กังวาล ทองเนตร

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา Pohthaiblogspot.com

วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

นครรัฐ( Polis)


นครรัฐ( City-state หรือ ศัพท์รัฐศาสตร์มักใช้คำว่า Polis)

  • นครรัฐเป็นส่วนหนึ่งในวิวัฒนาการทางการเมืองการปกครอง มนุษย์โลกยุคโบราณอาศัยอยู่ตามถ้ำ รูปร่างหน้าตาก็ยังไม่เหมือนมนุษย์ในปัจจุบัน ดังนั้นมนุษย์ในยุคนั้นจึงยังไม่มีระบบการปกครองที่ชัดเจน

  • ในยุคต่อมาเมื่อมนุษย์มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จึงเกิดการรวมตัวกันขึ้น ในรูปแบบชนเผ่า มีหัวหน้าเผ่าเป็นผู้ปกครอง เราจึงถือว่า รูปแบบการปกครองได้ถือกำเนิดขึ้นในยุคชนเผ่า


โดยในแต่ละชนเผ่า ก็มักจะเป็นกลุ่มคนทีมีสายสัมพันธ์กัน ตั้งแต่เกี่ยวพันกันโดยสายเลือด เกี่ยวพันทางการแต่งงาน เป็นต้น ในหนึ่งชนเผ่าอาจมีหลายตระกูลมารวมกันเป็นชนเผ่า 

ลักษณะพิเศษของชนเผ่าคือ จะมีวัฒนธรรม ความเชื่อหรือสิ่งเคารพ เป็นของตนเอง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นบรรพบุรุษที่ถูกยกให้เป็นเทพประจำเผ่านั้นๆ มีภาษาพูดเป็นของตนเอง

  • เมื่อชนเผ่าขยายประชากรเพิ่มมากขึ้นเป็นสังคมใหญ่ มีความซับซ้อนทางสังคมมากขึ้น ความสัมพันธ์แบบครอบครัวลักษณะชนเผ่าเริ่มห่างกันออกไป 
  • การสืบทอดตำแหน่งในสังคมจึงเปลี่ยนไป จากเดิม ที่สืบทอดทางสายโลหิต เปลี่ยนเป็นรูปแบบอื่น 
  • เมื่ออาณาเขตขยาย การเมืองการปกครองก็ถูกปรับเปลี่ยนไปตามสภาพ เมื่อหลายๆเผ่าชนรวมตัวกันขึ้น จึงเกิดเป็นรูปแบบการปกครองใหม่ เรียกว่า นครรัฐ


นครรัฐ และ ลักษณะของนครรัฐ
  • นครรัฐ จะมีลักษณะเป็นเอกเทศ มีอิสระทางการเมือง จากภายนอก
  • นครรัฐ จะต้องมีกฎ ระเบียบ ในการควบคุมพฤติกรรม และกำหนดบทบาทและวิถีชีวิต ของพลเมืองใน นครรัฐของตนเองอย่างชัดเจน
  • นครรัฐ จะมีอิทธิพลเหนือเขตรอบนอกด้วย
ตัวอย่างนครรัฐในอดีต เช่น นครรัฐอูร์ นครรัฐบาบิโลน หรือในกรีกโบราณ ก็จะมีนครรัฐใหญ่ที่มีอิทธิพลต่อนครรัฐอื่น อาทิ  เอเธนส์ ( Athens ) สปาร์ตา โอลิมเปีย  ธีบีส คอรินท์ เป็นต้น

  • การจัดรูปแบบการปกครองในแต่ละนครรัฐ จะแตกต่างกันออกไป เช่น ที่ เอเธนส์ จะปกครองในลักษณะเป็น ประชาธิปไตยทางตรง ส่วนสปาร์ตา จะจัดรูปแบบปกครองเป็นแบบเผด็จการ

นอกจากนี้ ยังมีการจัดแบ่ง ประชากร ออกจากกันเป็นกลุ่มด้วย ในนครรัฐของกรีกโบราณ เช่น สปาร์ตา จะแบ่งประชากร ออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ดังนี้
  1. พลเมือง (  Citizen) ในสปาร์ตา เรียกว่า สปาร์ติเอท ( Spartiates) พวกนี้เป็นเชื้อสาย ดอเรียน เป็นชนชั้นปกครอง และเป็นเผ่าเดียวที่มีสิทธิทางการเมือง
  2. พวกต่างชาติ หรือเรียกว่า เพริออไค ( Perioeci ) พวกนี้ไม่มีสิทธิทางการเมืองในสปาร์ตา แต่มีสิทธิในการประกอบอาชีพทำการค้าอย่างเสรี
  3. พวกชนพื้นเมือง และพวกทาสติดดิน ( Serf) หรือที่เรียกว่า เฮลอท- เซิร์ฟ ( Helot-Serf) ชะตาชีวิตของคนกลุ่มนี้ขึ้นอยู่กับผู้ เป็นนายกำหนด
  • นี่คือลักษณะของอำนาจควบคุมประชาชากร และกำหนดบทบาทประชากร ของผู้ปกครองในนครรัฐ
ในหนึ่งนครรัฐ จะมีผู้ปกครองสูงสุดเป็นราชา หรือกษัตริย์
  • คำว่า กษัตริย์ ( King ) ที่ใช้ในปัจจุบัน มาจากรากศัพท์เดิมในภาษาอังกฤษโบราณ คือ คินน์ ( Cynn) ในยุคต้นคำว่า คินน์ หมายถึง หัวหน้าหรือผู้เป็นหัวหน้า หรือตัวแทนของกลุ่มญาติ ( Kins) ในศัพท์เดิม หมายถึง ผู้ไกล่เกลี่ย หรือตุลาการ หมายถึงผู้นำ และหมายถึงนักรบหรือผู้ปกป้องวงศ์ตระกูลของตนเอง

  • ต่อมาคำว่า King ได้แปลงมาจากภาษาลาติน คือคำว่า  Rex หมายถึงผุ้นำทางศาสนาและพิธีกรรม และศัพท์คำนี้ยังเกี่ยวพันกับภาษาอินดูยูโรเปียน ในคำว่า regulation
ตัวอย่าง นครรัฐในไทย สมัยโบราณ

  • หิริภุญไชย (ลำพูน )
  • เวียงโกไสย ( แพร่ )
  • ชากังราว ( กำแพงเพชร )
  • เวียงพิงค์ (เชียงใหม่ )
  • เขลางนคร (ลำปาง )
  •  ศรีนครลำดวน (ศรีสะเกษ )
  • สกลนคร
  • พระบาง
  • สุพรรณภูมิ (สุพรรณบุรี )
  • ละโว้ ( ลพบุรี ) เป็นต้น
   (ซึ่งแต่ละนครรัฐ จะมีผู้ปกครอง และเป็นอิสระทางการเมือง)

  • นครรัฐที่ยังคงสถานะในปัจจุบันก็คือ นครรัฐวาติกัน ซึ่งอยู่ในประเทศอิตาลี ซึ่งมีลักษณะเป็นรัฐซ้อนรัฐอยู่ในประเทศอิตาลี แต่นครรัฐวาติกัน ปัจจุบันเป็นเพียงนครรัฐทางศาสนาของนิกายโรมันแคทอลิก มีสันตะปาปา หรือโป๊ป เป็นผู้ปกครอง

  • เมื่อนครรัฐ หลายๆนครรัฐ รวมกันขึ้น ก่อกำเนิด การปกครองใหม่เรียกว่า จักรวรรดิ์ 
จักวรรดิ์ จะมีการขยายเขตแดน และอิทธิพลออกไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เช่น จักรวรรดิ์โรมัน หรือในยุคของ นโปเลียน  จักรวรรดิ์มองโกล เป็นต้น

  • เมื่อจักรรดิ์ แตกตัว เสื่อมลง ก็จะเกิดรูปแบบ รัฐ-ชาติ ขึ้นมาแทน
ดังนั้นลักษณะของ นครรัฐ จึงมีรูปแบบมีแบบแผนการปกครอง ซึ่งมีลักษณะเป็นอิสระ เป็นเอกเทศไม่ขึ้นตรงต่อใคร และมีวัฒนธรรม มีภาษา มีกองกำลัง (ทหาร )มีแบบแผนทางเศรษฐกิจ ที่เป็นแบบแผนของตัวเอง มีการควบคุมหรือแบ่งแยก บทบาทหน้าที่ของประชากรอย่างชัดแจ้ง รวมถึงควบคุมกำหนดวิถีชีวิตประชากร จากผู้ปกครองนครรัฐนั้นๆด้วย

  • นครรัฐจึง เป็นคนละเรื่องกับการปกครองรูปแบบพิเศษ ซึ่งการปกครองรูปแบบพิเศษ เป็นการจัดการอำนาจที่ รัฐบาลกลางมีอยู่ ไปให้กับท้องถิ่นเพียงบางส่วน เพื่อความคล่องตัว แต่ไม่ได้ยกอำนาจบริการสาธารณะทั้งหมดไปให้ท้องถิ่นแต่อย่างใด เช่น ด้านความมั่นคง หรือบริการสาธารณะขนาดใหญ่ยังจัดโดยรัฐบาลกลาง

ซึ่งในประเทศไทย การจัดการปกครองท้องถิ่น แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบดังนี้
  1. รูปแบบทั่วไป ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด ( อบจ. ) องค์การบิหารส่วนตำบล ( อบต. ) และ เทศบาล ( สท )
  2. รูปแบบพิเศษ มี 2 องค์การบริหาร คือ กรุงเทพมหานคร และ เมืองพัทยา
  • กรุงเทพมหานคร มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากเมืองพัทยาคือ โดยฐานะของกรุงเทพมหานครแล้ว เป็นเมืองหลวงของประเทศไทย ซึ่งมีขนาด โครงสร้างทางประชากร และความซับซ้อนทางสังคม มากกว่าเมืองพัทยา ส่วนเมืองพัทยา เป็นเพียงส่วนหนึ่งของตำบลในจังหวัดชลบุรีเท่านั้น
  • แต่สถานะภาพของเมืองพัทยา จัดเป็นเทศบาลนคร

  • ดังนั้นทั้งเมืองพัทยา และกรุงเทพมหานคร จึงนำไปเปรียบเทียบกับการปกครองยุคโบราณ ที่เรียกว่า นครรัฐไม่ได้ด้วยประการทั้งปวง

กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์ ภาควิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น