กังวาล ทองเนตร

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา Pohthaiblogspot.com

วันจันทร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2555

สู้แล้วได้อะไร


เวทีสนามศุภฯเป็นชุมนุมครั้งที่2 ภายใต้ชื่อ นปช.ที่มีเสื้อแดงเป็นสัญลักษณ์


มีหลายคนถามผมว่า สู้แล้วได้อะไร และผมยังแดงอยู่หรือไม่

ถ้าถามว่าสู้แล้วได้อะไรผมตอบได้ 2 อย่างคือ 

1. ตาย

2. ความเจ็บปวด


  • การต่อสู้ที่อีกฝ่ายมีอาวุธหนักอยู่ในมือ ผลมันมักจะออกมาเพียง สองด้านเท่านั้นคือ ตายในสนามนั้น และรอดออกมาอย่างเจ็บปวด ทั้งร่างกายและจิตใจ


  • ผู้ที่ตายไป ผลกระทบที่ตามมาคือ ครอบครัวเดือดร้อน เป็นอยู่อย่างลำบาก ญาติพี่น้องโศกเศร้าเสียใจ


  • ส่วนผู้ที่รอด ก็ได้ความเจ็บปวดจากการเห็นพี่น้องล้มตายต่อหน้า เห็นสถานะการณ์ที่เลวร้ายเกิดขึ้นต่อหน้าโดยชีวิตนี้ไม่มีทางลืมเลือนมันได้ และความเจ็บปวดต่อมาคือ เจ็บปวดจากความผิดหวังจากแกนนำทั้งหลายที่ไม่สนใจใยดี หลายคนติดคุกตาราง หลายคนพิการสูญเสียอวัยวะ สูญเสียศักยภาพไป เหล่านี้ล้วนเป็นความเจ็บปวดของผู้ที่รอด


  • ผมรอดครั้งที่ 1 จากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ปี 2535 เมื่อผมรอดผมจึงมีความเจ็บปวดจากเหตุการณ์นั้น ผู้นำขบวนในยุคนั้นได้ดิบดี ประชาชนผู้เดินตามได้ตาย และติดคุก เป็นความเจ็บปวดที่เห็นมาทุกยุค 

  • รอดตายครั้งที่ 2 จากเหตุการณ์เมษาเลือด คราวนี้ผมแค่ถูกปิดล้อมที่ทำเนียบรัฐบาลแต่ก็มีพี่น้องบาดเจ็บล้มตายที่สามเหลี่ยมดินแดง

  • รอดตายครั้งที่ 3 จากคืนวันที่ 10 เมษายน ที่เวทีผ่านฟ้า เสียงปืนทุกนัดมันก้องอยู่ในหูผมและผมหนีตายมาที่ราชประสงค์

  • รอดตายครั้งที่ 4 ที่แยกราชประสงค์ ผมติดอยู่ในวงล้อมพร้อมกับพี่น้องเสื้อแดงคนอื่นๆมากมายในขณะที่แกนนำหลายคนโดดหนีทิ้งพวกเราไว้กับมัจจุราชที่จะเอาชีวิตพวกเรา

  • ผมรอดมาถึง 4 ครั้งจึงไม่ต้องถามว่าผมเจ็บปวดแค่ไหน ทุกครั้งที่มีการชุมนุม ผู้ตายคือประชาชนชาวบ้าน ทุกครั้งที่มีการแบ่งประโยชน์ แกนนำคือคนที่รับ นี่เป็นความจริงที่ผมใช้ชีวิตแลกมาเพื่อการรับรู้ สิ่งนี้ และมันเป็นเช่นนั้นจริงๆ

ถ้าอย่างนั้นจะเปลี่ยนคำถามผมใหม่ว่า สู้เพื่ออะไร


  • ผมก็จะตอบว่า : เพราะผมต้องการเห็นความเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะตัวระบอบ ซึ่งผมมองว่ามันล้าหลังมันไม่มีความยุติธรรม มันไม่ถูกต้อง ผมไม่ได้ เกลียดชังตัวบุคคลคนใดคนหนึ่งเป็นส่วนตัวแต่อย่างใด แต่ผมเกลียดระบอบ หรือตัวโครงสร้าง




  • มื่อโครงสร้างมันถูกออกแบบไว้เมื่อหลายร้อยปีก่อนในขณะที่ประชากรมีจำนวนน้อย การศึกษาไม่ดีนัก

แต่ยุคปัจจุบัน ประชากรหรือสมาชิกในสังคมเพิ่มมากขึ้นการศึกษามากขึ้น แต่ยังถูกบังคับให้อยู่ในกรอบเก่ากรอบเล็กกรอบเดิม


  • กรอบโครงสร้างเก่านี้มันถูกวางไว้หมดแล้วว่า
  •  คนจบ ปริญญาเอก ได้ที่นั่งตรงไหน
  •  ป.โท นั่งตรงไหน 
  • ป.ตรี - ป.4 นั่งตรงไหน


  •  เขากำหนดแล้วว่า ป.เอกพูดเสียงดังสุด ป.4 เสียงเบาสุด ทั้งนี้เนื่องจาก เขาเชื่อว่าคนไม่เท่ากัน


  • เอ็ดมันด์ เบิร์ก เจ้าลัทธิอนุรักษ์นิยมและนักวิชาการสายอนุรักษ์นิยม เขาจัดคนไว้ชัดเจนว่าคนไม่เท่ากันคุณภาพของคนไม่เท่ากัน


  • อนุรักษ์นิยมไม่ศรัทธาการเลือกตั้งหนึ่งคนหนึ่งเสียง เพราะเขาเชื่อว่าคุณภาพคนไม่เท่ากัน เขาจึงเรียกประชาธิปไตยว่า เป็นประชาธิปไตยเชิงปริมาณ 

คือใครมีพวกมากกว่าก็ชนะไปโดยไม่คำนึงว่าคนๆมีประสบการณ์อะไรจบอะไรมาบ้าง

ซึ่งถ้ามองอย่างผิวเผินหลายคนอาจคล้อยตามว่า เป็นจริงเพราะคนมีความรู้ความสามารถไม่เท่ากันจริงๆ

แต่ผมมองเข้าไปลึกยิ่งกว่านั้นอีก เช่น


  • คนสอบได้เกรด 4 ในห้องเรียนหนึ่งมี 4 คน ทุกคนอาจเชื่อว่า 4 คนนี้เก่งสุด แต่ผมจะมองว่า คนได้เกรด 4 ทั้งสี่คน ต้องได้คะแนนไม่เท่ากันแน่นอน เช่น 1 คนได้ 80คะแนน เขาก็ได้เกรด 4 อีก 1 คนสอบได้ 90 คะแนน เขาก็ได้เกรด 4 ส่วนอีก สองคน นั่งอยู่ใกล้ 2 คนแรก แอบลอกข้อสอบได้เกรด 4 เหมือนกัน คือมันมีรายละเอียดมากกว่าที่ตาเห็นหูได้ยินมา



  • คนจบ ป.เอก ทางกฎหมาย ไม่มีทางรู้เรื่อง การปกครองดีกว่า คนจบ ป.เอก ทางรัฐศาสตร์การปกครอง ดังนี้เราจะไปสรุปว่าคนจบปริญญาเอก เก่ง หรือโง่กว่ากันไม่ได้ 



  • ต่างคนต่างเชี่ยวชาญสาขาที่ตนเองเรียนมา ไม่เก่งไม่โง่กว่ากัน แต่เก่งคนละอย่าง โง่อีกหลายอย่าง เราจึงสรุปไม่ได้ว่า คนจบ ป.เอก เก่งกว่าคนจบ ป.4



  • แม่ครัวหลายคนอาจจบ ป.4 หรือไม่จบเลย แต่เขามีความรอบรู้เชี่ยวชาญในการทำอาหาร ให้คนจบ ป.เอกได้กิน จะพูดว่าคนจบ ป.เอกโง่กว่าคนจบ ป.4 ได้หรือไม่ ที่จบตั้ง ป.เอก แต่ทำอาหารกินไม่เป็น ปลูกข้าวกินไม่เป็น กวาดบ้าน ถูพื้น เก็บขยะ เฝ้ายามไม่ได้



  • ดังนั้นผมจึงมองว่าทุกคนล้วนมีความรู้ความสามารถและเชี่ยวชาญในความรู้เฉพาะด้านเฉพาะตัวของตนเอง ดังนั้นทุกคนเกิดมา ต้องเท่าเทียมกันโดยการเกิดตามกฎเกณฑ์ทางธรรมชาตินี้


ส่วนหน้าที่นั้นเราแตกต่างกันได้


  • เราจึงควรจัดคนที่มีความสามารถเฉพาะทาง ไปวางไว้ในโครงสร้างทางหน้าที่ให้ถูกตำแหน่งถูกหน้าที่ถูกความสามารถ 


โครงสร้างนี้จึงเปรียบเหมือนร่างกาย

ถ้าเราบอกว่า หัวสำคัญกว่า ตีน เพราะอยู่สูงกว่า ก็ลองเอาตีนไปเหยียบถ่านแดงๆดูว่า ร่างกายทั้งหมดจะได้รับผลกระทบไปด้วยหรือไม่


  • ถ้าเราคิดว่า ตีนต่ำกว่า ไม่สำคัญ ก็ลองตัดตีนออกดู
  • ส่วนที่ต่ำสุดต่อมาก็จะเป็นส่วนเข่า ลองตัดเข่าดู
  • ส่วนที่ต่ำต่อมาก็จะเป็นต้นขา ลองตัดต้นขาดู
  • ส่วนที่ต่ำต่อมาจะเป็น ส่วนเอว ลองตัดเอวดู
  • ส่วนที่ต่ำต่อมาจะเป็นลำตัว ลองตัดลำตัวดู
  • ส่วนที่ต่ำต่อมาจะเหลือแค่หัว แล้วหัวก็จะเป็นส่วนที่ต่ำสุด


สรุปคือ หัว อยู่สูงได้เพราะมีตีน และโครงสร้างของร่างกายส่วนอื่น

ทุกส่วนล้วนมีหน้าที่ของตน


  • ทุกส่วนทำงานสัมพันธ์กัน อยู่ในโครงสร้างเดียวกัน ทำงานสอดคล้องกันแต่มีหน้าที่ต่างกัน



  • มือมีหน้าที่หยิบอาหารใส่ปาก 
  • ฟันมีหน้าที่เคี้ยวบดอาหาร
  • หลอดอาหารมีหน้าที่ลำเลียงเข้ากระเพาะอาหาร
  • ทุกส่วนต่างหน้าที่เช่นนี้


เช่นเดียวกับโครงสร้างทางสังคมประชาธิปไตย


  • ทุกคนมีหน้าที่ต่างกันได้ตามความสามารถ แต่อย่าใช้หน้าที่นั้นมากล่าวอ้างว่าตนเองอยู่เหนือผู้อื่นหรือสำคัญกว่าผู้อื่น นี่คือประชาธิปไตย



  • ประชาธิปไตยที่แท้จริง จึงเป็น โครงสร้างทางหน้าที่ หรือเป็นวิถีชีวิต ของแต่ละคนที่จะประกอบกิจการงานได้ตามความสามารถของตนเอง เคารพในหน้าที่นั้นๆซึ่งกันและกันภายใต้หน้าที่ที่ต่างกัน แต่เรามี ความเป็นคนเท่าเทียมกัน เป็นมนุษย์ขี้เหม็นเหมือนกันพูดแบบชาวบ้านว่า กิน ขี้ ปี้ นอน แล้วก็ตาย เหมือนกัน ไม่มีผู้ใดหลีกหนีได้ซักราย


  • ทุกคนมีอาณาเขตหรือดินแดน แห่งสิทธิ


  • คนหนึ่งกราบต้นไม้ เราไม่เห็นด้วยก็ไม่ต้องทำตาม แต่ทันทีที่เราพูดว่ามึงมันโง่นัก กราบต้นไม้ เราก็ได้ก้าวล่วงเข้าไปในดินแดนแห่งสิทธิของคนอื่นแล้วเช่นกัน


ถามว่าแล้วจะทำอย่างไรให้เขาเห็นความกระจ่างนี้

ก็ต้องตอบว่าเป็นหน้าทางโครงสร้างส่วนอื่นที่จะกล่อมเกลาชี้นำเขาให้เห็นจริง เช่น 

  • สถาบันครอบครัว
  • สถาบันการศึกษา
  • สถาบันทางศาสนา

นี่คือส่วนที่มีหน้าที่ชี้นำสังคมอบรมกล่อมเกลาในทางที่ถูกต้องให้เขา โครงสร้างส่วนนี้ต้องทำหน้าที่ให้ได้ผลก่อน




 เวลา สามทุ่ม วันที่ 10 เมษายน วันแรกที่เสื้อแดงล้มตายที่เวทีผ่านฟ้า


แล้วที่ถามผมว่ายังแดงอยู่หรือไม่

ผมก็จะถามกลับว่าขึ้นอยู่กับคำว่า แดงนั้นหมายถึงอะไร มีนิยามของคำว่าอะไร


  • ถ้าแดงเพื่อ นาย ก.
  • ถ้าแดงต้อง คล้อยตามแกนนำเท่านั้น
  • ถ้าแดงหมายถึงเป็นแค่กองเชียร์นักการเมือง
  • ถ้าแดงหมายถึงเป็นแค่สะพานให้นักการเมืองใช้เหยียบขึ้นสุ่อำนาจ
  • ถ้าแดงแล้วต้องห้ามคิดต่างคนอื่น
  • ถ้าแดงแล้วต้องชื่นชมพวกเดียวกันไม่ว่ามันจะเลวแค่ไหน
  • ถ้าแดงแล้วหมายถึงหุบปากเมื่อเห็นพวกเดียวกันทำผิด

ถ้านิยามมีเท่านี้ ผมตอบได้ทันทีครับว่าผมไม่ใช่แดง

ผมสู้เพื่อเป้าหมาย ไม่ว่าจะสวมเสื้อแดงหรือไม่ ด้วยเหตุผมที่ผมกล่าวมาแล้วแต่ข้างต้นจึงทำให้ผมสู้ถึงแม้ผมจะเจ็บปวดก็ตาม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น