กังวาล ทองเนตร

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา Pohthaiblogspot.com

วันศุกร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2555

การจัดห้องสมุดแบบทศนิยมดิวอี้

       
ห้องสมุด

ระบบดิวอี้


  • ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้ ( Dewey  Decimal  Classification )
  • ได้ชื่อตาม นาย เมลวิล  ดิวอี้  ( Melvil   Dewey ) 
  • 2394 - 2474  บรรณารักษ์ชาวอเมริกัน ผู้คิดค้นระบบนี้ขึ้นใช้ในระหว่างการทำงานเป็นผู้ช่วยบรรณารักษ์ ห้องสมุดของมหาวิทยาลัย แอมเฮอร์สท์ ( Amherst  college )พิมพ์ออกเผยแพร่คร้ังแรกปี พ.ศ.2419 และมีการแก้ไขเรื่อยมา
  • ระบบทศนิยม ดิวอี้ นิยมใช้กันในห้องสมุดขนาดเล็ก - กลาง
ได้แบ่งสรรพวิทยาการเป็น 10 หมู่ใหญ่มีสัญลักษณ์เป็นเลขอารบิค 3 ตัว คือ 100 - 000 คือ

หมวด             100         ปรัชญา
    "                 200         ศาสนา
    "                 300         สังคมศาสตร์
    "                 400         ภาษาศาสตร์
    "                 500         วิทยาศาสตร์
    "                 600         วิทยาศาสตร์ประยุกต์
    "                 700         ศิลปะและการบันเทิง
    "                 800         วรรณคดี
    "                 900         ประวัติศาสตร์  ภูมิประเทศ การท่องเที่ยว
    "                 000         หนังสือที่ไม่อาจจัดเข้าหมวดใดหมวดหนึ่งแต่ข้างต้นได้

ในแต่ละหมวดใหญ่ยังแบ่งแยกย่อยออกเป็นหมวดเล็กอีก เช่น

300,310,320,330,340,350,360,370,380,390



Melvil  Dewey 2394 -2474 


ตัวอย่างระบบดิวอี้



895 - 911 คือ เลขหมู่ หนังสือ ระบบดิวอี้ แสดงว่าหนังสือเล่มนี้เป็น หนังสือวรรณคดีไทยประเภทบทร้อยกรอง

ธ-17 คือ เลขผู้แต่ง " ธรรมาธิเบศร์ "
พ. หมายถึง อักษรชื่อเรื่อง จากชื่อหนังสือ พระมาลัยคำหลวง


การจัดเรียงหนังสือในห้องสมุดจัดเรียง จากซ้ายไปขวา จากบนลงล่าง จะเป็นตู้ หรือ เป็น ล็อคๆ

สรุป การจัดหมู่หนังสือในห้องสมุด มีหลายระบบ แต่ที่นิยมใช้มี 2 ระบบคือ  แบบ ทศนิยม ดิวอี้ และ แบบรัฐสภาอเมริกัน

แบบรัฐสภาอเมริกัน ( Library of Congress Classification ) ย่อด้วย LC 


  • แบบนี้จะใช้สัญลักษณ์แบบผสม คือใช้ทั้งอักษร โรมัน และ ฮินดูอารบิค  ผสมกัน
  • โรมัน เป็นหัวข้อใหญ่ ส่วนฮินดู อารบิค เป็นหัวข้อย่อย และแบ่งเนื้อหาออกเป็น 20 หมวด


ขอขอบคุณ ห้องสมุด มหาวิทยาลัยรามคำแหง

กังวาล  ทองเนตร รัฐศาสตร์เอกการปกครองมหาวิทยาลัยรามคำแหง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น