ไดโอด ( DIODE )
ไดโอด เป็นอุปกรณ์อิเลคโทรนิคส์ชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในตระกูล สารกึ่งตัวนำ ( Semi-Conductor Diode )
ไดโอดตัวแรกถูกสร้างขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1902 โดยนาย เจ แอมโบรส เฟลมมิ่ง ( J.Ambrose Fleming ) มีลักษณะเป็นหลอดสูญญากาศ ภายในมีไส้หลอดเป็นตัวปล่อยอิเลคตรอนและแผ่นเพลทซึ่งเป็นตัวรับอิเลคตรอน อิเลคตรอนจะเคลื่อนที่มายังเพลทมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความต่างศักดิ์ระหว่างเพลทกับไส้หลอด
John Ambrose Fleming กับหลอดไดโอดที่เขาประดิษฐ์ขึ้น
คลิกดูประวัติที่นี่
- IEEE History Center biography
- Department of Electronic & Electrical Engineering, UCL - home of the original Fleming valve
- 100 Years of Electronics 2004 - The Centenary of the Fleming Valve
คุณสมบัติของไดโอด ไดโอดทำหน้าที่เป็นเหมือนสวิทซ์ทางไฟฟ้าในวงจร เมื่อให้ให้ฟอร์เวิร์ดไบอัส สวิทซ์นี้จะปิดวงจร แต่เมื่อใดที่เราป้อนไบอัสแบบรีเวิร์ด สวิทซ์ก็จะเปิดวงจร
หน้าที่ของไดโอดในวงจร
เรคติฟาย
ดีเทคเตอร์
การนำไดโอดไปต่อใช้งานจะต้องคำนึงถึง กระแส และแรงเคลื่อนไฟฟ้าเป็นหลัก
อาการเสียของไดโอด
ขาด วัดสลับข้างไม่ขึ้นทั้งสองครั้ง
ชอร์ท วัดแล้วสเกลมิเตอร์ขึ้นสุดสเกลทั้งสองครั้ง
การตรวจวัดไดโอด
ตั้งสเกลมิเตอร์ที่ R x 10 หรือ Rx 1K ก็ได้ โดยป้อนไบแอสให้ถูกข้าง โดยสายไฟบวก จากมิเตอร์ ต่อเข้ากับขั้วไดโอด ด้าน แอโหนด หรือขั้วบวก ส่วนสายลบจากมิเตอร์ ต่อเข้ากับขั้ว แคโถดจากไดโอด
ซึ่งถ้าไดโอดตัวนั้นมีสภาพดี เข็มมิเตอร์จะขึ้น และเมื่อนำสายมิเตอร์วัดสลับขาหรือป้อนแบบรีเวิร์ส เข็มมิเตอร์จะต้องไม่ขึ้น
สรุปไดโอดสภาพดีเมื่อวัดแล้วเข็มมิเตอร์จะต้องขึ้นหนึ่งครั้งเมื่อป้อนฟอร์เวิร์ด และไม่ขึ้นหนึ่งครั้งเมื่อป้อนรีเวิร์ส
ไดโอดมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด แต่มีหลักการป้อนไบแอสเหมือนกันไม่ต้องไปใส่ใจหน้าตา จำไว้ว่าไม่ว่ามันจะหน้าตาเช่นไร มันจะมีหน้าที่เหมือนกันหรือต่างกันเล็กน้อยก็เพียงแค่ไดโอดบางชนิดเท่านั้นที่ถูกสร้างมาเป็นกรณีเฉพาะดังรูปที่จะแสดงให้ดูด้านล่างนี้
นี่คือสัญลักษณ์ไดโอดแบบธรรมดา ด้านปลายลูกศร จะเป็นขั้วลบหรือ แคโถด ด้านต้นลูกศรจะเป็น อาโหนดหรือขั้วบวก ส่วนที่ตัวไดโอดของจริง ด้านลบหรือแคโถดจะแต้มแถบสีไว้ดังรูปด้านบน
นี่คือชอทต์กี้ไดโอด
เป็นไดโอดที่มีความไวและการทำงานสูงในวงจรที่เราไม่สามารถใช้ไดโอดธรรมดาได้ เราจะใช้ชอทต์กี้
นี่คือซีเนอร์ไดโอด( Zener Diode )
เป็นไดโอดที่ออกแบบมาเพื่อควบคุมแรงดันกระแสย้อนกลับไดโอดชนิดนี้ เราจะป้อนไบแอสเป็นแบบรีเวิร์สไดโอดตัวนี้จึงจะทำงาน
นี่เป็นสัญลักษณ์ของซีเนอร์คือตัวกลาง จำไว้ว่า ปลายลูกศรของสัญลักษณ์ไดโอดทุกตัวคือ แคโถด หรือไฟลบเข้า
การตรวจวัดไดโอดด้วยมิเตอร์แบบดิจิตอล
นี่คือมัลติมิเตอร์เวลาใช้งานควรเซ็ทซีโร่และปรับเร้งสเกลให้ถูกกับชนิดงานที่ใช้มิเช่นนั้นจะเกิดความเสียหายกับมิเตอร์ได้
** หมายเหตุ มัลติมิเตอร์ กับดิจิตอลมิเตอร์ จะต่างกัน เมื่อเราตั้งสเกลมิเตอร์ย่าน โอห์ม ดิจิตอลมิเตอร์ สายแดงจะเป็น ไฟบวกทุกกรณีทุกย่านสเกล แต่มัลติมิเตอร์เมื่อเราตั้งสเกลย่าน โอห์ม สายดำจะเป็น บวก สายแดงจะเป็น ลบ เนื่องจากย่านนี้ เราจะใช้ไฟจากแบตที่อยู่ในมิเตอร์ไหลออกมา เมื่อเราบิดสเกลย่านนี้ตำแหน่งจึงกลับเฟสกัน แดงเป็นลบ ดำเป็นบวก ส่วนย่านอื่นใช้ไฟจากข้างนอกไหลเข้ามิเตอร์ แดงเป็นบวก ดำเป็นลบ ปกติ ต้องจำให้ดีครับ มิเช่นนั้นเราจะวัดหาขาทรานซิสเตอร์ไม่ได้เลยถ้าเราพลาดตรงนี้ ***
แอลอีดี ( LED ) ไดโอด
แอลอีดีเป็นไดโอดอีกชนิดหนึ่ง LED ย่อมาจาก Light Emitting Diode หรือไดโอด เปล่งแสง เป็นไดโอดที่สามารถเปล่งแสงออกมาได้ด้วยคลื่นความถี่เดียวและมีเฟสต่อเนื่อง
โครงสร้างภายใน แอลอีดี
แอลอีดีประเภทต่างๆ
วาริแค็ป หรือ วาแรคเตอร์ ไดโอด ( Varicap or Varactor ) บางประเทศเรียกว่า วีวีซี ไดโอด
ไดโอดชนิดนี้จะถูกสร้างมาใช้งานแทน ซี และถูกสร้างมาเพื่อแก้ไขจุดอ่อนของไดโอดธรรมดาที่ทำจากสาร ซิลิกอน ซึ่เปรียบเหมือนแผ่นโลหะสองแผ่นวางชิดกันทำให้โลหะสองชิ้นนั้นเกิดช่องว่างสำหรับไดอิเลคตริค ซึ่งจะทำให้โลหะสองแผ่นนี้เกิดประจุทรานซิชั่นขึ้นมา
วาแร็คเตอร์ชนิดต่างๆ
สัญลักษณ์ของวาริแค็ป หรือวาแร็คเตอร์
ไดโอดธรรมดาทั่วไป
สัญลักษณ์ของไดโอดชนิดต่างๆ
กังวาล ทองเนตร
ช่างอิเลคทรอนิคส์ แผนกวิทยุ โทรทัศน์ ขาวดำ โรงเรียน แสงทองอิเลคทรอนิคส์
ช่างอิเลคทรอนิคส์ แผนกโทรทัศน์สี วีดีโอ เลเซอร์ดิสก์ โรงเรียนช่างเทคนิคเทพนิมิตร ( เทคนิคไทยญี่ปุ่น )
รัฐศาสตร์ภาควิชาการปกครองมหาวิทยาลัยรามคำแหง การสื่อสารมวลชน คอมพิวเตอร์กราฟฟิคดีไซน์ มัลติมิเดียส์ สถาบันคอมพิเตอร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น