การปกครอง
- ฟาโรห์ เป็นประมุขสูงสุดของประเทศ ทั้งยามสงครามและยามสงบ ฟาโรห์ เป็นทั้งประมุขทางศาสนาและประมุขแห่งรัฐอีกด้วย
ชาวอียิปต์เชื่อว่า ฟาโรห์เป็นเทพเจ้าที่อวตาร มาปกครอง
ด้านหัวเมือง ฟาโรห์ทรงแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ไปปกครองหลายระดับเช่น
- วีเซีย (Vizier ) เป็นผู้ปฏิบัติ
หน้าที่แทน ฟาโรห์ ในเมืองหลวง ดูแลการปกครองภายใน การเกษตร ชลประทาน รักษาความมั่นคงความปลอดภัยของประเทศ
การปกครองระดับท้องถิ่น แบ่งออกเป็น โนมิส ( Nomes) มีข้าหลวงประจำโนมิส เรียกว่า
- โนมาร์ค ( Nomarches) ดูแลเกี่ยวกับการเก็บภาษี การรักษาความสงบในท้องถิ่น การพิจารณาคดีพิพากษา การชลประทาน
ศาล
ในอียิปต์โบราณ มีศาลถึง 6 ศาล มีหัวหน้าผู้พิพากษาเป็นผู้ดูแลความยุติธรรม ทุกคดีต้องขึ้นศาลทั้งสิ้น เมื่อคดีผ่านศาลแล้ว ถ้าประชาชนเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถจะยื่นฎกาต่อ ฟาโรห์ได้ ซึ่งโดยตำแหน่ง ฟาโรห์เป็นผู้พิพากษาศาลสูงสุด
ด้านศาสนา
ชาวอียิปต์โบราณจะนับถือเทพเจ้าหลายองค์ และมีเทพประจำแต่ละท้องถิ่นด้วย เช่น
- เทพอามอน (Amon) เป็นเทพประจำนครธีบีส
- เร , รา (Re,Ra ) เป็นเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์
- โอซีริส ( Osiris) เป็นเทพเจ้าแห่งลุ่มแม่น้ำไนล์
- เทพีไอซิส ( Isis) มเหสีของ โอซิริส เป็น เทพีแห่งความสมบูรณ์
- ต่อมาชาวอียิปต์จึงค่อยๆปรับเปลี่ยนมานับถือเทพองค์เดียว
นอกจากนี้ชาวอียิปต์ ยังมีความเชื่อ หลังความตาย หรือ โลกหน้าว่า วิญาณจะเป็นอมตะในโลกหน้า จากความเชื่อนี้ พิธีกรรมในงานศพของชาวอียิปต์จึงมีการจัดเตรียมการข้าวของเครื่องใช้อย่าง มากมายเพื่อใช้ในโลกหน้า โดยเฉพาะชนชั้นสูง และนิยม นำศพมาทำเป็น มัมมี่ มีการสร้างสุสานไว้เก็บศพ สำหรับ ฟาโรห์ ตามความเชื่อในโลกหน้า ผู้ตายมักจะเขียนเรื่องราว แสดงความบริสุทธิ์ของตนเอง และความดี เพื่อนำไปแสดงต่อ โอซิริส
- บันทึกนี้ เรียกว่า บันทึกของผู้วายชนม์ ( Book of the Dead )
- หนังสือนี้ถ้าจารึกที่กำแพงปิรามิด เรียกว่า ปิรามิด เท็กซ์ ( Pyramid Texts)
- ถ้าเขียนจารึกที่ฝาหีบศพ เรียกจารึกนี้ว่าคอฟฟิน เท็กซ์ ( Coffin Texts)
อ่านเพิ่มเติม >>> การปกครองอียิปต์โบราณ 1 <<<
ปิ รามิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในอียิปต์ คือปิรามิดที่เมือง กิเซ ( Gizeh ) สร้างถวาย ฟาโรห์ คูฟู ( Khufu) เป็นปิรามิดที่ใช้แรงงานถึง แสนคนในการสร้าง ใช้เวลาก่อสร้าง 20 ปี
ซากมัมมี่ของฟาโรห์ พระองค์หนึ่ง
ชาวอียิปต์มีความเชื่อในชีวิตหลังความตายหรือในโลกหน้าเป็น จึงได้ให้ความสำคัญกับพิธีศพเป็นอย่างยิ่ง
ขอบคุณภาพประกอบตามชื่อเว็บที่ปรากฎ
และขอบพระคุณท่านอาจารย์ เพ็ญศรี ภูมิถาวร ศศ.บ.ประวัติศาสตร์เกียรตินิยมดีอาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
และขอบพระคุณท่านอาจารย์ เพ็ญศรี ภูมิถาวร ศศ.บ.ประวัติศาสตร์เกียรตินิยมดีอาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น