ไอซี ไมโครโปรเซสเซอร์
ไอซี ( IC )
- ไอซี เป็นอุปกรณ์ ที่เป็นพระเอก ที่แท้จริง ในวงจรอิเลคทรอนิคส์ ซึ่งรวมเอาคุณสมบัติของอุปกรณ์ประเภทที่เป็น เซมิคอนดัคเตอร์นำมารวมไว้ในที่เดียวกัน เช่น หลอดสูญญากาศ ไดโอด ทรานซิสเตอร์ เป็นต้น พัฒนามาเป็น ไอซี ที่มีประสิทธิภาพสูงในการทำงานและมีความผิดพลาดน้อย
- ไอซี IC ย่อมาจาก Integrated Circuit ภายในโครงสร้างของตัวไอซี จะเป็นวงจรสำเร็จรูปหรือเป็นวงจรที่นำเอาการทำงานของสารกึ่งตัวนำมาไว้ที่เดียวกันดังที่กล่าวมาแล้ว การเกิดขึ้นของไอซีทำให้อุปกรณ์ อิเลคทรอนิคส์ต่างๆมีขนาดเล็กลงและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
ไอซี
- ที่ใช้งานในปัจจุบันมีอยู่หลายประเภทตามแต่การใช้งาน เช่น แบบ ทีทีแอล ซีมอส พีมอส เพาเวอร์แอมป์ เร็กกูเลเตอร์ ไฮโวลท์ ออปแอมป์ ไทม์มิ่ง ไมโครโปรเซสเซอร์ เป็นต้น
- พวกที่ทำงานในลักษณะของสวิทซ์
- พวกที่ทำงานในลักษณะของสัญญาณเชิงเส้น
หรือพูดให้ชัดก็คือ เป็นแบบ
- ลิเนียร์ ( Linear ) หรือ อะนาล็อก ( Analog )
- และแบบดิจิตอล ( Digital ) นั่นเอง
- การทำงานของ ไอซีแบบลิเนียร์หรือ อะนาล็อก จะทำงานเชิงเส้น และมีความต่อเนื่อง สามารถขยายกำลังแก่สัญญาณได้ จึงมักนิยมใช้ในวงจรขยาย วงจรควบคุมที่ต้องการกำลัง วงจรสื่อสาร และเครื่องรับวิทยุทั่วไป
- ผมจะเปรียบให้เห็นภาพลักษณะการทำงานของไอซีประเภทนี้ จะเหมือนงูเลื้อย หรือกาต้มน้ำ จะค่อยๆเดือดไปทีละนิดๆและเพิ่มสมรรถนะไปเรื่อยๆอย่างต่อเนื่องและเป็นลำดับขั้น
- ส่วนดิจิตอล ไอซี ดิจิตตอล มาจากคำว่า ดิจิต หรือตัวเลขนั่นเอง จะทำงานในลักษณะของสวิทซ์ คือปิดเปิด ปิด เปิด ตลอดเวลา หรือแบบ กบกระโดด ดังนั้น รหัสการป้อน ลอจิกให้ไอซีชนิดนี้ จึงเป็นแบบ เลข 0 (ศูนย์ ) และเลข 1 เราจะสังเกตุเหตุเบอร์โทรศัพท์เราที่เป็นดิจิตอล เป็น 01 ก็มาจากรหัสสัญญาณนาฬิกาจากคริสตอลที่ป้อนให้กับ ไอซี นี่เอง
- กล่าวคือ จะมีการ ปิด เปิดๆๆๆ อยู่อย่างนี้ตลอดเวลา จะขาดความต่อเนื่อง ดังนั้นเมื่อเราใช้โทรศัพท์ประเภทนี้เราจึงได้ยินเสียงสัญญาณดังขาดๆหายๆอยู่เป็นนิด ก็สาเหตุมาจากคุณสมบัติของไอซี
- แต่ข้อดีคือ มีความสามารถในการคำนวณ การประมวลผลที่รวดเร็วขนาดเล็กประหยัดพื้นที่ มีความจุความจำที่ดีกว่าแบบลิเนียร์
กังวาล ทองเนตร
ไอซีประเภทต่างๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น