การแบ่งกลุ่มโลกที่ 1-3
เรามักจะได้ยินมีการเรียกประเทศโลกที่ 1 ประเทศโลกที่ 2 หรือประเทศโลกที่ 3 อยู่เป็นประจำ
แต่ก็ยังไม่เข้าใจความหมายของศัพทฺ์คำนี้
การแบ่งโลกออกเป็น 3 กลุ่มประเทศ มีจุดเริ่มต้นขึ้นในยุคหลังสงครามเย็น
ซึ่งเกิดขึ้นระหว่าง สองค่ายยักษ์ใหญ่ คือ ค่ายเสรีประชาธิปไตย (อเมริกา ) และค่าสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (สหภาพโซเวียต ) โดยการแบ่งนี้ แบ่งตามลักษณะรูปแบบการปกครอง และระบบเศรษฐกิจดังนี้
- กลุ่มประเทศโลกที่ 1 หมายถึงกลุ่มประเทศที่มีรูปแบบการปกครองแบประชาธิปไตยมีระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมหรือการตลาดเสรี กลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม เช่น อเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย อังกฤษ เยอรมัน ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น เป็นต้น
- กลุ่มประเทศโลกที่ 2 คือกลุ่มประเทศที่มีแนวคิดการปกครอง และระบบเศรษฐกิจแบบ สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ หรือมักเรียกอีกอย่างว่า กลุ่มประเทศหัวเลี้ยวหัวต่อ เช่น รัสเซีย จีน ยูเครน คาซัคสถาน โปแลนด์ ฮังการี เป็นต้น
- กลุ่มประเทศโลกที่ 3 ได้แก่ กลุ่มประเทศที่ไม่มี ระบบเศรษฐกิจและการปกครองเป็นของตนเองเป็นการจำเพาะ แต่จะนำเอาการปกครอง และระบบเศรษฐกิจของ กลุ่มโลกที่ 1 โลกที่ 2 มาปรับใช้ ซึ่งมักเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กลุ่มประเทศกำลังพัฒนา หรือกลุ่มประเทศยากจน เช่น เอเซีย เกาหลีเหนือ ไทย อินเดีย กัมพูชา ฯลฯ และแถบประเทศละตินอเมริกา แอฟริกา และประเทศยากจนอื่นอีกทั่วโลก
- สรุปการแบ่งกลุ่มประเทศโลกที่ 1-3 จึงเป็นการแบ่งตามลักษณะรูปแบบการปกครอง ฐานะทางเศรษฐกิจ และระบบเศรษฐกิจ เป็นหลัก
กังวาล ทองเนตร คณะรัฐศาสตร์ ภาควิชาการปกครองมหาวิทยาลัยรามคำแหง