กังวาล ทองเนตร

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา Pohthaiblogspot.com

วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

การปฎิวัติเขียว(The Green Revolution)คืออะไร





การปฏิวัติเขียว ( The Green Revolution )


  • เป็นการนำวิชาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยได้นำมาใช้กับการเกษตร โดยการค้นคว้าวิจัย จนสามารถสร้างพันธุ์ข้าวใหม่ขึ้นมาได้ เรียกว่าพันธุ์ข้าวมหัศจรรย์ ( Miracle Rice ) ถือว่าเป็นการปฏิวัติทางเกษตรกรรมของโลก เรียกกันว่า การปฏิวัติเขียว The Green Revolution
  • ภายหลังการปฏิวัติเขียว ส่งผลให้หลายประเทศกลายเป็นประเทศ ผู้มั่งคั่ง มีกำลัง มีอำนาจ โดดเด่นขึ้นมา
  • การปฏิวัติเขียวนี้ เป็นผลจากการสนับสนุนของมูลนิธิ ร็อคกี้เฟลเลอร์ ( Rockefeller ) ที่ให้การสนับสนุนในการวิจัยที่ประเทศ เม็กซิโก เพื่อค้นหาพันธุ์พืชที่ให้ผลิตผลสูงขึ้น






  • ซึ่งผลงานวิจัยที่สำคัญเป็นของ ดร. นอร์แมน อี.บอร์ล็อก ในปี ค.ศ. 1944

ทั้งนี้ผลผลิตข้าวสาลีในเม็กซิโก มีผลผลิตต่ำมาก เพียง 1 ใน 10 ของผลผลิตต่อเอเคอร์ ของผลิตผลต่อเอเคอร์ของอเมริกา เท่านั้น หรือคิดเฉลี่ย เพียง 11 บูเชลส์ ( Bushels ) ต่อ 1 เอเคอร์

  • ในขณะที่อเมริกาที่ อเมริกาให้ผลผลิตสูงถึง 110 Bushels ต่อ 1 เอเคอร์
  • ผลการวิจัยของ ดร. บอร์ล็อก คือได้ข้าวสาลีที่มีต้นเตี้ย ทนแดดทนฝนได้ดี และผลงานข้าวพันธุ์ใหม่ของเขา ได้เผยแพร่ไปยังที่ต่างๆ รวมถึง ประเทศ อินเดีย
  • ส่งผลให้ 7 ปีต่อมา อินเดีย กลายเป็นประเทศที่ส่งออกข้าวสาลี ต่อมา ข้าวพันธุ์มหัศจรรย์ ของ ดร.บอร์ล็อก ได้ขยายเข้าไปยัง ประเทศ ปากีสถาน และฟิลิปปินส์ ด้วย

  • ข้าวสายพันธุ์ใหม่ของ ดร. บอร์ล็อก มีชื่อเสียงไปหลายประเทศ ทั้งด้านผลตอบแทนคุ้มค่ากับการลงทุน
  • จากผลผลิตที่ดีนี้ ส่งผลให้เกษตรกรที่มีทุนสูง สามารถขยายผลผลิตของตัวเองได้มากขึ้น โดยใช้เครื่องจักร เข้ามาช่วย ส่งผลกระทบต่อชาวนาผู้เช่านาเขาทำ ได้รับความเดือดร้อน และเลิกอาชีพทำนานี้ไป


อย่างไรก็ตามผลข้างเคียงที่ตามมาอีกอย่างคือ อัตราการตายลดลง ในขณะที่อัตราการเกิด เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ประชากรของ เม็กซิโก และอินเดีย เพิ่มสูงขึ้น ในที่สุดส่งผลกระทบทางด้านอาหารอีกครั้ง ทำให้ เม็กซิโก และอินเดียต้องสั่งซื้ออาหารเข้ามาเป็นจำนวนมากเพื่อให้เพียงพอกับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ตามไปด้วย


  • การปฏิวัติเขียว ได้ชะงักลงเมื่อปี ค.ศ.1973 หรือ พ.ศ. 2516 เมื่อกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันหรือ กลุ่ม โอเปค ( OPEC) ได้ขึ้นราคาน้ำมัน เป็น 4 เท่าตัว ทำให้ ราคาปุ๋ย ที่มีส่วนผสมของ ไนโตรเจน ( N ) ซึ่งผลิตมาจาก ปิโตรเลียม ราคาสูงขึ้น รวมถึงกระทบต่อกลุ่มเกษตรกรผู้ใช้เครื่องจักร อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้



  • ดร.บอร์ล็อก ได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ในปี ค.ศ.1970 ผลจากการค้นคว้าวิจัยของเขาในคราวนั้น ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงต่อ ระบบอาหารของโลกอย่างมากมาย และนำมาซึ่งการพัฒนาต่อยอดจากความรู้ของเขา สืบมาถึงปัจจุบัน อันเป็นผลสืบเนื่องมาจาก การปฏิวัติเขียวของเขา


 กังวาล  ทองเนตร รัฐศาสตร์ ภาควิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง




Dr.Norman E. Borlaug


Dr.Norman E. Borlaug


Dr.Norman E. Borlaug


Dr.Norman E. Borlaug

Dr.Norman E. Borlaug



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น