กังวาล ทองเนตร

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา Pohthaiblogspot.com

วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2564

เปรียบเทียบที่มาวุฒิสภาของประเทศต้นแบบประชาธิปไตย



  •  ในประเทศที่เป็นแม่แบบหรือต้นแบบประชาธิปไตย วุฒิสภาของแต่ละประเทศเป็นอย่างไร ผมจะให้ข้อมูล พอสังขป เพื่อให้เปรียบเทียบ เริ่มจาก
1.อังกฤษ จะมีสภาสูงที่ไม่เรียกว่าวุฒิสภาแต่เรียกว่าสภาขุนนาง House of Lord มีสมาชิกจำนวน 1200 คน 
มาจากการสืบเชื้อสายและเป็นสมาชิกสภาติดต่อกันจนกว่าจะตาย และให้ทายาทสืบต่อได้อีก แต่หากประสงค์จะลงเล่นการเมืองก็ให้สละ ตำแหน่งนี้ทิ้งไป หมายถึงถ้าสละแล้วการสืบเชื้อสายจะหมดสิทธิทันที ดังนั้นพวกที่มาจากสืบเชื้อสายจึงไม่มายุ่งเกี่ยวการเมืองเพื่อรักษาสถานภาพฐานันดรขุนนางของตนเองไว้
สมาชิกอีกส่วนมาจากตัวแทนปรระเทศในเครือต่างๆทั้งเวลล์ สก๊อต (ไปหาอ่านที่มาได้ผมเขียนไว้หลายเว็บหลายที่ )
แต่โดยหลักการแล้วสภาขุนนางนี้จะไม่ทำงานหรือแทบจะไม่มีการเปิดประชุม ออกความเห็นทางการเมืองใดๆเลย จนได้รับฉายาว่าเป็นสภาที่มีสภาชิกมากที่สุดและขี้เกียจที่สุด
2. อเมริกา จะมีวุฒิสภา เรียกชื่อว่า สภาซีเนท Senate เกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญมาตรา 1 ที่ระบุให้วุฒิสภา เป็นตัวแทนแห่งรัฐ โดยมีตัวเลขสมาชิกสภาตายตัว คือรัฐละ 2 คน ไม่อิงกับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง อเมริกามี 50 รัฐ วุฒิสภาเป็นตัวแทนแต่ละรัฐจึงมีรวม 100 คน มีอำนาจอนุมัติสนธิสัญญา และให้ความเห็นกรณีที่ประธานาธิบดีแต่งตั้งเจ้าหน้า บุคคลต่างๆและกลั่นกรองกฎหมาย

3.ฝรั่งเศส วุฒิสภาฝรั่งเศสมาจากการเลือกตั้งทางอ้อม จากตัวแทนสภาท้องถิ่น ตัวแทนหน่วยงานทางปกครองท้องถิ่น คือถ้า อธิบายแบบไทยๆก็คือ ตัวแทนสภา อบต.อบจ.เทศบาล รวมถึงตัวแทนข้าราชการและบุคลากรท้องถิ่น ทั้งหมด 150,000คนเป็นคนเลือกวุฒิสภา
  • ผมมองว่านี่เป็นความฉลาดของคนออกกฎ รัฐธรรมนูญฝรั่งเศส เพราะเขาให้ท้องถิ่นเป็นนายวุฒิสภา แน่นอนว่าเวลามีกฎหมายที่กระทบท้องถิ่น วุฒิสภาพวกนี้จะโดดเข้ามาปกป้อง หรือกรณีที่ท้องถิ่นได้ประโยชน์ วุฒิสภาเหล่านี้ก็จะรีบฉวยประโยชน์ให้ท้องถิ่นเช่นกัน
คือเป็นการบริหารการเมืองที่ลงตัวและน่าทึ่งที่สุดตามทัศนะผม คือ มีวุฒิสภาก็ได้ แต่มาจากท้องถิ่นเลือกนะ เพื่อจะให้วุฒิสภาทำงานสนองตอบต่อท้องถิ่นที่เลือกตัวเองมาเป็นวุฒิสภา

นี่คือต้นแบบประชาธิไตยทั้ง 3 รูปแบบว่ามีวุฒิสภากันอย่างไร

  • ส่วนที่ไทย เดิมที่เดียวตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับที่ 1-2 ประเทศไทยใช้ระบบสภาเดี่ยว คือไม่มีวุฒิสภา จนมารัฐธรรมนูญฉบับที่ 3 (2489 ) หรือว่ากันว่าเป็นฉบับปรีดี เกิดสภาที่สองขึ้นมา เรียกชื่อว่า พฤฒสภา (ผมมิได้พิมพ์ผิดนะ ) อ่านว่า พึด-สะ-พาพฤฒสภานี้มาจาก 2 ทางคือการเลือกตั้งทางอ้อม และแบบลับ หมายถึงให้ส.ส.ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดนึง ชื่อว่าองค์การเลือกตั้งสมาชิกพฤฒสภา ให้คณะนี้เลือกผู้ที่จะเข้ามเป็นสมาชิก พฤฒสภา
ต่อมาเกิดรัฐประหาร โดยจอมพลผินและประกาศใช้รัฐธรรมนูฐฉบับ ที่ 4หรือฉบับ 2490 ฉายาใต้ตุ่ม มีการเปลี่ยนชื่อจาก พฤฒสภา มาเป็นวุฒิสภาจนวันนี้ และใช้ระบบ 2 สภาเรื่อยมา

กังวาล ทองเตร ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น