กังวาล ทองเนตร

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา Pohthaiblogspot.com

วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ต้นกำเนิดภาษาไทย






อย่าลืมเมืองไทย เพลิน พรมแดน


ต้นกำเนิดภาษาไทย

ภาษาไทยแต่เดิมมีลักษณะเป็นภาษาคำโดด

จัดอยู่ในตระกูล ไทย-จีน ต่อมาภาษาไทยที่ใช้กันอยู่แถบสุวรรณภูมินี้มีภาษาอื่นเข้ามาผสมด้วย เช่น บาลี-สันสกฤต เขมร มอญ ฯลฯ จึงทำให้ภาษาไทยที่ใช้มีเสียงเพี้ยนไปจากเดิมเป็นอย่างมาก

ภาษาพูด

คนไทยมีภาษาพูดเป็นของตนเองมาเป็นเวลาช้านาน และสามารถรักษาภาษาของตนเองไว้มาตราบปัจจุบันนี้

ลักษณะเด่นของภาษาไทย

1. มีตัวอักษรเป็นของตนเอง มีวิวัฒนาการเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ
     
      1.1 . เสียงแท้มี   24 เสียง ใช้รูปสระ 32 รูป
      1.2. เสียงแปร มี 21 เสียง ใช้รูปพยัญชนะ 44 ตัว
      1.3. เสียงดนตรี หรือเสียงวรรณยุกต์ มี 5 เสียง ใช้รูปวรรณยุกต์ 4 รูป

2. ภาษาไทยเป็นคำพยางค์เดียวหรือภาษาคำโดด เป็นคำที่มีอิสระในตัวเอง ไม่ต้องเปลี่ยนรูปคำเมื่อนำไปใช้ในประโยค สามารถฟังเข้าใจได้ในทันที เช่น

คำกริยา (อ่านว่า กริ-ยา ไม่ใช่ กะ-ริ-ยา )    เช่น   กิน นอน เดิน นั่ง ไป มา ฯลฯ
คำที่ใช้เรียกเครือญาติ                                 เช่น    ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา หลาน ฯลฯ
คำเรียกชื่อสัตว์                                              เช่น   นก หนู หมู แมว หมา กา ไก่ ม้า วัว ควาย ฯลฯ
คำที่ใช้เรียกสิ่งของ                                       เช่น   บ้าน เรือน ไร่ นา มีด พร้า ผ้า ขัน หม้อ ไห จาน ชาม ฯลฯ
คำที่ใช้เรียกอวัยวะ                                        เช่น   แขน ขา ตา หู มือ ตีน ปาก เป็นต้น

3. ภาษาไทยแท้จะมีตัวสะกดตามมาตรา ซึ่งมีทั้งหมด 8 มาตราดังนี้

     3.1. แม่ กก     ใช้ ก   สะกด   เช่น     นก ยาก มาก เด็ก ฯลฯ
     3.2. แม่ กด    ใช้ ด   สะกด    เช่น     ผิด คิด ติด อด มด ลด ฯลฯ
     3.3. แม่ กบ    ใช้ บ   สะกด    เช่น     กบ ตบ ตับ รับ คาบ ฯลฯ
     3.4. แม่ กง     ใช้ ง    สะกด    เช่น    ขิง ชิง ชัง ขัง ถัง คาง หาง ฯลฯ
     3.5. แม่ กน     ใช้ น   สะกด    เช่น    ขน ทน หัน มัน คัน ปัน ถอน ฯลฯ
     3.6. แม่ กม     ใช้ ม   สะกด    เช่น    คม ดม ถม สม ยาม งาม หาม ฯลฯ
     3.7. แม่ เกย     ใช้ ย  สะกด    เช่น    ตาย ยาย หาย ขาย เลย เคย ฯลฯ
     3.8. แม่ เกอว   ใช้  ว  สะกด   เช่น    วิว ทิว สาว ขาว เร็ว เอว ฯลฯ

4.คำคำเดียวในภาษาไทยมีหลายหน้าที่ในประโยค และมีหลายความหมาย ในหลักภาษาไทย เช่น 
คำพ้องรูป คือ คำที่ มีรูปเหมือนกัน แต่อ่านไม่เหมือนกัน เช่น
 เพลา (อ่านว่า เพลา ) และ เพลา ( อ่านว่า เพ-ลา แปลว่า เวลา ) และคำพ้องเสียง

ตัวอย่างประโยค คำที่มีความหมายต่างกัน แต่เขียนเหมือนกัน

 ไก่ขันยามเช้า
  เขาเป็นคนมีอารมณ์ขัน
  เธอนำ ขัน ไปตักน้ำ (คำว่า ขัน ) 




  • ขัน ในประโยคที่หนึ่ง ทำหน้าที่เป็น กริยา แสดง อาการของไก่ 
  • ขันในประโยคที่ สอง เป็นคนมีอารมณ์สนุกสนาน 
  • ขัน ในประโยคที่ สาม หมายถึง ภาชนะหรือสิ่งของ ที่ใช้ตักน้ำ 


5. ภาษาไทยเป็นภาษา เรียงคำ ถ้าเรียงคำ สับที่ ความหมายจะเปลี่ยนไป เช่น




  • เธอเป็นน้องเพื่อน ไม่ใช่เพื่อนน้อง 
  • เธอเป็นคนขี้เล่น
ประโยคในภาษาไทยจะเรียงลำดับ ประธาน กริยา กรรม

6.ภาษาไทยมีคำตามหลังจำนวนนับ ซึ่งเรียกว่าลักษณะนาม เช่น




  • กางเกง 2 ตัว 
  • มุ้ง 2 หลัง 
  • แคน 2 เต้า 
  • ปากกา 2 ด้าม เป็นต้น
คำว่า หลัง เต้า ด้าม เป็นลักษณะนามที่บอกจำนวนนับสิ่งของ


7.ภาษาไทย เป็น ภาษาดนตรี กล่าวคือมีการเปลี่ยนแปลงระดับเสียงได้ เรียกว่า วรรณยุกต์ ทำให้ภาษาไทยมีลักษณะพิเศษ ทำให้มีคำใช้มากขึ้น  เช่น 


  • สัน สั่น สั้น 
  • ขาว ข่าว ข้าว 
เมื่อเราเปลี่ยนเพียงแค่ วรรณยุกต์จะทำให้ความหมายเปลี่ยนไปทันที

8. ภาษาไทยมีคำพ้องเสียง พ้องรูป คำพ้องเสียงคือคำที่ ออกเสียงเหมือนกัน แต่ความหมายและการเขียนต่างกัน เช่น

  • การ หมายถึง กิจ การ ธุระ 
  • กาน หมายถึง ตัดให้เตียน 
  • กาฬ หมายถึง ดำ 
  • กาล หมายถึง เวลา 
  • กานต์ หมายถึง เป็นที่รัก เป็นต้น

9. ภาษาไทยมีการสร้างคำ ภาษาไทยจะมีการสร้างคำใหม่อยู่เสมอ เช่น


  • สร้างคำจากการแปรเสียง เช่น ชุ่ม เป็น ชอุ่ม 
  • สร้างคำจากการเปลี่ยนเสียง เช่น วิธี เป็น พิธี วิหาร เป็น พิหาร 
  • สร้างคำจากการประสมคำ เช่น ตู้-เย็น เป็น ตู้เย็น 
  • สร้างคำจากการเปลี่ยนตำแหน่งคำ เช่น ไก่ไข่ เป็น ไข่ไก่ 
  • สร้างคำจากการเปลี่ยนความ เช่น นิยาย เป็น เรื่องที่เล่าต่อๆกันมา 
  • สร้างคำจากการนำคำในภาษาอื่นมาใช้ เช่น ก๋วยเตี๋ยว เต้าหู้ เสวย 
  • สร้างคำจากการคิดตั้งคำขึ้นมาใหม่ เช่น โทรทัศน์ โลกาภิวัฒน์ หน่อมแน้ม สก๊อย เป็นต้น

10. ภาษาไทย มีสร้อยเสริมบท เพื่อให้พูดให้เสียงรื่น และสะดวกปาก หรือให้เกิดจังหวะน่าฟัง เรียกว่า คำสร้อย หรือคำอุทานเสริมบท เช่น


  • ฉันไม่เออ ออ ห่อหมก ด้วยหรอก (ห่อหมกเป็นคำสร้อยเสริมบท )
จากข้อ 1-10คือลักษณะเด่นของภาษาไทย

พระยาอนุมานราชธน ได้แบ่งภาษาไทยออกเป็น 4 สาขาใหญ่ๆคือ

  1. ไทยภาคกลาง ได้แก่ภาษาไทยที่พูดกันอยู่ในขณะนี้
  2. ไทยจีน ได้แก่ภาษาไทยที่พูดกันอยู่ในชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ในประเทศจีน
  3. ไทยตะวันตก ได้แก่ภาษาไทยที่พูดกันในชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ในประเทศพม่า หรือเมียนม่าร์
  4. ไทยตะวันออก ได้แก่ภาษาไทยที่พูดกันในหมู่ชนกลุ่มน้อยที่สืบเชื้อสายชนชาติไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศเวียตนาม

ภาษาเขียน

ยอร์ช เซเดส์ ( George Coedès )

ยอร์ช เซเดส์   ( George Coedès ) ศาตราจารย์ชาวฝรั่งเศส ได้ศึกษาถึงความเป็นมาของภาษาเขียนในภาษาไทยไว้ว่า
การใช้ภาษาเขียนในภาษาไทยนั้นมีมาก่อนที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชจะทรงประดิษฐ์อักษรไทย (ลายสือไทย ) มานานแล้ว 
โดยเขาได้กล่าวว่า ภาษาเขียนของไทยได้รับอิทธิพลมาจากภาษาเขียนของ มอญโบราณ ดังจะเห็นได้จากลักษณะของอักษร อาหม ลื้อ ผู้ไทยเมืองสิบสองปันนา ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันซึ่งเป็นกลุ่มชนชาติพันธุ์ไทย 

ซึ่งเมื่อเทียบกันแล้วมีลักษณะคล้ายอักษรของพวก มอญเก่า อยู่มาก
จึงกล่าวได้ว่าคนไทยในยุคก่อนกรุงสุโขทัยมีความใกล้ชิดกับชนชาติมอญ และได้นำอักษรมอญโบราญ มาดัดแปลงเป็นตัวเขียนในภาษาไทย 

โดย ศาตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ เรียกว่า อักษรไทยเดิม และเมื่อ ขอม ได้แผ่อิทธิพลเข้ามาในหมู่ชนชาติไทย คนไทยในยุคสมัยนั้น จึงได้นำอักษร ขอมหวัด มาใช้ในภาษาเขียนของตนเองบ้าง

จนปี พ.ศ.1826 พ่อขุนรามคำแหงมหาราช จึงได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นมาใช้เสียใหม่ โดย ดัดแปลง ดัดแปลงมาจากอักษรขอมหวัด เพื่อให้สามารถเขียนได้สะดวกขึ้นกว่าอักษรขอมหวัด ด้วยการตัดหนามเตยทิ้งเสีย หรือบางตัวก็ดัดแปลงหนามเตยรวมเข้ากับพยัญชนะ ทำให้ไม่ต้องยกมือกลางคัน ระหว่างเขียนพยัญชนะตัวนั้น

พ.ศ. 1826 พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นมาทั้งหมด 39 ตัวอักษร โดยส่วนใหญ่ได้ดัดแปลงมาจาก อักษรขอมหวัด โดยได้ตัดหนามเตยออกแต่ก็มีอักษรที่พระองค์สร้างขึ้นมาใหม่ซึ่งไม่มีในภาษา มอญ และขอมหวัด และภาษาอื่น เช่น
อักษรมี  ข ต ฎ ด บ ป ฝ ฟ ศ อ 
สระที่สร้างขึ้นมาใหม่ก็มีเช่น  ะ า ิ ี ื ุ ู เ แ ใ ไ โ เ-า อำ 


 อักษรขอมบรรจง

 อักษรมอญ





อ้างอิง

กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์ ภาควิชาการปกครองมหาวิทยาลัยรามคำแหง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น