กังวาล ทองเนตร

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา Pohthaiblogspot.com

วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

นครรัฐ( Polis)


นครรัฐ( City-state หรือ ศัพท์รัฐศาสตร์มักใช้คำว่า Polis)

  • นครรัฐเป็นส่วนหนึ่งในวิวัฒนาการทางการเมืองการปกครอง มนุษย์โลกยุคโบราณอาศัยอยู่ตามถ้ำ รูปร่างหน้าตาก็ยังไม่เหมือนมนุษย์ในปัจจุบัน ดังนั้นมนุษย์ในยุคนั้นจึงยังไม่มีระบบการปกครองที่ชัดเจน

  • ในยุคต่อมาเมื่อมนุษย์มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จึงเกิดการรวมตัวกันขึ้น ในรูปแบบชนเผ่า มีหัวหน้าเผ่าเป็นผู้ปกครอง เราจึงถือว่า รูปแบบการปกครองได้ถือกำเนิดขึ้นในยุคชนเผ่า


โดยในแต่ละชนเผ่า ก็มักจะเป็นกลุ่มคนทีมีสายสัมพันธ์กัน ตั้งแต่เกี่ยวพันกันโดยสายเลือด เกี่ยวพันทางการแต่งงาน เป็นต้น ในหนึ่งชนเผ่าอาจมีหลายตระกูลมารวมกันเป็นชนเผ่า 

ลักษณะพิเศษของชนเผ่าคือ จะมีวัฒนธรรม ความเชื่อหรือสิ่งเคารพ เป็นของตนเอง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นบรรพบุรุษที่ถูกยกให้เป็นเทพประจำเผ่านั้นๆ มีภาษาพูดเป็นของตนเอง

  • เมื่อชนเผ่าขยายประชากรเพิ่มมากขึ้นเป็นสังคมใหญ่ มีความซับซ้อนทางสังคมมากขึ้น ความสัมพันธ์แบบครอบครัวลักษณะชนเผ่าเริ่มห่างกันออกไป 
  • การสืบทอดตำแหน่งในสังคมจึงเปลี่ยนไป จากเดิม ที่สืบทอดทางสายโลหิต เปลี่ยนเป็นรูปแบบอื่น 
  • เมื่ออาณาเขตขยาย การเมืองการปกครองก็ถูกปรับเปลี่ยนไปตามสภาพ เมื่อหลายๆเผ่าชนรวมตัวกันขึ้น จึงเกิดเป็นรูปแบบการปกครองใหม่ เรียกว่า นครรัฐ


นครรัฐ และ ลักษณะของนครรัฐ
  • นครรัฐ จะมีลักษณะเป็นเอกเทศ มีอิสระทางการเมือง จากภายนอก
  • นครรัฐ จะต้องมีกฎ ระเบียบ ในการควบคุมพฤติกรรม และกำหนดบทบาทและวิถีชีวิต ของพลเมืองใน นครรัฐของตนเองอย่างชัดเจน
  • นครรัฐ จะมีอิทธิพลเหนือเขตรอบนอกด้วย
ตัวอย่างนครรัฐในอดีต เช่น นครรัฐอูร์ นครรัฐบาบิโลน หรือในกรีกโบราณ ก็จะมีนครรัฐใหญ่ที่มีอิทธิพลต่อนครรัฐอื่น อาทิ  เอเธนส์ ( Athens ) สปาร์ตา โอลิมเปีย  ธีบีส คอรินท์ เป็นต้น

  • การจัดรูปแบบการปกครองในแต่ละนครรัฐ จะแตกต่างกันออกไป เช่น ที่ เอเธนส์ จะปกครองในลักษณะเป็น ประชาธิปไตยทางตรง ส่วนสปาร์ตา จะจัดรูปแบบปกครองเป็นแบบเผด็จการ

นอกจากนี้ ยังมีการจัดแบ่ง ประชากร ออกจากกันเป็นกลุ่มด้วย ในนครรัฐของกรีกโบราณ เช่น สปาร์ตา จะแบ่งประชากร ออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ดังนี้
  1. พลเมือง (  Citizen) ในสปาร์ตา เรียกว่า สปาร์ติเอท ( Spartiates) พวกนี้เป็นเชื้อสาย ดอเรียน เป็นชนชั้นปกครอง และเป็นเผ่าเดียวที่มีสิทธิทางการเมือง
  2. พวกต่างชาติ หรือเรียกว่า เพริออไค ( Perioeci ) พวกนี้ไม่มีสิทธิทางการเมืองในสปาร์ตา แต่มีสิทธิในการประกอบอาชีพทำการค้าอย่างเสรี
  3. พวกชนพื้นเมือง และพวกทาสติดดิน ( Serf) หรือที่เรียกว่า เฮลอท- เซิร์ฟ ( Helot-Serf) ชะตาชีวิตของคนกลุ่มนี้ขึ้นอยู่กับผู้ เป็นนายกำหนด
  • นี่คือลักษณะของอำนาจควบคุมประชาชากร และกำหนดบทบาทประชากร ของผู้ปกครองในนครรัฐ
ในหนึ่งนครรัฐ จะมีผู้ปกครองสูงสุดเป็นราชา หรือกษัตริย์
  • คำว่า กษัตริย์ ( King ) ที่ใช้ในปัจจุบัน มาจากรากศัพท์เดิมในภาษาอังกฤษโบราณ คือ คินน์ ( Cynn) ในยุคต้นคำว่า คินน์ หมายถึง หัวหน้าหรือผู้เป็นหัวหน้า หรือตัวแทนของกลุ่มญาติ ( Kins) ในศัพท์เดิม หมายถึง ผู้ไกล่เกลี่ย หรือตุลาการ หมายถึงผู้นำ และหมายถึงนักรบหรือผู้ปกป้องวงศ์ตระกูลของตนเอง

  • ต่อมาคำว่า King ได้แปลงมาจากภาษาลาติน คือคำว่า  Rex หมายถึงผุ้นำทางศาสนาและพิธีกรรม และศัพท์คำนี้ยังเกี่ยวพันกับภาษาอินดูยูโรเปียน ในคำว่า regulation
ตัวอย่าง นครรัฐในไทย สมัยโบราณ

  • หิริภุญไชย (ลำพูน )
  • เวียงโกไสย ( แพร่ )
  • ชากังราว ( กำแพงเพชร )
  • เวียงพิงค์ (เชียงใหม่ )
  • เขลางนคร (ลำปาง )
  •  ศรีนครลำดวน (ศรีสะเกษ )
  • สกลนคร
  • พระบาง
  • สุพรรณภูมิ (สุพรรณบุรี )
  • ละโว้ ( ลพบุรี ) เป็นต้น
   (ซึ่งแต่ละนครรัฐ จะมีผู้ปกครอง และเป็นอิสระทางการเมือง)

  • นครรัฐที่ยังคงสถานะในปัจจุบันก็คือ นครรัฐวาติกัน ซึ่งอยู่ในประเทศอิตาลี ซึ่งมีลักษณะเป็นรัฐซ้อนรัฐอยู่ในประเทศอิตาลี แต่นครรัฐวาติกัน ปัจจุบันเป็นเพียงนครรัฐทางศาสนาของนิกายโรมันแคทอลิก มีสันตะปาปา หรือโป๊ป เป็นผู้ปกครอง

  • เมื่อนครรัฐ หลายๆนครรัฐ รวมกันขึ้น ก่อกำเนิด การปกครองใหม่เรียกว่า จักรวรรดิ์ 
จักวรรดิ์ จะมีการขยายเขตแดน และอิทธิพลออกไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เช่น จักรวรรดิ์โรมัน หรือในยุคของ นโปเลียน  จักรวรรดิ์มองโกล เป็นต้น

  • เมื่อจักรรดิ์ แตกตัว เสื่อมลง ก็จะเกิดรูปแบบ รัฐ-ชาติ ขึ้นมาแทน
ดังนั้นลักษณะของ นครรัฐ จึงมีรูปแบบมีแบบแผนการปกครอง ซึ่งมีลักษณะเป็นอิสระ เป็นเอกเทศไม่ขึ้นตรงต่อใคร และมีวัฒนธรรม มีภาษา มีกองกำลัง (ทหาร )มีแบบแผนทางเศรษฐกิจ ที่เป็นแบบแผนของตัวเอง มีการควบคุมหรือแบ่งแยก บทบาทหน้าที่ของประชากรอย่างชัดแจ้ง รวมถึงควบคุมกำหนดวิถีชีวิตประชากร จากผู้ปกครองนครรัฐนั้นๆด้วย

  • นครรัฐจึง เป็นคนละเรื่องกับการปกครองรูปแบบพิเศษ ซึ่งการปกครองรูปแบบพิเศษ เป็นการจัดการอำนาจที่ รัฐบาลกลางมีอยู่ ไปให้กับท้องถิ่นเพียงบางส่วน เพื่อความคล่องตัว แต่ไม่ได้ยกอำนาจบริการสาธารณะทั้งหมดไปให้ท้องถิ่นแต่อย่างใด เช่น ด้านความมั่นคง หรือบริการสาธารณะขนาดใหญ่ยังจัดโดยรัฐบาลกลาง

ซึ่งในประเทศไทย การจัดการปกครองท้องถิ่น แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบดังนี้
  1. รูปแบบทั่วไป ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด ( อบจ. ) องค์การบิหารส่วนตำบล ( อบต. ) และ เทศบาล ( สท )
  2. รูปแบบพิเศษ มี 2 องค์การบริหาร คือ กรุงเทพมหานคร และ เมืองพัทยา
  • กรุงเทพมหานคร มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากเมืองพัทยาคือ โดยฐานะของกรุงเทพมหานครแล้ว เป็นเมืองหลวงของประเทศไทย ซึ่งมีขนาด โครงสร้างทางประชากร และความซับซ้อนทางสังคม มากกว่าเมืองพัทยา ส่วนเมืองพัทยา เป็นเพียงส่วนหนึ่งของตำบลในจังหวัดชลบุรีเท่านั้น
  • แต่สถานะภาพของเมืองพัทยา จัดเป็นเทศบาลนคร

  • ดังนั้นทั้งเมืองพัทยา และกรุงเทพมหานคร จึงนำไปเปรียบเทียบกับการปกครองยุคโบราณ ที่เรียกว่า นครรัฐไม่ได้ด้วยประการทั้งปวง

กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์ ภาควิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง



วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

วิธีทำความสะอาดหัวพิมพ์ยี่ห้อCanon


  • เครื่องพิมพ์เป็นอุปกรณ์ประกอบคอมพิวเตอร์ที่สำคัญมาก ไม่น้อยไปกว่าคอมพิวเตอร์

เนื่องจากเมื่อเราสืบค้นข้อมูลข่าวสารต่างๆจากเว็บ จากบล็อกได้แล้ว หรืองานเอกสาร งานพิมพ์อื่นๆ ถ้าขาดเครื่องพิมพ์หรือเครื่องพิมพ์บกพร่อง จะมีปัญหากระทบต่อการทำงานของเราเป็นอย่างมาก

  • ดังนั้นวันนี้ผมจึงแนะนำวิธีดูแลรักษาหัวพิมพ์ของยี่ห้อแคนอนมาให้ทราบกัน เพราะหัวพิมพ์คือหัวใจหลักของเครื่องพิมพ์ ถ้ามีริ้วสีแตก สีไม่ต่อเนื่อง สีไม่ตรงตามต้นฉบับเหล่านี้ล้วนมีผลต่องานของเราแน่นอนวิธีการเบื้องต้นที่เราจะต้องแก้ปัญหาเองคือการทำความสะอาดหัวพิมพ์

การทำความสะอาดหัวพิมพ์ 
  • จะต้องสิ้นเปลืองหมึก และเครื่องพิมพ์บางรุ่น ก็จะมีตัวดูซับหมึกน้อย เมื่อเราทำความสะอาดหลายๆรอบ เครื่องก็จะแสดงสถานะไฟ แอลอีดีว่า E,0,8 ถ้าเครื่องหยุดทำงานและแสดงไฟตามนี้แสดงว่า ที่ดูดซับหมึกเต็ม ต้องทิ้งระยะรอให้หมีกในที่ดูดซับแห้งก่อน ค่อยทำการล้างหัวพิมพ์ หลายๆรอบ จนกว่า สีจะกลับมาตรงตามต้นฉบับ


  • ขั้นตอนต่างๆทำได้ตามรูปและคำอธิบายด้านล่างนี้ ให้ดูรูปใน (1) จะอยู่บนเครื่องแคนอนทุกรุ่น

เมื่อเรากดปุ่มนี้ครั้งที่ 1 จะขึ้นตัว A ( เราควรใส่กระดาษ เมื่อจะใช้สถานะนี้ ) เมื่อขึ้นตัว A แล้วกดปุ่ม color  หรือ  black ปุ่มใดปุ่มหนึ่ง แล้วเครื่องจะพิมพ์ออกมา
ถ้าสี ถูกต้อง
  • แถบบนสุด จะเป็นรูปตารางสีดำ
  • รองลงมาจะเป็นสีฟ้าแก่ และฟ้าอ่อน
  • แถวถัดมาจะเป็นชมพูแก่และชมพูอ่อน
  • แถบล่างสุด จะเป็นเหลืองแก่ และเหลืองอ่อน


เมื่อพิมพ์เสร็จเครื่องจะกลับสถานะเตรียมพร้อม ไฟจะแสดงเป็นเลข 1



เมื่อต้องการล้างหัวพิมพ์ ให้กดปุ่มตาม (1)จนกว่าจะขึ้นตัว Hจากนั้นกดปุ่ม color หรือ black ตามรูปด้านบนอย่างใดอย่างหนึ่ง ( อ่านขั้นตอนให้เข้าใจตามคำอธิบายในรูป )



  • เมื่อทำความสะอาดหัวพิมพ์ตามขั้นตอนปกติแล้วยังไม่หาย ให้ล้างหัวพิมพ์อย่างละเอียดตามขั้นตอนที่ 2 นี้ โดยกดปุ่มใน (1 )จนขึ้นตัว yแล้วเลือก สี หรือดำ และรอจนกว่าไฟสถานะเครื่องจะกลับมาเป็นเลข 1
  • ถ้ายังไม่หายให้ทำซ้ำขั้นตอนนี้อีกจนกว่าสีจะกลับมาเป็นปกติ


( การล้างหัวพิมพ์นี้ ใช้ได้กับกรณีที่สีอุดตัน ในกรณีที่หัวพิมพ์เสียหายหรือหมดอายุจะต้องเปลี่ยนหัวใหม่ )
อ่านคู่มือที่มากับเครื่องที่ลงไว้ในคู่มืออิเลคทรอนิคส์ ที่บริษัทให้มาโดยตรง

ถ้ามีรหัสขึ้นมา ให้ดูรายละเอียดในหน้ารหัสระบุข้อผิดพลาดหรือในบล็อกนี้ได้

<<<< รหัสระบุข้อผิดพลาด >>>>

วิธีดูรหัสข้อผิดพลาดของเครื่องพิมพ์ยี่ห้อ Canon


U305

รหัสระบุข้อผิดพลาดแสดงขึ้นบนจอ LED

สัญญาณไฟเตือนติดสว่างเป็นสีส้ม


เมื่อ เครื่องเกิดข้อผิดพลาด สัญญาณไฟ เตือน(Alarm) ติดสว่างเป็นสีส้มและรหัสข้อผิดพลาดดังต่อไปนี้จะแสดงบนจอ LED ตรวจสอบรหัสระบุข้อผิดพลาดบนจอ LED และทำสิ่งที่เหมาะสมเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาด

* สัญญาณไฟ เตือน(Alarm) ไม่ติดสว่าง ขึ้นอยู่กับข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น

หมายเหตุ
'รหัสสนับสนุน' ในตารางด้านล่างนี้หมายถึงหมายเลขข้อผิดพลาด ซึ่งจะปรากฏบนหน้าจอคอมพิวเตอร์พร้อมกับข้อความเมื่อเกิดข้อผิดพลาด
รหัสสนับสนุน
รหัสระบุข้อผิดพลาด
สาเหตุ
การดำเนินการ
1003
E, 0, 2





(การแสดงค่าจอ LED)
คลิกที่รูปเพื่อขยาย
กระดาษในเครื่องหมด/ไม่มีการป้อนจ่ายกระดาษ
ป้อนกระดาษในเทรย์ด้านหน้าและกดปุ่ม สีดำ(Black) หรือ สี(Color)
เมื่อคุณป้อนกระดาษ ใส่ปึกกระดาษจนกระทั่งขอบกระดาษแตะกับด้านนอกของเทรย์ด้านหน้า
1300
1303
E, 0, 3






(การแสดงค่าจอ LED)
กระดาษติดค้าง
กระดาษอาจมีการติดค้าง นำกระดาษที่ติดค้างออก ป้อนกระดาษใหม่ให้ถูกต้องใส่ในเครื่องจากนั้นกดปุ่ม สีดำ(Black) หรือ สี(Color)
1687
E, 0, 4






(การแสดงค่าจอ LED)
ม่ได้ติดตั้งคาร์ทริด FINE
ไม่ได้ติดตั้งคาร์ทริด FINE
เปิดฝาครอบออกกระดาษ เมื่อฝาครอบส่วนหัวเปิดขึ้น ดันคานโยกตัวล็อกคาร์ทริดหมึกเพื่อยืนยันว่าคาร์ทริด FINE ได้ถูกติดตั้งอย่างถูกต้อง จากนั้น ปิดฝาครอบออกกระดาษ
หากยังไม่สามารถแก้ไขข้อผิดพลาด ให้เอาคาร์ทริด FINE ออก แล้วติดตั้งใหม่อีกครั้ง
1401
1403
E, 0, 5





(การแสดงค่าจอ LED)
ไม่ได้ติดตั้งคาร์ทริด FINE อย่างเหมาะสม/คาร์ทริด FINE ที่เหมาะสมไม่ได้ติดตั้ง
  • คาร์ทริด FINE ไม่ได้ติดตั้ง
    ติดตั้งคาร์ทริด FINE

  • คาร์ทริด FINE ที่เหมาะสมไม่ได้ติดตั้ง
    ใส่คาร์ทริด FINE ที่เหมาะสม

หากยังไม่สามารถแก้ไขข้อผิดพลาดได้ กรุณาติดต่อศูนย์บริการ
1485
E, 05




(การแสดงค่าจอ LED)
คาร์ทริด FINE ที่เหมาะสมไม่ได้ติดตั้ง
คาร์ทริดหมึกที่เหมาะสมไม่ได้ติดตั้ง
การพิมพ์ไม่สามารถทำการได้เพราะคาร์ทริดหมึกไม่สามารถใช้งานได้กับเครื่องนี้
ติดตั้งคาร์ทริดหมึกที่เหมาะสม
หากคุณต้องการเลิกการพิมพ์ ให้กดปุ่มStop/Reset ของเครื่อง

1202
E, 0, 6





(การแสดงค่าจอ LED)
ฝาครอบออกกระดาษเปิดขึ้น
ฝาครอบออกกระดาษเปิดขึ้น ปิดฝาครอบออกกระดาษ
1486
1487
E, 0, 7





(การแสดงค่าจอ LED)
ใส่คาร์ทริด FINEไม่ถูกตำแหน่ง
ตรวจสอบว่าติดตั้งคาร์ทริด FINE แต่ละอันในตำแหน่งที่ถูกต้อง
1702
1704
1712
1714
E, 0, 8





(การแสดงค่าจอ LED)
ตัวดูดซับหมึกใกล้จะเต็ม(ตัวนี้จะเป็น
ฟองน้ำรองอยู่ใต้หัวพิมพ์ด้านในขวาสุดบริเวณที่หัวพิมพ์เตรียมพร้อม)
กดปุ่ม สีดำ(Black) บนเครื่องหรือ สี(Color) เพื่อทำการพิมพ์ต่อไป ติดต่อศูนย์บริการ
4100
E, 1, 2





(การแสดงค่าจอ LED)
ไม่สามารถพิมพ์เนื้อหาบน CREATIVE PARK PREMIUM
คุณไม่สามารถพิมพ์เนื้อหาบน CREATIVE PARK PREMIUM
เมื่อคุณพิมพ์เนื้อหาบน CREATIVE PARK PREMIUM ให้ยืนยันข้อความบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ให้ตรวจสอบว่ามีการติดตั้ง Canon คาร์ทริด FINE อย่างถูกต้อง จากนั้นเริ่มการพิมพ์อีกครั้ง
1686
E, 1, 3







(การแสดงค่าจอ LED)
ไม่สามารถตรวจวัดระดับหมึกที่คงเหลือได้
หมึกอาจจะหมดแล้ว
ฟังก์ชันการตรวจสอบระดับหมึกที่เหลืออยู่จะปิดใช้งานอยู่  เนื่องจากระดับหมึกไม่สามารถตรวจสอบได้อย่างถูกต้อง
หากคุณต้องการพิมพ์ต่อไปโดยไม่ใช้ฟังก์ชันนี้ ให้กดปุ่ม[Stop/Reset] ของเครื่องอย่างน้อย 5 วินาที
Canon แนะนำให้คุณใช้คาร์ทริดหมึกที่แท้ของ Canon แบบใหม่ เพื่อได้คุณภาพที่ดีที่สุด

โปรด สนใจที่ว่า Canon จะไม่รับผิดชอบต่อการทำงานผิดปกติหรืออุปสรรคของเครื่องพิมพ์ซึ่งอาจจะก่อ ให้เกิดขึ้นโดยการดำเนินการพิมพ์ต่อไปในสภาวะหมึกหมด
1684
E, 1, 4






(การแสดงค่าจอ LED)
ไม่พบคาร์ทริด FINE
คาร์ทริดหมึกไม่สามารถรู้จักได้
การพิมพ์ไม่สามารถทำการได้เนื่องจากคาร์ทริดหมึกอาจไม่ได้ติดตั้งอย่างถูกต้องหรืออาจไม่สามารถใช้งานได้กับเครื่องนี้
ติดตั้งคาร์ทริดหมึกที่เหมาะสม
หากคุณต้องการเลิกการพิมพ์ ให้กดปุ่มStop/Reset ของเครื่อง
1682
E, 1, 5


(การแสดงค่าจอ LED)
ไม่พบคาร์ทริด FINE
ไม่พบคาร์ทริด FINE
เปลี่ยนคาร์ทริด FINE

หากยังไม่สามารถแก้ไขข้อผิดพลาด คาร์ทริด FINE อาจได้รับความเสียหาย ติดต่อศูนย์บริการ
1688
E, 1, 6







(การแสดงค่าจอ LED)
หมึกหมดแล้ว
หมึกหมดแล้ว
ให้แทนที่คาร์ทริดหมึกแล้วปิดฝาครอบออกกระดาษ

หากพิมพ์งานค้างอยู่และคุณต้องการพิมพ์ต่อไป ให้กดปุ่ม Stop/Resetของเครื่องอย่างน้อย 5 วินาทีในขณะที่ยังติดตั้งคาร์ทริดหมึกอยู่ แล้วการพิมพ์จะทำต่อในสภาวะหมึกหมด
ฟังก์ชันการตรวจสอบระดับหมึกที่เหลืออยู่จะปิดใช้งานอยู่
ให้แทนที่คาร์ทริดหมึกที่หมดทันทีหลังจากการพิมพ์ หากเลือกพิมพ์ต่อในกรณีหมึกหมด คุณภาพการพิมพ์ของผลลัพธ์จะเป็นที่ไม่น่าพอใจ
1250
E, 1, 7





(การแสดงค่าจอ LED)
เทรย์ด้านหน้าปิด
เปิดเทรย์ด้านหน้าเพื่อทำการพิมพ์ต่อ
-
E, 3, 0





(การแสดงค่าจอ LED)
ขนาดของต้นฉบับไม่สามารถถูกตรวจพบอย่างถูกต้อง หรือ เอกสารมีขนาดเล็กเกินไปเมื่อเลือก ตามขนาดหน้า
  • ตรวจสอบว่าต้นฉบับถูกวางบนกระจกแท่นวางอย่างถูกต้อง
  • ตรวจสอบตำแหน่งและทิศทางของต้นฉบับที่วางบนกระจกแท่นวาง
-
E, 3, 1





(การแสดงค่าจอ LED)
เครื่องไม่ได้เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์
เชื่อมต่อเครื่องและคอมพิวเตอร์ โดยใช้สายเคเบิล USB
1890
E, 4, 0





(การแสดงค่าจอ LED)
วัตถุป้องกันคาร์ทริด FINE หรือเทปติดอยู่
ตรวจสอบภายในเครื่อง หากวัตถุป้องกันหรือเทปติดอยู่ ให้นำออก
-
E, 5, 0










(การแสดงค่าจอ LED)
การสแกนแผ่นการจัดตำแหน่งหัวพิมพ์ล้มเหลว
กดปุ่ม Stop/Reset เพื่อออกจากข้อผิดพลาด จากนั้นทำตามคำอธิบายด้านล่าง
  • ตรวจสอบว่าแผ่นการจัดตำแหน่งหัวพิมพ์ถูกวางบนกระจกแท่นวางในตำแหน่งและแนวทางที่ถูกต้อง
  • ตรวจสอบว่ากระจกแท่นวางและแผ่นการจัดตำแหน่งหัวพิมพ์ไม่เปรอะเปื้อน
  • ตรวจสอบชนิดและขนาดของกระดาษที่ป้อนว่าเหมาะสำหรับการจัดตำแหน่งหัวพิมพ์โดยอัตโนมัติ
    ต้องใช้แผ่นกระดาษธรรมดาขนาด A4  หรือ letter ในการจัดตำแหน่งหัวพิมพ์โดยอัตโนมัติเสมอ
  • ตรวจสอบหากหัวพิมพ์อุดตัน
    พิมพ์รูปแบบตรวจหัวฉีดเพื่อตรวจสอบสถานะของหัวพิมพ์

หากข้อผิดพลาดไม่ได้รับการแก้ไข ให้เชื่อมต่อเครื่องเข้ากับคอมพิวเตอร์และปรับหัวพิมพ์ในไดรเวอร์เครื่องพิมพ์

สัญญาณไฟเตือนกะพริบเป็นสีส้ม




เมื่อสัญญาณไฟ เตือน(Alarm) กะพริบและรหัสข้อผิดพลาดดังต่อไปนี้แสดงบนจอ LED อาจเกิดข้อผิดพลาดที่คุณจำเป็นต้องติดต่อศูนย์บริการ





รหัสสนับสนุน
รหัสระบุข้อผิดพลาด
การดำเนินการ
5100
P, 0, 2

(การแสดงค่าจอ LED)
ยก เลิกการพิมพ์ ให้ปิดเครื่อง จากนั้นให้เอากระดาษที่ติดออก หรือเอาวัสดุที่ขวางไม่ให้ตัวยึดคาร์ทริด FINE เคลื่อนที่ออก จากนั้นเปิดเครื่องอีกครั้ง
ข้อสำคัญ
  • ระวังอย่าสัมผัสชิ้นส่วนภายในเครื่อง เครื่องอาจไม่สามารถพิมพ์งานได้ถูกต้องหากสัมผัสบริเวณดังกล่าว
  • หากยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ กรุณาติดต่อศูนย์บริการ
5B02
5B04
5B12
5B14
P, 0, 7

(การแสดงค่าจอ LED)
เครื่องเกิดข้อผิดพลาด
ติดต่อศูนย์บริการ
B200
P, 1, 0

(การแสดงค่าจอ LED)
ปิดเครื่อง และถอดสายไฟของเครื่องออกจากเต้ารับไฟฟ้า
ติดต่อศูนย์บริการ
5011
5012
5200
5400
6000
6800
6801
6930
6931
6932
6933
6936
6937
6938
6940
6941
6942
6943
6944
6945
6946
กรณีอื่นเหนือกว่า:
ปิดเครื่อง และถอดสายไฟของเครื่องออกจากเต้ารับไฟฟ้า
เสียบเครื่องกลับเข้าที่และเปิดเครื่องใหม่
หากยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ กรุณาติดต่อศูนย์บริการ



  • ขอบคุณข้อมูลจากบริษัทแคนอน
  • กังวาล ทองเนตร

วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556

ทฤษฎีดินแดนหัวใจ


ทฤษฎีดินแดนหัวใจ

 ทฤษฎีดินแดนหัวใจ เป็นหนึ่งในทฤษฏี ภูมิรัฐศาสตร์ ( Geopolitics ) ซึ่งมีด้วยกัน 3 ทฤษฎีคือ

  1. ทฤษฎีดินแดนหัวใจ ( Heartland Theory) ซึ่งหมายถึงพื้นที่ส่วนกลางของอาณาบริเวณยุโรปกับเอเชีย เรียกว่า Eurasian  Land mass บริเวณนี้ถือว่าเป็นส่วนสำคัญมาก เพราะพื้นที่ไม่ติดทะเลทำให้ศักยภาพทางทะเลของมหาอำนาจทางทะเลไม่อาจรุกล้ำเข้าไปได้ บริเวณดังกล่าวได้แก่ ประเทศเยอรมนี กับ ไซบีเรียกลาง เป็นต้น
  2. ทฤษฎีบริเวณขอบนอก ( Rimland Theory) ซึ่งแม็คคินเดอร์ได้เขียนบทความไว้ในปี 1904 กล่าวว่า บริเวณขอบนอกของยุโรป ตะวันออกกลาง แอฟริกา และเอเซียใต้ มีความสำคัญต่อการอยู่รอดของอเมริกา
  3. ทฤษฎีอำนาจทางทะเล ( Sea Power) ถือว่าอำนาจทางทะเล สำคัญต่อการเป็นมหาอำนาจของโลก ผู้ริเริ่มทฤษฎีนี้ พลเรือเอก Alfred Thayer Mahan









ภูมิรัฐศาสตร์ ( Geopolitics )


  • ผู้ริเริ่มวิชาภูมิรัฐศาสตร์ เป็นคนแรกคือ รูดอล์ฟ เชลเลน ชาวสวีเดน ( Kjellen )
  • ต่อมานักภูมิศาสตร์ การเมือง ชาวอังกฤษชื่อ  แฮลฟอร์ด แมคคินเดอร์ 1816-1947 เป็นผู้นำมาพัฒนาต่อยอด
  • มีการมองว่า รัฐ-ชาติเป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่เหนือหรือยิ่งใหญ่กว่าตัวบุคคลแต่ละคน และมีการต่อสู้อยู่ตลอดเวลา ซึ่งผู้ที่จะเป็นฝ่ายชนะจะต้องมี อำนาจในการควบคุม อาณาบริเวณหรือพื้นที่ ของโลก
  • ตามแนวคิดเชิงภูมิรัฐศาสตร์ การพัฒนาพื้นที่เหล่านี้จะขึ้นอยู่กับ กฎ ( Laws) ซึ่งได้มาจากการศึกษาภูมิศาสตร์ และประวัติศาสตร์ และนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงนโยบายต่างประเทศ รวมถึงการวางแผนทางทหารด้วย
  • มีนักวิชาการบางคน ตั้งฉายาให้ ภูมิรัฐศาสตร์ว่า เป็นเสมือน บุตรทางปัญญานอกกฎหมายของวิชาภูมิศาสตร์การเมืองกับรัฐศาสตร์








                     

กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์ ภาควิชาการปกครองมหาวิทยาลัยรามคำแหง



วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

การปฎิวัติเขียว(The Green Revolution)คืออะไร





การปฏิวัติเขียว ( The Green Revolution )


  • เป็นการนำวิชาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยได้นำมาใช้กับการเกษตร โดยการค้นคว้าวิจัย จนสามารถสร้างพันธุ์ข้าวใหม่ขึ้นมาได้ เรียกว่าพันธุ์ข้าวมหัศจรรย์ ( Miracle Rice ) ถือว่าเป็นการปฏิวัติทางเกษตรกรรมของโลก เรียกกันว่า การปฏิวัติเขียว The Green Revolution
  • ภายหลังการปฏิวัติเขียว ส่งผลให้หลายประเทศกลายเป็นประเทศ ผู้มั่งคั่ง มีกำลัง มีอำนาจ โดดเด่นขึ้นมา
  • การปฏิวัติเขียวนี้ เป็นผลจากการสนับสนุนของมูลนิธิ ร็อคกี้เฟลเลอร์ ( Rockefeller ) ที่ให้การสนับสนุนในการวิจัยที่ประเทศ เม็กซิโก เพื่อค้นหาพันธุ์พืชที่ให้ผลิตผลสูงขึ้น






  • ซึ่งผลงานวิจัยที่สำคัญเป็นของ ดร. นอร์แมน อี.บอร์ล็อก ในปี ค.ศ. 1944

ทั้งนี้ผลผลิตข้าวสาลีในเม็กซิโก มีผลผลิตต่ำมาก เพียง 1 ใน 10 ของผลผลิตต่อเอเคอร์ ของผลิตผลต่อเอเคอร์ของอเมริกา เท่านั้น หรือคิดเฉลี่ย เพียง 11 บูเชลส์ ( Bushels ) ต่อ 1 เอเคอร์

  • ในขณะที่อเมริกาที่ อเมริกาให้ผลผลิตสูงถึง 110 Bushels ต่อ 1 เอเคอร์
  • ผลการวิจัยของ ดร. บอร์ล็อก คือได้ข้าวสาลีที่มีต้นเตี้ย ทนแดดทนฝนได้ดี และผลงานข้าวพันธุ์ใหม่ของเขา ได้เผยแพร่ไปยังที่ต่างๆ รวมถึง ประเทศ อินเดีย
  • ส่งผลให้ 7 ปีต่อมา อินเดีย กลายเป็นประเทศที่ส่งออกข้าวสาลี ต่อมา ข้าวพันธุ์มหัศจรรย์ ของ ดร.บอร์ล็อก ได้ขยายเข้าไปยัง ประเทศ ปากีสถาน และฟิลิปปินส์ ด้วย

  • ข้าวสายพันธุ์ใหม่ของ ดร. บอร์ล็อก มีชื่อเสียงไปหลายประเทศ ทั้งด้านผลตอบแทนคุ้มค่ากับการลงทุน
  • จากผลผลิตที่ดีนี้ ส่งผลให้เกษตรกรที่มีทุนสูง สามารถขยายผลผลิตของตัวเองได้มากขึ้น โดยใช้เครื่องจักร เข้ามาช่วย ส่งผลกระทบต่อชาวนาผู้เช่านาเขาทำ ได้รับความเดือดร้อน และเลิกอาชีพทำนานี้ไป


อย่างไรก็ตามผลข้างเคียงที่ตามมาอีกอย่างคือ อัตราการตายลดลง ในขณะที่อัตราการเกิด เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ประชากรของ เม็กซิโก และอินเดีย เพิ่มสูงขึ้น ในที่สุดส่งผลกระทบทางด้านอาหารอีกครั้ง ทำให้ เม็กซิโก และอินเดียต้องสั่งซื้ออาหารเข้ามาเป็นจำนวนมากเพื่อให้เพียงพอกับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ตามไปด้วย


  • การปฏิวัติเขียว ได้ชะงักลงเมื่อปี ค.ศ.1973 หรือ พ.ศ. 2516 เมื่อกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันหรือ กลุ่ม โอเปค ( OPEC) ได้ขึ้นราคาน้ำมัน เป็น 4 เท่าตัว ทำให้ ราคาปุ๋ย ที่มีส่วนผสมของ ไนโตรเจน ( N ) ซึ่งผลิตมาจาก ปิโตรเลียม ราคาสูงขึ้น รวมถึงกระทบต่อกลุ่มเกษตรกรผู้ใช้เครื่องจักร อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้



  • ดร.บอร์ล็อก ได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ในปี ค.ศ.1970 ผลจากการค้นคว้าวิจัยของเขาในคราวนั้น ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงต่อ ระบบอาหารของโลกอย่างมากมาย และนำมาซึ่งการพัฒนาต่อยอดจากความรู้ของเขา สืบมาถึงปัจจุบัน อันเป็นผลสืบเนื่องมาจาก การปฏิวัติเขียวของเขา


 กังวาล  ทองเนตร รัฐศาสตร์ ภาควิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง




Dr.Norman E. Borlaug


Dr.Norman E. Borlaug


Dr.Norman E. Borlaug


Dr.Norman E. Borlaug

Dr.Norman E. Borlaug