นับแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 โดยคณะราษฎร ตราบจนปัจจุบัน กันยายน พ.ศ.2563 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น 20 ฉบับ โดยผมได้จำแนกแยกย่อยที่มาของรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับ ออกให้เห็นทั้งหมด ดังนี้มาจาก ส.ส.ร. หรือสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ 6ฉบับดังนี้
1. แม้จะยังไม่เรียกว่า ส.ส.ร คือใช้คำว่า กรรมการยกร่าง มี9คนก็คือร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่2ใช้แทนฉบับที่1ของคณะราษฎร
2. ส.ส.ร.ชุดที่2
ซึ่งครั้งนี้เรียกชื่อว่าสภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นครั้งแรก จำนวน40คน มาร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่5เพื่อใช้แทนฉบับที่4 (2490,ใต้ตุ่ม)
3. ส.ส.ร.ชุดที่3
จำนวน240คนมาร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่8เพื่อใช้แทนฉบับที่7(2502)ที่มาจากยึดอำนาจโดยสฤษดิ์
4.ส.ส.ร.ชุดที่4
จำนวน99คนมาร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่16(2540)
5. ส.ส.ร.ชุดที่5
แต่งตั้งโดย คมช.จำนวน100คนมาร่างฉบับที่18
6. ส.ส.ร.ชุดที่6
แต่งตั้งโดย คสช.มาร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่20 (ฉบับปัจจุบัน)
รัฐธรรมนูญที่ร่างโดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ มี 6 ฉบับ
- ฉบับที่ 2ชื่อรัฐธรรมนูญคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475
- ฉบับที่ 5 รัฐธรรมนูญแห่งอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492
- ฉบับที่ 8 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511
- ฉบับที่ 16 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
- ฉบับที่ 18 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
- ฉบับที่ 20รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
มาจากวิธีการอื่นๆ 4 ฉบับดังนี้
- มาจาก ส.ส.หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 2 เสนอร่างแล้วให้สภา อนุมัติ 1 ฉบับคือ ฉบับ ที่ 3
ชื่อรัฐธรรมนูญคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 (สมัยนี้ ผู้แทนราษฎรมี 2 ประเภท )
- มาจากสมัชชาแห่งชาติ ตั้งคณะกรรมการยกร่าง 24 คน ยกร่างแล้วเสนอคณะรัฐมนตรีและสภาอนุมัติ 1 ฉบับคือ ฉบับคือฉบับที่ 10 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517
- มาจาก สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)ตั้งกรรมการยกร่างและอนุมัติ 2ฉบับคือ
ฉบับที่ 13 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 และ
ฉบับที่ 15 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534
มาจากคณะยึดอำนาจและคณะรัฐประหารโดยตรง และคณะเปลี่ยนแปลงการปกครอง 10 ฉบับดังนี้
- ฉบับที่ 1พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 มาจากคณะราษฎร
- ฉบับที่ 4 (ใต้ตุ่ม )รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยชั่วคราว พุทธศักราช 2490มาจากคณะรัฐประหารนำโดย จอมพล ผิน ชุณหวัณ (บิดาพลเอกชาติชาย ชุณหวัณ )
- ฉบับที่ 6 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 มาจากจอมพล ป.(นายกฯ ) เสนอให้สภาอนุมัติ
- ฉบับที่ 7 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 มาจากคณะยึดอำนาจที่ใช้ชื่อว่า คณะปฏิวัติ นำโดย จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
- ฉบับที่ 9 ธรรมนูญปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 มาจาก คณะปฏิวัติโดยจอมพล ถนอม กิตติขจร
- ฉบับที่ 11 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 มาจากคณะปฏิวัติ นำโดย พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ ประกาศใช้
- ฉบับที่ 12รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2520 มาจากการยึดอำนาจซ้ำ นำโดย พลเรือเอก สงัด ชลออยู่
- ฉบับที่ 14 ธรรมนูญปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 มาจาก คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) นำโดย พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์
- ฉบับที่ 17 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยชั่วคราว พุทธศักราช 2549 มาจากคณะปฏิรูปการปกครอง (คมช.) นำโดย พล.อ สนธิ บุญยรัตกลิน
- ฉบับที่ 19รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยชั่วคราว พุทธศักราช 2557 มาจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) นำโดย พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา
รวมทั้งสิ้น 20 ฉบับ
เรากำลังจะเดินไปสู่การตั้ง ส.ส.ร.ชุดที่7 เพื่อจะร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่21เพื่อจะได้ฉีกทิ้งเพื่อที่จะได้ตั้ง ส.ส.ร ชุดที่8+++++ไปอีกจนเมื่อไหร่
นี่คือ ลัทธิรัฐธรรมนูญConstitutionalism.แข่งกันร่างแข่งกันฉีกอยู่ร่ำไปอย่างนั้นหรือ ???
กังวาล ทองเนตร ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง