การเกณฑ์ทหาร
- การ เกณฑ์ทหาร เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงที่สุด การเกณฑ์ทหารเปรียบเสมือนการบังคับใช้แรงงาน โดยอาศัยกฎหมายมาเป็นเครื่องมือบีบบังคับ ให้พลเมืองของชาตินั้นๆต้องปฏิบัติตาม
- การ เกณฑ์ทหารเป็นอีกตัววัดหนึ่งของความเจริญในการพัฒนาสังคมประชากรของประเทศ นั้นๆว่า ด้อยหรือก้าวหน้า การเกณฑ์ทหารไม่มีเพียงเป็นการละเมิดสิทธิความเป็นมนุษย์เท่านั้น ยังเป็นการสร้างแบบแผนธรรมเนียมอำนาจนิยมให้อยู่ต่อไปในสังคม
- อีก ทั้งเป็นการทำลายสังคมหน่วยย่อยที่สุดนั่นคือสถาบันครอบครัว บางครอบครัวมีลูกชายคนเดียว มีพ่อแม่ที่ชราภาพ แต่ถูกเกณฑ์ไปเป็นทหาร ทิ้งพ่อแม่ที่ชราภาพให้อยู่ตามลำพัง
- บาง คนอยู่ในวัยเรียน ที่กำลังก้าวหน้า บางคนอยู่ระหว่างสร้างครอบครัว กำลังจะมีสมาชิกลืมตาออกมาดูโลก แต่ต้องมาพลัดพรากจากกันเพราะพ่อถูกเกณฑ์ไปเป็นทหาร
- ใน ความเป็นจริงการเกณฑ์ทหารก็คือการระดมแรงงานเพื่อไปใช้ในกองทัพ ซ้ำร้ายยิ่งไปกว่านั้นคือ มีการนำทหารเกณฑ์ไปรับใช้นายทหารตามบ้านพัก รับใช้ภรรยา คอยเป็นพลขับส่งลูกเมียนายทหาร เป็นพ่อครัว พ่อบ้าน คนตัดหญ้า ถูบ้าน ล้างส้วม รดน้ำต้นไม้ ขัดรองเท้า ให้กับครอบครัวนายทหาร โดยที่นายทหารเหล่านั้นไม่ต้อง ออกเงินค่าจ้างแม้บาทเดียว
- แต่เป็นการนำกำลังพลที่ถูกอ้างว่านำมารับใช้ชาติไปรับใช้ผู้บังคับบัญชาตามบ้านแทน
และยังเป็นการนำไปใช้ในทางที่จะก่อให้เกิดความรุนแรงในสังคม สร้างบารมี สร้างอิทธิพลเถื่อน เพื่อหวังผลประโยชน์ส่วนตัว
- การ เกณฑ์ทหารในไทย เดิมเริ่มเกณฑ์ทหารจากเขตพระนคร หรือกรุงเทพมหานคร จนมีการขยายพื้นที่ออกไปทั่วประเทศ และมีการปรับปรุงแก้ไขมาเป็น พระราชบัญญัติ การเกณฑ์ทหาร พ.ศ. 2497 ใช้ตราบถึงปัจจุบัน
>>>> พ.ร.บ.การเกณฑ์ทหาร 2497
ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยจะยกเลิก พ.ร.บ.ว่าด้วยการเกณฑ์ทหารตามอย่างอารยประเทศที่เขาเจริญแล้ว
คืนลูกชาย คืนพ่อ คืนสามี ให้หวนกลับสู่อ้อมกอดของครอบครัวได้แล้ว
กังวาล ทองเนตร
ประเทศที่ไม่มีและยกเลิกการเกณฑ์ทหาร
- สหราชอาณาจักรรูปแบบปกครอง ประชาธิปไตยแบบรัฐสภาไม่มี (ยกเว้น Bermuda Regiment)
- สหรัฐอเมริกา สหพันธรัฐภายใต้รัฐธรรมนูญ ไม่มี
- แอลเบเนีย ประชาธิปไตยเกิดใหม่ ไม่มี (ยกเลิกปี ค.ศ. 2010)
- อาร์เจนตินา สาธารณรัฐ มี (ทางนิตินัย); ไม่มี (ทางพฤตินัย)
- ออสเตรเลีย ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา รัฐรวม ไม่มี (ยกเลิกการเกณฑ์ทหารโดยรัฐสภาในปี ค.ศ. 1972)
- บาฮามาส ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ไม่มี
- บังกลาเทศ ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ไม่มี
- เบลเยียม ประชาธิปไตยไม่มี (ยุติการเกณฑ์ทหารตั้งแต่ปี ค.ศ. 1994)
- เบลีซ ประชาธิปไตยโดยรัฐสภา อาสาสมัคร
- ภูฏาน ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ไม่มี
- บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา สาธารณรัฐประชาธิปไตย รัฐรวม ไม่มี (ยกเลิกการเกณฑ์ทหารเมื่อ 1 มกราคม พ.ศ. 2006)
- บัลแกเรีย ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา(ยกเลิกการเกณฑ์ทหารเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2008
- พม่า military junta ไม่มี (ทางนิตินัย); มี (ทางพฤตินัย)
- จีน คอมมิวนิสต์ ไม่มี
- โครเอเชีย ประชาธิปไตยแบบกึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภา ไม่มี (ยกเลิกการเกณฑ์ทหารในปี ค.ศ. 2008)
- จิบูตี สาธารณรัฐ ไม่มี
- ฝรั่งเศส สาธารณรัฐ ไม่มี (ยกเลิกการเกณฑ์ทหารในปี ค.ศ. 2001)
- แกมเบีย สาธารณรัฐ ไม่มี
- เยอรมนี สาธารณรัฐ รัฐรวม ไม่มี (ยกเลิกโดยสภานิติบัญญัติมีผล 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2011)
- เกรเนดา ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ไม่มีกองกำลังป้องกันตนเอง
- ฮังการี ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา (ยกเลิกเมื่อปี ค.ศ. 2004)
- อินเดีย รัฐรวม ไม่มี
- จาเมกา แบบรัฐสภาภายใต้รัฐธรรมนูญ ไม่มี
- ญี่ปุ่น ไม่มี
- เลบานอน สาธารณรัฐ ไม่มี (ยกเลิกการเกณฑ์ทหารในปี ค.ศ. 2007)
- ลักเซมเบิร์ก ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ไม่มี
- มาซิโดเนีย ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ไม่มี (ยกเลิกการเกณฑ์ทหารเมื่อ ค.ศ. 2006)
- มาเลเซีย รัฐสภา ไม่มี
- มัลดีฟส์ สาธารณรัฐ ไม่มี
- มอลตา สาธารณรัฐ ไม่มี
- เนเธอร์แลนด์ ชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ไม่มี
- นิวซีแลนด์ ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ไม่มี
- โปแลนด์ สาธารณรัฐ ไม่มี
- กาตาร์ สมบูรณาญาสิทธิราช ไม่มี
- โรมาเนีย สาธารณรัฐ ไม่มี (ยกเลิกการเกณฑ์ทหารในปี ค.ศ. 2007)
- รวันดา สาธารณรัฐ; ประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดี หลายพรรคการเมือง ไม่มี
- ซาอุดีอาระเบีย สมบูรณาญาสิทธิราช ไม่มี
- สโลวีเนีย ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา สาธารณรัฐ ไม่มี
- แอฟริกาใต้ สาธารณรัฐ ไม่มี
- สเปน รัฐสภา ไม่มี
- สวาซิแลนด์ สมบูรณาญาสิทธิราช ไม่มี
- ตองกา ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ไม่มี
- ตรินิแดดและโตเบโก ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ไม่มี
- วานูอาตู รัฐสภา สาธารณรัฐ ไม่มี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น