่างๆ ดังนี้


1. ยุคคอมมิวนิสต์แบบดั้งเดิม คือยุคดึกดำบรรพ์ที่ยังไม่มีความเจริญและอุตสาหกรรม ไม่มีสมบัติส่วนตัว

2. ยุคทาส

3.ยุคศักดินา

4.ยุคนายทุน หรือทุนนิยม

5.ยุคสังคมนิยมแบบคอมมิวนิสต์ มาร์กซ์ กล่าวว่าเมื่อสังคม พัฒนามาถึงยุคนี้ จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีก เป็นสังคมที่ทุกคนเท่าเทียม สังคมในอุดมคติ หรือ ยูโธเปีย ของ มาร์กซ์


  • โดยในแต่ละยุคจะมีคู่ขัดแย้งของมันเองในแต่ละยุค ซึ่งขอข้ามไป

สรุป คอมมิวนิสต์ ว่ากันตามหลักก็คือ อุดมการณ์ อุดมคติ ที่ผู้เขียนทฤษฎีคือ มาร์กซ์ อยากเห็น อยากให้เป็น อยากให้เกิดขึ้นในสังคม และถูกนำไปใช้เป็นแบบแผนทางสังคม ทั้งสังคมการเมือง การปกครอง ศาสนา การศึกษา วัฒนธรรม ฯลฯ

  • แต่การนำไปใช้ก็ขึ้นอยู่กับผู้นำไปใช้ตีความทฤษฎีเป็นอย่างไรเข้าใจทฤษฎีอย่างไร เช่นเลนิน นำไปใช้ที่รัสเซีย ก็ไปตีความปรับใช้ตามแบบเลนิน ผสมมาร์กซ์ จึงเรียก มาร์กซ์ - เลนิน เหมา เจ๋อตุง นำไปใช้ก็ไปปรับใช้แบบเหมา
  • ส่วนตัวผมศึกษาเอาแก่นสาระแท้ของแต่ละระบอบมาวิเคราะห์แยกแยะเอาข้อดีข้อเสีย ผมมีมุมมองส่วนตัวว่า การที่จะศรัทธาหรือไม่ศรัทธา ทฤษฎี ใด ก็ตาม ควรดู ปูมหลังผู้เขียนทฤษฎีประกอบ
  • มาร์กซ์ ก็เช่นกัน ผมมองว่า มาร์กซ์ ก็เป็นคนที่คิดดีคนหนึ่งต่อสังคม เขาเกิดในยุคที่กำลังปฎิวัติอุตสาหกรรม ยุคที่แรงงานถูกใช้เหมือนทาส ปัจจัยการผลิตต่างๆอยู่ในมือนายทุน สังคมไม่เท่าเทียม เขาจึงเกิดความคิด สังคมในอุดมคติของเขาเพื่อ ปลด พันธนาการเหล่านั้นของสังคม แต่ มาร์กเป็นนักวิชาการ ไม่ใช่นักการเมืองนักการทหาร สังคมยูโธเปียของเขาจึงถูกผู้อื่นนำไปตีความนำไปใช้ โดยที่ตัวเขาไม่มีส่วนร่วมใดๆเลย
  • ดังนั้นคำจำกัดความที่ว่า คอมมิวนิสต์คือพวกกินคน พวกป่าเถื่อน โหดร้าย ดูจะไม่ยุติธรรมสำหรับ มาร์กซ์ เท่าใดนัก ทั้งที่เขาเป็นเพียงผู้หวังดีต่อสังคม คอมมิวนิสต์คือชื่อที่ใช้เรียกในงานวิชาการของเขากลับถูกแปลงให้เป็นความน่าเกลียดน่ากลัว ผมในฐานะนักรัฐศาสตร์ หางแถวที่ร่ำเรียนรูปแบบการปกครองของโลกมาจึงขอถือโอกาสนี้ เสนอ หลักแท้ที่เป็นต้นแบบให้ได้อ่านเพื่อเข้าใจแนวทางกัน อาจผิดพลาดจากการพิมพ์ต้องขออภัย ณ ที่นี้ด้วย

กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์ เอกการปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง


.............................................................................................................................................................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น