กังวาล ทองเนตร

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา Pohthaiblogspot.com

วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2555

จักรพรรดิ์ นโปเลียน โบนาปาร์ต

 จักรพรรดิ์ นโปเลียน โบนาปาร์ต 


  • เมื่อ ปี ค.ศ. 1795 ฝรั่งเศส อยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาล ดีแร็คตัวร์ ได้เกิดวิกฤตทางการเมืองขึ้นทั้งภายนอกและภายในไม่ว่าจะเป็น การแบ่งเหล่าแบ่งก๊กของพรรคการเมือง และยังอยู่ในภาวะสงครามกับอิตาลี นายพลคนหนึ่งที่เพิ่งได้รับชัยชนะจากการทำสงครามกับอิตาลี คือความหวังของคนฝรั่งเศส

  • เขาคือ นายพล นโปเลียน โบนาปาร์ต (  Napoleon Bonaparte ) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้แก้ไขสถานะการณ์ความวุ่นวายในประเทศครั้งนี้ 

  • นโปเลียนได้ใช้อำนาจและความเด็ดขาดเข้าจัดการกับ กลุ่ม แก๊งค์ทางการเมืองจนราบคาบ ได้รับการยอมรับจากชาวฝรั่งเศสโดยทั่วกัน

  • เมื่อสถานะการณ์เป็นใจ นโปเลียน ก็ได้ฉวยโอกาสนี้ ก่อการรัฐประหารยึดอำนาจขึ้น ในปี ค.ศ. 1799
  • และเขาได้ประกาศยกเลิกหรือฉีกทิ้งรัฐธรรมนูญ ฉบับปี ค.ศ. 1795 และจัดการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ ประกาศใช้เมื่อ ค.ศ. 1799 ปีเดียวกัน และเขาได้สถาปนาระบบ กงสุล  ขึ้นมา


คนของนโปเลียนได้ขี่ม้าและนำทหารเข้ายึดสภาขณะเขาทำการยึดอำนาจ


ระบบ กงสุล (  Consulate )

ตามรัฐธรรมนูญฉบับปี ค.ศ. 1799    นี้  กำหนดให้ฝ่ายบริหารมีลักษณะเป็น องค์กร
 เรียกว่า กงสุล ( Consuls ) ประกอบด้วยบุคคล  3 คน เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร ประกอบไปด้วย

1. นโปเลียน โบนาปาร์ต   (Napoleon Bonaparte )

2. กัมบาเซเร็ส ( Cambaceres )

3. เลอบรังค์     (  Lebrun )

ในทางปฏิบัติแล้วผู้ที่มีอำนาจสั่งการที่แท้จริงคือ นโปเลียน  เพียงผู้เดียว

  • ฝ่ายนิติบัญญัติ มี สองสภา คือสภาผู้แทนราษฎร และสภาสูง มีสมาชิก  300 คนได้รับการเลือกตั้งโดยอ้อม
  • หน้าที่ของสภาชุดนี้คือ รับรองร่างกฎหมาย  แต่ ห้ามมิให้มีการอภิปราย ร่างกฎหมายที่เสนอโดยฝ่ายบริหาร





ในปี ค.ศ.1804 นโปเลียนได้ สถาปนาตนเองขึ้นเป็น จักรพรรดิ์


  • และได้เปลี่ยนรูแบบการปกครองของฝรั่งเศสจากสาธารณะรัฐ เป็น แบบ จักรวรรดิ์  เรียกยุคนี้ว่า จักรวรรดิ์ที่ 1  ถึงแม้รัฐธรรมนูญ ที่เขาร่างจะใช้คำว่า สาธารณะรัฐอยู่ก็ตาม นโปเลียน มีความรังเกียจ ระบบเก่า ที่เป็น ราชาธิปไตย และศรัทธาใน ระบบ สาธารณะรัฐ แต่ตัวเขาเองก็มิได้ปกครองในรูปแบบที่เขาศรัทธา แต่กลับปกครองแบบจักรวรรดิ์แทน
  • เขาปกครองแบบเผด็จการ เรียกว่า ปมโบนาปาร์ต หรือ Bonapartisme 

แต่หลังจาก กองทัพจักรวรรดิ์ของเขา พ่ายแพ้สงครามที่รัสเซีย เมื่อกลับถึง ปารีส ก็ถูกฝ่ายตรงข้ามบีบบังคับให้ สละอำนาจและบัลลังภ์ และ ถูก เนรเทศ ให้ไปอยู่เกาะ เอลบา ELBA  

  • หลังจากเนรเทศนโปเลียนแล้ว สภาสูง ก็ได้อัญเชิญ พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 แห่งราชวงค์ บูรบ็องขึ้นครองราชอีกครั้ง  ประเทศฝรั่งเศสได้กลับมาเป็นระบบกษัตริย์อีกครั้ง
  • พระเจ้าหลุยส์ที่ 18   ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1814

  • แต่พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ก็ครองราชได้เพียง 100 วัน ก็ต้องเสด็จลี้ภัยไปอยู่อังกฤษ



 Marechal Net


  • เนื่องจาก นโปเลียนได้ลักลอบเข้าสู่ฝรั่งเศส อีกครั้ง เมื่อ วันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 1915 พร้อมด้วยการสนับสนุนจากกองทัพฝรั่งเศสที่นำโดย จอมพลเนต์ ( Marechal Net ) 





Waterloo


  •  คราวนี้ นโปเลียนได้ให้ความร่วมมือกับฝ่ายเสรีนิยมมากขึ้น 

โดยมอบให้ แบงจาแม็ง กอง สต็อง (  Benjamin Constant ) เป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญแห่งจักรวรรดิ์ให้เสร็จสิ้น และให้เสรีภาพกับพลเมืองให้มากที่สุด แต่รัฐธรรมนูญ ฉบับบนี้ก็มิได้นำไปใช้  เนื่องจาก นโปเลียนแพ้สงครามแก่ฝ่ายสัมพันธมิตร 

  • ที่วอเตอร์ลู  ( Waterloo )
  • เมื่อวันที่18 มิถุนายน พ.ศ.2358 จักรพรรดิ์นโปเลียน โบนาปาร์ต แพ้สงครามแก่สัมพันธมิตร ที่มีแม่ทัพคือ ดยุ๊คแห่งเวลลิงตันของอังกฤษเป็นแม่ทัพ ที่สมรภูมิ วอเตอร์ลู ซึ่งเป็นหมู่บ้านแห่งหนึ่งทางตอนใต้ของกรุงบรัสเซลล์ประเทศเบลเยี่ยม การพ่ายแพ้ครั้งนี้จักรพรรดิ์นโปเลียนสูญเสียทหารมากกว่า 40,000 นาย ส่วนฝ่ายชนะเสียทหารกว่า 23,000 นาย จบฉากชีวิตที่ยิ่งใหญ่ของนโปเลียนลงอย่างสิ้นเชิง


สี่เดือนหลังกลับมามีอำนาจ และคราวนี้ นโปเลียนถูกเนรเทศให้ไปอยู่ เกาะ เซนต์เฮนเลนา 
(  Saint Helena) และสิ้นพระชนม์ที่นี่



Benjamin Constant



  •  นโปเลียน เกิด เมื่อวันที่   15 สิงหาคม  ค.ศ. 1769 ที่เกาะคอร์ซิกา มีพี่น้องเป็นชาย 4 คน


ซึ่ง 3 คนดำรงตำแหน่งสูงสุดคือ

1. Jerome Bonaparte  เป็นกษัตริย์แห่ง  Westphalia  ค.ศ. 1807 -1813

2. Joseph  Bonaparte  เป็นกษัตริย์แห่ง เนเปิลส์ ระหว่าง ค.ศ. 1806 - 1808
และยังเป็นกษัตริย์แห่งสเปน ระหว่าง ค.ศ. 1808 - 1813

3. Luis Napoleon Bonaparte  เป็นกษัตริย์ แห่ง ฮอลแลนด์ ระหว่าง ค.ศ. 1806 -1810

การปกครองของนโปเลียน Bonapartism  เน้น

1. เผด็จการ
2. ใช้กำลังทางทหาร





 Napoleon Bonaparte

กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์เอกการปกครองมหาวิทยาลัยรามคำแหง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น