รัฐธรรมนูญไทยในหมวดการแก้ไขเพิ่มเติม
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 15 หรือฉบับบ พ.ศ.2534 ได้ระบุหมวดแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ในมาตรา 211 ดังนี้
- มาตรา 211 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจะกระทำได้ก็แต่โดยหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้
( 1 ) ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องมาจากคณะรัฐมนตรีหรือจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่านที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือจากสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะเสนอหรือร่วมเสนอญัตติดังกล่าวได้เมื่อพรรคการเมืองที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้นสังกัดมีมติให้เสนอได้
( 2 ) ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องเสนอเป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมและให้รัฐสภาพิจารณาเป็นสามวาระ
( 3 ) การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่หนึ่งขั้นรับหลักการให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผยและต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา
( 4 ) การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่สองขั้นพิจารณาเรียงตามมาตราให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ
( 5 ) เมื่อการพิจารณาวาระสองเสร็จสิ้นแล้วให้รอไว้สิบห้าวันเมื่อพ้นกำหนดนี้แล้ว ให้รัฐสภาพิจารณาในวาระสามต่อไป
( 6 ) การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่สามขั้นสุดท้ายให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการที่จะให้ออกใช้เป็นรัฐธรรมนูญมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา
( 7 ) เมื่อการลงมติได้เป็นไปตามที่กล่าวแล้วให้นำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้าฯถวายและให้นำบทบัญญัติมาตรา 88 และมาตรา 89 มาใช้บังคับ โดยอนุโลม
- นี่คือบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญฉบับที่ 15 พ.ศ.2534 และมีการแก้ไขเพื่อตั้ง สสร. ในสมัยนาย บรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายก เพื่อนำมาซึ่งการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ปี 2540 หรือฉบับที่ 16
- ส่วนหมวดแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ในฉบับบที่ 16 หรือฉบับ พ.ศ. 2540 ได้วางไว้ ในหมวดที่ 12 มาตรา 313 มี 7 วงเล็บเท่ากัน กับ ฉบับที่ 15 /2534 และเป็นการล้อมาจากฉบับที่ 15 ทั้งมาตรา มีข้อแตกต่างในวงเล็บที่ 7 ในส่วนที่เป็นลิงค์มาตราเท่านั้นคือ ในปี 2540 ให้นำบทบัญญัติในมาตรา 93 และมาตรา 94 มาใช้บังคับโยอนุโลม และเพิ่มคำว่า ทูลกระหม่อมเข้ามา นอกนั้นเหมือนกันทั้งหมด
- เช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญฉบับที่ 18 พ.ศ. 2550 ได้วางหมวดแก้ไขไว้ในรัฐธรรมนูญหมวดที่ 15 มาตรา 291
- ซึ่งก็ได้ล้อมาจาก ฉบับที่ 15 -16 เหมือนกันทุกตัวอักษร มี 7 วงเล็บเช่นกัน แตกต่างในวงเล็บที่ 7 คือลิงค์มาตราเป็น 150 และมาตรา 151 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ในส่วนศาลรัฐธรรมนูญ
- ในรัฐธรรมนูญตั้งแต่ฉบับที่ 15 /2534 ไล่ถอยหลังกลับไปไม่มีคำว่าศาลรัฐธรรมนูญ แต่ใช้คำว่า
ตุลาการรัฐธรรมนูญ โดยฉบับที่ 15 /2534 วางบทบัญญัติดังกล่าวไว้ในมาตรา 200 ดังนี้
- มาตรา 200 คณะตุลาการรัฐธรรมนูญประกอบด้วย ประธานรัฐสภา (ประธานวุฒิสภาเป็นประธานรัฐสภา)
( ก็คือ 4 +6 =10 คน ตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ) โดยให้ประธานรัฐสภาเป็นประธาน ตุลาการรัฐธรรมนูญ
- หมายเหตุ รัฐธรรมนูญไทย ตั้งแต่ ฉบับที่ 15/2534 ไล่ย้อนไป ประธานวุฒิสภาเป็นประธานรัฐสภา ส่วนประธานสภาผู้แทนฯเป็นรองประธานรัฐสภา โดยบทบัญญัติดังกล่าวใน รัฐธรรมนูญฉบับที่ 15/2534 วางไว้ในมาตรา 86 ก่อนมีการเรียกร้องในเหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ ปี 2535 ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา มาจนถึงปัจจุบัน
ส่วนบทบัญญัติ เช่นเดียวกับมาตรา 68 ในรัฐธรรมนูญ ปี 2550
บทบัญญัตินี้ในรัฐธรรมนูญฉบับอื่นไม่มี แต่เริ่มมีในรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 16 หรือฉบับ 2540 นั่นเอง
โดยวางไว้ในมาตรา 63 ของรัฐธรรมนูญ ปี 2540 ดังนี้
มาตรา 63 ของรัฐธรรมนูญปี 2540
- บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้มิได้
- ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้รู้ เห็นการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการดังกล่าว
- ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้พรรคการเมืองใดเลิกกระทำการตามวรรคสองศาลรัฐธรรมนูญอาจสั่งยุบพรรคการเมืองใดก็ได้
- ความในมาตรา 63/2540 กับ มาตรา 68/2550 เหมือนกันทุกตัวอักษร ต่างกันตรงที่ ฉบับ 2540 ใช้คำว่า
- ผู้รู้ ในวรรคสอง ส่วน 68/2550 ใช้คำว่า ผู้ทราบ เท่านั้น
- ฉบับ ที่ 3 ( พ.ศ.2489 ) ในมาตรา 89 ไม่กำหนดตัวผู้ที่จะเป็นประธานตุลาการรัฐธรรมนูญเอาไว้แต่ให้เลือกกันเอง และให้มีวาระตามอายุของสภาผู้แทนราษฎร กล่าวคือเมื่อสภาถูกยุบหรือหมดวาระ ตุลาการรัฐธรรมนูญก็จะสิ้นสภาพไปด้วย
- ฉบับที่ 5 ( 2492 ) ในมาตรา 168 กำหนดให้ประธานรัฐสภา (ประธานวุฒิสภา ) เป็นประธานตุลาการรัฐธรรมนูญ
- ฉบับ พ.ศ.2495 ในมาตรา 106 กำหนดให้ประธานศาลฎีกาเป็นประธานตุลาการรัฐธรรมนูญ
- ฉบับ พ.ศ. 2511 ในมาตรา 164 ให้ประธานรัฐสภาเป็นประธานตุลาการรัฐธรรมนูญ
- ฉบับ พ.ศ.2517 ในมาตรา 218 ไม่ได้กำหนดตัวประธานไว้ให้สมาชิดกเลือกกันเอง
และได้ห้ามมิให้ สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ข้าราชการที่มีตำแหน่งเงินเดือนประจำ พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น เป็น ตุลาการรัฐธรรมนูญโดยกำหนดข้อห้ามไว้ในมาตรา 219 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2517 นี้และกำหนดที่มาของตุลาการรัฐธรรมนูญไว้ โดยให้มีจำนวน 9 คน โดยให้ รัฐสภา คณะรัฐมนตรี และคณะกรรมการตุลาการตามมาตรา 210 เลือกมาฝ่ายละ 3 คนเท่ากัน รวมเป็น 9 คน ทำหน้าที่เป็นตุลาการรัฐธรรมนูญ
- ฉบับ พ.ศ.2521 ในมาตรา 184 ให้ประธานรัฐสภา( ประธานวุฒิ ) เป็นประธานตุลาการฯตามเดิม แต่มีข้อห้าม เช่นเดียวกับมาตรา 219ของฉบับ พ.ศ.2517
- ฉบับ พ.ศ. 2534 ที่ประกาศใช้ในวันที่ 9 ธันวาคม 2534 และลงนามโดย ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน บัญญัติในมาตรา 200ให้ประธานรัฐสภาเป็นประธานตุลาการ
- ฉบับ 2534 แก้ไขครั้งที่ 5 ที่ลงนามโดยนายชวน หลีภัย นายกฯขณะนั้นประกาศใช้ในวันที่ 10กุมภาพันธ์ พ.ศ.2538
หมายเหตุ รัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2534 ครั้งแรกประกาศใช้โดยคณะ รสช.เมื่อ วันที่ 1 มีนาคม 2534ในมาตรา 6 รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ให้มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติขึ้นมาร่างรัฐธรรมนูญ และนำมาซึ่งฉบับที่ นายอุกฤษ มงคลนาวิน ลงนาม และมีการแก้ไข 6 ครั้ง ซึ่งครั้งที่ 6 แก้มาตรา 211 เพื่อให้มี สสร.ร่างรัฐธรรมนูญนำมาซึ่งรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 16 ปี 2540
- ฉบับ พ.ศ.2540 ในมาตรา 255 และเรียกชื่อเป็น ศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อยมาจนฉบับปัจจุบัน 2550
- ฉบับ พ.ศ. 2550 ในมาตรา 204
รัฐธรรมนูญฉบับที่ไม่มีการบัญญัติให้มีตุลาการรัฐธรรมนูญมีดังนี้
- ฉบับ ที่ 1( 2475 ) โดยคณะราษฎร
- ฉบับที่ 2 ( 2475 )
- ฉบับที่ 4 ( 2490 ใต้ตุ่ม )
- ฉบับ พ.ศ. 2515
- ฉบับ พ.ศ.2519
- ฉบับ พ.ศ.2520
- ฉบับ พ.ศ.2534 โดย รสช.
- ฉบับ พ.ศ.2549 โดย คมช.
รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 18 (ปี2550 ) หมวดศาล
มาตรา 197 การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเป็นอำนาจของศาลซึ่งต้องดำเนินการให้เป็นไปโดยยุติธรรม ตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมายและในพระปรมาภิไธย
ผู้พิพากษาและตุลาการมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีให้เป็นไปโดยถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม ตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย
*** จากวรรคหนึ่ง จะเห็นได้ว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่ศาล ตามหมวดศาลนี้ เพราะศาลจะพิจารณาพิพากษาอรรถคดี ภายใต้พระปรมาภิไธย แต่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่ ****
อีกประเด็นสนับสนุนที่ยืนยันว่า ตุลาการสาลรัฐธรรมนูญไม่ใช่ศาลคือ
รัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550 มาตรา 198
มาตรา 198 บรรดาศาลทั้งหลายจะตั้งขึ้นได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติการตั้งศาลขึ้นใหม่เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีใดคดีหนึ่งหรือคดีที่มีข้อหาฐานใดฐานหนึ่งโดยเฉพาะแทนศาล ที่มีอยู่ตามกฎหมายสำหรับพิพากษาคดีนั้น จะกระทำมิได้
มาตรา 198นี้ยืนยันซ้ำอีกว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่ศาล เพราะไม่ได้เกิดขึ้นมาจาก พระราชบัญญัติ แต่ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เกิดขึ้นตาม รัฐธรรมนูญ ว่าด้วยองค์การอิสระตามรัฐธรรมนูญ
- ผมเคยพูดหลายที่แล้วว่า เรื่องยุบพรรคการเมืองมันมีมาตั้งแต่ รัฐธรรมนูญ ฉบับ ปี 2540 และองค์กรอิสระ 9 องค์กรก็เกิดมาจาก รัฐธรรมนูญ ปี 2540 รวมถึงการกีดกันให้ผู้สมัครรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องจบปริญญาตรี ก็มาจากปี 2540 และการบัคับคนให้ออกไปเลือกตั้งก็เกิดจากรัฐธรรมนูญปี 2540เช่นกัน ทุกฉบับก่อนหน้านี้การเลือกตั้งเป็นสิทธิของประชาชน แต่ ปี 2540ให้เป็นหน้าที่ต้องกระทำ ถ้าไม่ทำเสียสิทธิ 8 ประการดังที่รู้
ค้นคว้าและเรียบเรียงโดย
กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์ภาควิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง
(ภาพทั้งหมดเป็นเพียงการใช้เพื่อประกอบเนื้อหาเท่านั้น )
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น