กังวาล ทองเนตร

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา Pohthaiblogspot.com

วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559

เป้าหมายการมีรัฐธรรมนูญ

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย (ไทย)


รัฐธรรมนูญ ( constitution ) ที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่เก่าแก่ที่สุดในโลก คือ รัฐธรรมนูญของประเทศ สหรัฐอเมริกา ซึ่งร่างขึ้นโดย มหาบุรุษ 3ท่าน ของอเมริกาคือ

  1. เบญจมิน แฟรงคลิน
  2. เจมส์ เมดิสัน
  3. อเล็กซานเดอร์  แฮมิลตัน
ซึ่งรัฐธรรมนูญของอเมริกา มีเพียง 7 มาตรา เท่านั้น


รัฐธรรมนูญ อเมริกา


  • ส่วนประเทศอังกฤษ ไม่มีรัฐธรรมนูญ มีเพียงแค่ แมกนาคาร์ตา ซึ่งจารึกเป็นภาษา ละตินแปลว่าเอกสารแผ่นใหญ่ ที่ไม่นับแมกนาคาร์ตาว่ารัฐธรรมนูญ สืบเนื่องมาจาก เนื้อหาใน แมกนาคาร์ตา เป็นเพียงข้อตกลง หรือ สัญญา ระหว่าง กษัตริย์ กับขุนนางอังกฤษในยุคสมัยนั้นเท่านั้น ไม่มีข้อความส่วนใดที่ กำหนด รูปแบบรัฐ โครงสร้างรัฐ โครงสร้างอำนาจ หรือส่วนอื่นๆ ดังนั้นแมกนาคาร์ตา จึงไม่นับเป็นรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด

แมกนาคาร์ตา

รัฐธรรมนูญ ( constitution ) คือกฎหมายแม่แบบ ที่ใช้ในการปกครองประเทศแต่ละประเทศ  เหตุที่รัฐธรรมนูญ ถูกยกให้เป็นกฎหมายแม่ หรือกฎหมายสูงสุด ก็สืบเนื่องมาจาก เนื้อหาในรัฐธรรมนูญจะประกอบด้วยสิ่งต่างๆดังนี้


  1. มีการกำหนดโครงสร้างของรัฐ หรือประเทศ หรือรูปแบบของรัฐ ว่าจะให้เป็นรูปแบบใด เช่น สาธารณะรัฐ ( republic ) สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ( socialism ) ราชอาณาจักร (Kingdom )  เป็นต้น
  2. มีการกำหนดโครงสร้างอำนาจ ว่าแต่ละฝ่ายมี โครงสร้างอำนาจ หน้าที่อย่างไร เช่น ฝ่ายบริหารมีวิธีการเข้าสู่อำนาจอย่างไร และออกจากอำนาจอย่างไร หรือผ่ายตุลาการ นิติบัญญัติ มีโครงสร้างอำนาจอย่างไร มีที่มาที่ไปอย่างไร มีการแยกอำนาจหรือแบบรวมศูนย์อำนาจ
  3. มีการกำหนดรูปแบบการปกครองรัฐหรือประเทศ ว่าใช้รูปแบบการปกครองใด อาทิ รูปแบบประธานาธิบดีแยกอำนาจ (อเมริกาเป็นต้นแบบ ) รูปแบบรัฐสภา (อังกฤษ เป็นต้นแบบ ) รูปแบบกึ่งประธานาธิบดี กึ่งรัฐสภา ( ฝรั่งเศส เป็นต้นแบบ ) หรือรุปแบบอื่นๆเช่น ราชาธิปไตย แบบชนเผ่า เป็นต้น
  4. มีการกำหนดสถาบันต่างๆในทางสังคมขึ้น และแต่ละสถาบัน มีความความสัมพันธ์ เกี่ยวข้องกันอย่างไร เช่น สถาบันพระมหากษัตริย์ หรือ ประธานาธิบดี (ในส่วนที่ทำหน้าที่ ประมุขแห่งรัฐ ) สถาบันทางการเมือง สถาบันทางตุลาการ สถาบันทางการศึกษา และสถาบันทางสังคมอื่นๆ
  5. มีการกำหนดโครงสร้าง หน่วยงานทางการปกครอง มีกี่ระดับ ระดับใดบ้าง มีความสัมพันธ์กันอย่างไร มีการจัดการปกครอง อย่างไร
  6. มีการกำหนดขั้นตอนการใช้อำนาจ ทั้งฝ่ายบริหาร ตุลาการ นิติบัญญัติ ว่ามีขั้นตอนระเบียบปฏิบัติอย่างไร
  7. มีการกำหนดบทบาท สิทธิ หน้าที่ ของ พลเมือง หรือสมาชิกในสังคมนั้นๆว่าต้องมี บทบาท สิทธิ หน้าที่ อย่างไร
  8. มีการกำหนดและคุ้มครอง หรือ รับรอง  บทบาท หน้าที่ สิทธิ ของพลเมืองในประเทศนั้นๆว่าจะได้รับการคุ้มครอง ดูและจากรัฐอย่างไร
  9. มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ ของฝ่ายบริหาร ตุลาการ นิติบัญญัติ ที่พึงกระทำต่อ รัฐ พลเมืองของตนอย่างไร
  • ซึ่งโดยรวมแล้วจะเห็นว่า รัฐธรรมนูญ กำหนดโครงสร้างหลักๆของประเทศ  ต่างๆเอาไว้แบบ กว้างๆไม่เจาะลึกลงในรายละเอียด ซึ่งจะไปเขียนไว้ในกฎหมายลูกแทน
  • ดังนั้นหลักการบัญญัติรัฐธรรมนูญ ตามรูปแบบประชาธิปไตย (ที่เป็นสากล )  จะมุ่งเน้นไปที่ การรับรอง บทบาท หน้าที่ สิทธิทางธรรมชาติ ของมนุษย์ที่พึงมีพึงได้อยู่ก่อนแล้วตามธรรมชาติ ให้มีความถูกต้อง ชอบธรรม มากขึ้นเท่านั้นเอง 
  • รัฐธรรมนูญตามหลักประชาธิปไตยสากลจึงไม่ใช่ การบัญญัติความต้องการของชนชั้นปกครอง ว่าต้องการ กระทำ หรือไม่กระทำสิ่งใด ต่อชนชั้นถูกปกครอง หากแต่เป็นการรับรองสิทธิ ต่างๆที่เกิดขึ้นอยู่แล้วตามธรรมชาติ ให้ถูกต้องยิ่งขึ้นและเป็นสากล
  • รัฐธรรมนูญที่ดี จึงไม่ใช่รัฐธรรมนูญที่เขียนขึ้นจากความต้องการของชนชั้นปกครอง หรือกลุ่มคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หากแต่ เป็นรัฐธรรมนูญ ที่ถูกบัญญัติขึ้น หรือ ทำลายอุปสรรคต่างๆ ที่จะก่อปัญหา ที่จะกระทบสิทธิ พลเมือง หรือ อำนวยความสะดวก หรือสนองตอบความต้องการของพลเมือง เป็นหลัก


กังวาล  ทองเนตร คณะรัฐศาสตร์ ภาควิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง


อดอป ฮิตเลอร์ (ฟาสซิสต์ เยอรมัน )


โฮจิมินต์ (เวียตนาม)


เบนิโต มุสโสลินี (บิดาผู้ก่อตั้งระบอบฟาสซิสต์ อิตาลี )


อินทิรา  คานธี (อินเดีย )


เลนิน ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ (โซเวียต-รัสเซีย )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น