กังวาล ทองเนตร

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา Pohthaiblogspot.com

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

หลักภาษีของอดัมสมิธ

อดัม สมิธเป็น 

นักเศรษฐศาสตร์การเมืองผู้บุกเบิกชาวสกอตแลนด์

อดัม สมิธ เป็นที่รู้จักมากที่สุดในฐานะเป็นเจ้าของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ลัทธิเสรีนิยมที่ประณามสมาคมอาชีพในยุโรปยุคคริสต์ศตวรรษที่ 18 (พ.ศ. 2244 - พ.ศ. 2343) สมิธเชื่อในสิทธิ์ของบุคคลที่จะสามารถใช้อิทธิพลของตนเองสร้างความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของตนเองได้อย่างเสรีโดยไม่ต้องตกเป็นหุ่นเชิดของสมาคมอาชีพหรือของรัฐ ทฤษฎีของสมิธมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐศาสตร์เดิมของยุโรป ทำให้ยุโรปส่วนใหญ่เกิดการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระบบการค้าเสรี ที่ยอมให้ผู้ประกอบการรวมตัวกันได้ อดัม สมิธได้รับการยกย่องเป็น "บิดาแห่งเศรษฐศาสตร์"

อดัม สมิธ ได้วางหลักเกณฑ์ที่สำคัญของภาษีอากรไว้เป็น 4 ประการคือ

1.หลักความยุติธรรม ( Equity ) หมายถึงความยุติธรรมแก่ผู้เสียภาษีอากรทุกคนอยู่ในฐานะเท่าเทียมกันจะต้องเสียภาษีอากรเท่ากัน

2. หลักความแน่นอน ( Certainty ) หมายความว่า ผู้เสียภาษีทุกคนควรจะได้รับความแน่นอนเกี่ยวกับเวลาในการชำระภาษี วิธีการชำระภาษี จำนวนภาษี ที่จะต้องชำระ และสถานที่ชำระภาษี

3. หลักความสะดวก (  Convenience ) หมายถึงผู้เสียภาษีทุกคนจะต้องได้รับความสะดวกเกี่ยวกับเวลาในการชำระภาษี

4. หลักประหยัด ( Economy ) หมายถึงหลักประหยัดในการบริหารจัดเก็บภาษีอากร กล่าวคือการจัดเก็บควรจะอยู่ในอัตราต่ำและมีผลต่อการทำงานของเอกชนให้น้อยที่สุด


อย่างไรก็ตามหลักการดังกล่าวของ สมิธ ได้กล่าวไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1776 ซึ่งมีความไม่ทันยุคสมัยจึงมีผู้ได้เพิ่มเข้าไปอีก 4 หลักเพื่อความทันสมัยดังนี้

  •  หลักทำรายได้ดี (  PRODUCTIVITY)
  • หลักความยืดหยุ่น (  FLEXIBILITY )
  • หลักการยอมรับทั่วไป ( ACCEPTABILITY )
  • หลักการบริหารได้ดี ( ADMINISTRATIVE FEASIBILITY )

  • อ้างอิง >>> [  http://th.wikipedia.org/wiki/]
  • ขอบคุณข้อมูลจาก การบริหารหารคลังของรัฐบาล โดย
  •  อ.พูนศรี สงวนชีพ และ อ.เฉลิมพล ศรีหงษ์



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น