กังวาล ทองเนตร

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา Pohthaiblogspot.com

วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

คาปาซิเตอร์Capacitorsคืออะไร




 คาปาซิเตอร์ หรือ คอนเดนเซอร์ ( Capacitor or Condenser )

คาปาซิเตอร์ หรือคอนเดนเซอร์ เรียกย่อๆว่า ซี ( C ) คืออุปกรณ์อิเลคโทรนิคส์ชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในแผงวงจรอิเลคทรอนิคส์  ซึ่งต่อไปนี้ผมจะเรียกว่า ซี ( C ) 

คอนเดนเซอร์หรือ ซี ทำหน้าที่ในวงจรคือ เก็บประจุไฟฟ้า และคลายประจุไฟฟ้า 
( Charge and Dis-charge ) ให้กับวงจร

ซีที่นำมาใช้งานแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

1.ฟิกซ์คาปาซิเตอร์ ( Fix Capacitor )

เป็นคาปาซิเตอร์ที่มีค่าความจุคงที่ใช้ได้กับไฟเอซี หรือไฟฟ้ากระแสสลับ และไฟฟ้า ดีซี หรือไฟฟ้ากระแสตรง ค่าความจุต่ำสุดไม่เกิน 1 uf  ( ไมโครฟาหรัด ) คาปาซิเตอร์ชนิดนี้ไม่มีขั้ว บวก หรือขั้วลบจะต่อใช้งานอย่างไรก็ได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงขั้วไฟฟ้า แต่ควรคำนึงถึงค่าความจุและการทนกระแสและแรงดันโวลท์เป็นสำคัญ ซีนิดนี้เราเรียกชื่อตามวัสดุที่นำมาทำคือ ไดอีเลคตริค ( Dielectric )



  • ไดอิเลคตริคแบบต่างๆ เรามักเรียกชื่อตามโครงสร้างและวัสดุที่นำมาสร้าง ตัวบนนี้เรียกว่า แบบเซรามิค ตัวเลข 154 คือค่าความจุของซีตัวนี้ เลข1 คือ 1 เลข 5 คือ 5 เลข 4 คือ 0 (ศูนย์ ) จำนวน 4 ตัวเมื่อถอดรหัสออกมาจะได้ค่า 150000 พิโคฟาหรัด เราต้องแปลงหน่วยให้ใหญ่ขึ้นโดยนำ 1000 มาหารให้หน่วยใหญ่ขึ้นเป็นไมโคร ก็จะได้ 150 ไมโครฟาหรัด

ไดอิเลคตริค อีกชนิดหนึ่ง เราเรียกว่า ไมล่า ซึ่งจะพิมพ์ค่าความจุไว้ที่ตัว ซี เช่นเดียวกับแบบเซรามิค



โครงสร้างภายใน ไดอิเลคตริคซี แบบกระป๋อง


ไดอิเลคตริคชนิดนี้ นักเล่นเครื่องเสียงจะคุ้นเคยตาดี เพราะมักจะถูกนำมาต่อในชุดครอสเน็ตเวิร์คของลำโพงที่มีคุณภาพสูง


2.อิเลคโตรไลติคคาปาซิเตอร์ ( Electrolytic Capacitor )

  • ซี ชนิดนี้มีค่าความจุมากกว่า 1 ไมโครฟาหรัดขึ้นไป และมีขั้วบวกขั้วลบ คงที่ การต่อใช้งานต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง ควรต่อให้ถูกขั้ว บวก และลบ มิเช่นนั้นจะเกิดการระเบิด เป็นอันตรายต่อตัวเองและเสียหายต่อวงจรได้ ซีชนิดนี้ใช้ได้กับไฟดีซี หรือไฟกระแสตรงเท่านั้น
  • **บางคนอาจมีข้อสงสัยสัยว่า แล้วที่เห็นต่อในวงจรและเครื่องใช้ไฟฟ้าก็เสียบไฟ เอซี กระแสสลับ ซีตัวนี้แม้จะในวงจร แต่ก็จะอยู่ในภาคส่วนของไฟเอซีที่ผ่านการฟิลเตอร์ให้เรียบเป็นดีซีแล้วเท่านั้น อยู่หลังวงจรเรคติฟาย ทั้งสิ้น คือกระแสไฟเอซี ผ่านการฟิลเตอร์ให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรงมาแล้ว ดังนั้นควรทำความเข้าใจ

  • ด้านที่เป็นขั้วลบของซีชนิดนี้มักจะแต้มสีเอาไว้ หรือ พิมพ์เป็นรูปลูกศรไว้ที่ด้านข้างกระป๋อง แสดงว่าด้านนั้นเป็นขั้วลบ ดังรูป ด้านล่าง


ค่าความจุ 1000 ไมโครฟาหรัด ทนกระแสและแรงดัน 10 โวลท์ ดังรูป



ด้านที่เห็นแต้มสีนี้จะเป็นขั้วลบ





อิเลคโตรไลติคขนาดต่างๆ จะสังเกตุเห็นว่า ซีชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นกระป๋อง


เมื่่อเราผ่าดูโครงสร้างภายใน

แทนทาลั่ม เป็นอิเลคโตรไลติคอีกชนิดหนึ่ง




แทนทาลั่มจัดเป็น ซีคุณภาพสูง โครงสร้างทำมาจากแร่ แทนทาลั่ม จึงเป็นที่มาของชื่อ


3.วาริเอเบิ้ลคาปาซิเตอร์ (Variable Capacitors )

เป็นคาปาซิเตอร์ ที่มีลักษณะพิเศษคือ เปลี่ยนแปลงค่าความจุได้ ประกอบด้วยแผ่นโลหะหลายๆแผ่นตรึงติดอยู่บนแกนหมุนไปมาได้ตามการปรับ ซึ่งการหมุนก็คือการปรับค่าสูงต่ำตามค่าความจุสูงสุดหรือต่ำสุดตามที่ระบุไว้ ลักษณะจะคล้ายกับ อาร์ปรับค่าได้ ดังรูปด้านล่าง





วาริเอบิ้ล หรือซี ปรับค่าได้ชนิดต่างๆ


4.ทริมเมอร์ หรือ แพดเดอร์ (Trimmer or Padder ) 

เป็นคาปาซิเตอร์ที่สามารถปรับค่าความจุได้ โครงสร้างประกอบด้วยแผ่นโลหะ สองแผ่นประกบซ้อนกันคั่นกลางด้วยแผ่นไมก้าและสกรูยึดตรงกลางเพื่อปรับค่าให้แผ่นโลหะทั้งสองประกบซ้อนกันมากหรือน้อยก็จะได้ค่ามากหรือน้อยตามการปรับ
ซี ชนิดนี้ เมื่อนำไปต่ออันดับกับวงจรเราจะเรียกว่า แพดเดอร์ แต่เมื่อนำไปต่อขนานกับวงจรเราจะเรียกว่า ทริมเมอร์ ดูรูปด้านล่าง






ทริมเมอร์หรือแพดเดอร์แบบต่างๆ


ลักษณะของแผงวงจรหรือเซอร์กิต ที่บอกตำแหน่งและคุณสมบัติของอุปกรณ์แต่ละชนิดว่าทำหน้าที่อย่างไรตำแหน่งอะไร







การทำงานของคาปาซิเตอร์

  • เมื่อต่อเข้ากับไฟดีซีอิเลคตรอนจากแบตเตอรีจะไหลเข้าแผ่นโลหะด้านหนึ่งเมื่อจำนวนอิเลคตรอนมีจำนวนมากขึ้นจะเกิดการเหนี่ยวนำและไหลผ่านไปที่แผ่นโลหะอีกด้านหนึ่งและเคลื่อนที่ไปยังขั้วของแบต อีกขั้วหนึ่งจังหวะนี้เราเรียกว่า ซี เก็บประจุ หรือ ชาร์จ


การต่อแบบอันดับหรืออนุกรม  
  • จะทำให้ค่าความจุลดลง แต่อัตราการทนโวลท์สูงขึ้นเท่ากับโวลท์ทุกตัวรวมกัน


การต่อแบบขนาน 
  • จะได้ค่าความจุเพิ่มขึ้นเท่ากับค่าความจุของทุกตัวรวมกัน แต่อัตราการทนโวลท์จะเหลือเท่ากับ ซีที่มีการทนโวลท์ได้น้อยที่สุด เช่น เราใช้ ซี 10 ตัว มีค่าความจุเท่ากันทุกตัวคือ 10 ไมโครฟาหรัด เราก็จะได้ค่าความจุเป็น 100 ไมโคร แต่ถ้าใน10 มีค่าทนโวลท์เท่ากันทั้ง 10 คือ16 โวลท์ ค่าการทนโวลท์ทั้ง 10ตัวก็เหลือแค่ตัวเดียวคือ 16 โวลท์ หรือใน 10 ตัวมี ตัวหนึ่งค่าทนโวลท์ 6 โวลท์อยู่หนึ่งตัว ดังนั้นค่าทนกรแสของ ซี 10 ตัวจะเหลือเท่าค่าทนโวลท์ตัวที่น้อยที่สุด คือ 6 โวลท์เท่านั้น


การต่อแบบผสม 
  • ผลที่ได้เท่ากับผลการต่อแบบอันดับและแบบผสมรวมกัน


หน้าที่ของ ซี ในวงจร
  1. ฟิลเตอร์  (Filter )  หรือการกรองกระแสไฟดีซีให้เรียบ
  2. การคับปลิ้ง ( Coupling ) คือการเชื่อมโยงและถ่ายทอดสัณญาณระหว่างวงจร
  3. การออสซิเลท ( Oscillate ) คือการสร้างความถี่
  4. การบายพาส ( By Pass ) คือการกรองความถี่สูง


คุณสมบัติของคาปาซิเตอร์

อมให้ไฟดีซีที่ไม่คงที่หรือไม่เรียบ ผ่านได้ แต่ไม่ยอมให้ไฟดีซีที่เรียบผ่าน
ซีที่ค่าน้อยยอมให้ความถี่สูงผ่านได้ง่าย ซีค่าความจุมากยอมให้ความถี่ต่ำผ่านได้ง่าย และคุณสมบัติเฉพาะตัวอื่นๆที่กล่าวมาแล้วแต่ข้างต้น







อาการเสียของ ซี หรือคาปาซิเตอร์


  1. ชอร์ท ใช้มิเตอร์วัดจะเห็นเข็มมิเตอร์ขึ้นจนสุดสเกลทั้งสองครั้ง (สลับขา )
  2. ขาด วัดแล้วเข็มมิเตอร์ไม่ขึ้นเลยทั้งสองครั้ง
  3. รั่ว วัดแล้วเข็มมิเตอร์ขึ้น แต่เวลาลงลงไม่สุดสเกลทั้งสองครั้ง
  4. ไมโครแห้ง หรือค่าความจุลดลง ให้วัดเทียบกับ ซีที่มีสภาพดีเข็มมิเตอร์จะขึ้นน้อยกว่า หรือทดสอบการทำงานในวงจรโดยนำซีค่าเท่ากันต่อคร่อมกับตัวที่เราสงสัยว่าจะเสียในวงจรขณะทำงานอาการที่แสดงที่โหลดจะต้องดีขึ้นแต่ถ้าซีตัวนั้นไม่เสียเมื่อเรานำตัวดีมาต่อคร่อมแล้ว อาการจะยังคงเป็นเหมือนเดิม
  5. ระเบิด เกิดจากการนำซีที่มีการทนโวลท์ต่ำไปต่อในวงจรที่มีแรงไฟสูง หรือเกิดจากการต่อขั้ว บวก-ลบ ผิด





กังวาล ทองเนตร 

ช่างอิเลคโทรนิคส์ แผนก ช่างวิทยุ โทรทัศน์ขาวดำ จาก แสงทองอิเลคทรอนิคส์
ช่างอิเลคทรอนิคส์แผนกโทรทัศน์สี วีดีโอเลเซอร์ดิสก์ จากโรงเรียนเทคนิคเทพนิมิตร 
(เทคนิคไทยญี่ปุ่น ) รัฐศาสตร์ภาควิชาการปกครองมหาวิทยาลัยรามคำแหง การสื่อสารมวลชน คอมพิวเตอร์มัลติมิเดียส์ กราฟฟิคดีไซน์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

2 ความคิดเห็น:

  1. นำตัว C มีขั้ว ต่อกับลำโพงให้เสียงแหลมขึ้น ต้องต่ออย่างไร

    ตอบลบ
  2. เราใช้หลักการคุณสมบัติของ ซี ครับ คือ ซีค่าน้อยยอมให้ความถี่สูงผ่านได้ดี ซีค่ามากยอมให้ความถี่ต่ำผ่านได้ดี
    ดังนั้นแสงแหลมก็คือความถี่สูง ซึ่งจะออกจากลำโพงทวีตเตอร์ การที่เราใช้ ซีมาต่อที่ลำโพงทวีตเตอร์ก็เพื่อกรองหรือกั้นความถี่ต่ำไม่ให้ผ่าน ให้ผ่านเฉพาะเสียงแหลมหรือความถี่สูง

    ใช้ซีแบบ อิเลคโตรไลติค ต่อที่สายบวกของขั้วซี ด้านลบ จากนั้น ใช้ขา ซีด้านขั้วบวก บัดกรีเข้ากับขั้วบวกของลำโพง แล้วลองฟังเสียงดูครับ ถ้าไม่พอใจก็ลอง สลับขาบัดกรีใหม่ได้ครับ กรณีที่ลำโพง เป็นเพียงสัญญาณเสียง ไม่ใช่ไฟฟ้าจึงไม่มีอันตราย ข้อดีคือมันป้องกันลำโพงเราได้ด้วยเวลาไฟฟกระชาก ซีจะขาดก่อนวอยส์ แต่ต้องใช้ ซีค่าต่ำครับ ไม่ควรเกิน 10 ไมโคร แต่ถ้าจะให้ได้คุณภาพเสียงจริงๆต้องใช้ชุดครอสโอเวอร์เน็ตเวิร์ค แบบ 3 ทางครับ ที่แยกเสียง ต่ำ กลาง สูง จากกันชัดเจน ถ้าเรามีลำโพง 3 ทางผมแนะนำวิธีนี้ครับเพราะราคาก้ไม่แพงมีตั้งแต่ไม่ถึงร้อย ถึงไม่กี่ร้อย ผมว่าคุ้มค่ากับเสียงที่ได้ครับ

    แต่อีกปัจจัยที่สำคัญคือสายนำสัญญาณครับควรมีคุณภาพ และสายเสียงแหลมต้องไม่ยาวมากเมื่อเทียบกับเสียงต่ำ มิเช่นนั้นจะให้เสียงไม่ตรงกันครับ เช่นเบสมาก่อนแหลมมาช้า หรือแหลมเร็วไปเบสช้ามากเหมือนดนตรีคนละวง ต้องหัดสังเกตุและลองดูครับ

    ตอบลบ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น