พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครอง แผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475
มาตรา 1 อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย
มาตรา 2 ให้มีบุคคล และคณะบุคคล ดั่งที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรตามที่จะได้กล่าวต่อไปในธรรมนูญคือ
1. กษัตริย์
2. สภาผู้แทนราษฎร
3. คณะกรรมการราษฎร
4. ศาล
มาตรา 3. กษัตริย์เป็นประมุขสูงสุดของประเทศ พระราชบัญญัติก็ดี คำวินิจฉัยของศาลก็ดี
การอื่นๆ ซึ่งจะมีบทกฎหมายระบุไว้โดยเฉพาะก็ดี จะต้องกระทำในนามของกษัตริย์
มาตรา 4. ผู้เป็นกษัตริย์ของประเทศ คือพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้า เจ้าอยู่หัว การสืบมฤดกให้เป็นไปตามกฎมนเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันติวงค์ พ.ศ.2467 และด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร
มาตรา 5.ถ้ากษัตริย์มีเหตุจำเป็นชั่วคราวที่จะทำหน้าที่ไม่ได้หรือไม่อยูในพระนคร ให้กรรมการราษฎรเป็นผู้ใช้สิทธิ์แทน
มาตรา 6 กษัตริย์จะถูกฟ้องร้องมิได้ เป็นหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรวินิจฉัย
มาตรา 7. การกระทำใดของกษัตริย์ ต้องมีกรรมการราษฎรผู้หนึ่ง ผู้ใดลงนามด้วยโดยได้รับความยินยอม ของกรรมการคณะราษฎรจึ่งจะใช้ได้ มิเช่นนั้นเป็นโมฆะ
- นี่เป็นความแหลมคมของคณะราษฎร โดยระบุ พระนามของผู้เป็นกษัตริย์ลงไป ( ถ้าต่อไป พระนามไม่ใช่อย่างนี้ ท่านคิดต่อได้นะครับ )
- เห็นชัดเจนว่าคณะราษฎรซ่อน ดาบไว้ในแทบทุกมาตรา แม้อ่านเผินๆ ดูเหมือนจะเป็นการประนีประนอม แต่อ่านให้ลึกซึ้งและวิเคราะห์ตามหลักความจริงเราจะเห็นว่า คณะราษฎร แหลมคมมาก และคงสาเหตุนี้ กระมังจึงทำให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นฉบับชั่วคราวในที่สุด
กังวาล ทองเนตร
ดูจากการเขียนรัฐธรรมนูญแล้วเห็นได้ชัดว่าคณะราษฎร เขียนขึ้นอย่างผู้ชนะ
ตอบลบ