กังวาล ทองเนตร

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา Pohthaiblogspot.com

วันอาทิตย์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2555

คอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลก ENIAC



ENIAC


  • คอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกถูกพัฒนาขึ้นโดยหน่วยงานวิจัยทางทหารของกองทัพบก สหรัฐอเมริกา
  • ในปี ค.ศ. 1946 หรือประมาณ 66 ปีมาแล้ว

คอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่พัฒนาขึ้นมานี้มีชื่อว่า ENIAC 
( Electronic Numerical Integrator And Calculator )  มีความยาว 80 ฟุต มีน้ำหนักมากถึง 30 ตัน
ใช้หลอดสูญญากาศ 18,000 หลอด


  • หลังจากที่ได้เกิด ENIAC ขึ้นมา เป้าหมายการพัฒนาคอมพิวเตอร์ได้กำหนดทิศทางการพัฒนาไว้ดังนี้

1. ขนาดเล็ก Small Size มีความเร็วสูงมีความเที่ยงตรงแม่นยำในค่าคำนวณ

2. More power การทำงานของเครื่องต้องมีประสิทธิภาพสูง มีความเสถียร การประมวลผลต้องรวดเร็ว และหน่วยความจำต้องมีมากขึ้น

3. Less Expense  ต้องมีราคาถูก และต้องถูกลงไปเรื่อยตามขนาดที่จะต้องเล็กลง

ENIAC เป็นคอมต้นแบบและเป็นยุคแรกของคอมพิวเตอร์ ใช้ หลอดสูญญากาศ 



หลอดสูญญากาศ


  • ในยุคที่ 2 คอมพิวเตอร์ถูกเปลี่ยนจากหลอดสญญากาศที่มีขนาดใหญ่ มาเป็น ทรานซิสเตอร์ ที่เป็นอุปกรณ์ อิเลคทรอนิคส์ขนาดเล็ก เป็นสารกึ่งตัวนำ เซมิคอนดักเตอร์ 


เพาเวอร์ทรานซิสเตอร์ ( เป็นทรานซิสเตอร์ขยายกำลัง ) ย่อด้วย TR.



คอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 4 ประเภท

1. ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (  Supercomputers) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ มีความเร็วสูง มีหน่วยการประมวลผลสูงสุด หน่วยการจัดเก็บข้อมูลสูงสุด ใช้สำหรับ หน่วยงานทางทหาร หน่วยงานทางวิจัย ต่างๆ และการพยากรณ์อากาศ การออกแบบเครื่องบินเป็นต้น

2. เมนเฟรม คอมพิวเตอร์  ( Mainframe computers ) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพรองลงมาจากซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ ใช้ในหน่วยงาน หรือองค์กรขนาดใหญ่  เช่น สายการบิน ธนาคาร บริษัทประกันภัย     มหาวิทยาลัย เป็นต้น 

3. มินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computers ) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กและประสิทธิภาพรองลงมาจาก เมนเฟรม อีกที นำมาใช้ใน บริษัทขนาดกลาง ใช้ในระบบบัญชี หรือบางที อาจนำไปใช้ร่วมกับเมนเฟรมก็ได้

4. ไมโครคอมพิวเตอร์ (  Micro computers )  เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล้ก ส่วนบุคคล หรือ พีซี คอมพิวเตอร์ ( Personal Computers ) PC.  เป็นคอมพิวเตอรตั้งโต๊ะ หรือเป็นแบบพกพา เคลื่อนย้ายได้สะดวก



ฮาร์ดดิสก์ตัวแรกของโลก



IC. ไอซีไมโครโปรเซสเซอร์ เป็นหน่วยประมวลผลกลางของคอมพิวเตอร์สมัยใหม่


กังวาล ทองเนตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น