กังวาล ทองเนตร

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา Pohthaiblogspot.com

วันพุธที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

หัวใจนักพูด ( อธิบาย )

                                     



        หัวใจนักพูด 13 ประการ  ( อธิบาย )

อย่างที่บอกครับว่า การพูดได้กับการพูดเป็น มันเป็นคนละเรื่องกัน  การพูดได้คือ มนุษย์ทุกคน ถ้าไม่เป็นใบ้ เมื่อถึงเวลา ก็พูดได้เองตามธรรมชาติ ตามพ่อแม่ แต่การพูดเป็น คือการพูดให้ถูกกาละเทศะ พูดให้ได้ใจคน และการที่จะทำอย่างนั้นได้ จึงจำเป็นจะต้องมีการเรียนรู้และฝึกฝน

 ในเบื้องต้นจึงขออธิบาย หัวใจของนักพูดทั้ง 13 ประการ พอให้เข้าใจเพื่อเป็นแนวทางต่อไป

 1. เตรียมให้พร้อม

 หมายถึง ผู้พูด หรือนักพูด ต้องหาข้อมูล ให้ชัดเจนว่า เจ้าภาพที่เชิญเราไปพูด พูดในโอกาสอะไร มีหัวข้อหรือไม่ หัวข้อเกี่ยวกับอะไร พูดให้ใครฟัง ผู้ฟังมีระดับการศึกษาระดับไหน พูดในห้องปิดหรือห้องเปิด และพูดเป็นคนที่เท่าไหร่ ได้เวลาพูด กี่นาที เหล่านี้คือข้อมูลเบื้องต้นที่ผู้พูดต้องแสวงหาหรือสอบถามจากเจ้าภาพให้ชัดเจน แล้วผู้พูดจึงมาเรียบเรียงเรื่องที่จะพูด ให้เหมาะกับเวลา สถานที่ กับคนฟัง   เช่น ถ้าพูดให้ชาวบ้านธรรมดา ฟัง เราก็ใช้ภาษา ชาวบ้านพื้นๆ เข้าใจง่าย ถ้าพูดกับคนมีการศึกษาเราอาจใช้ภาษาที่เป็นแบบแผนมีวิชาการ มีแหล่งข้อมูลอ้างอิง เพื่อให้การพูดเราน่าเชื่อถือ นี่คือขั้นตอน เตรียมตัว หรือเตรียมให้พร้อม


2. ซ้อมให้ดี 

หมายถึง เมื่อเราได้ข้อมูลจากข้อ 1 มาพร้อมแล้ว เราก็มากำหนดเรื่องที่จะพูด ให้พอเหมาะกับเวลาที่เราได้มา โดยเราต้องซ้อมพูดจนให้จำได้ขึ้นใจ ซ้อมท่าที การวางตัว และจับเวลา ให้จบลงให้ได้ในเวลา ถ้าไม่พอดีเราก็สามารถปรับเนื้อหาลงได้ เนื่องจากอยู่ในขั้นตอนซ้อม

3. ท่าทีให้สง่า

หมายถึง ผู้พูดต้องสร้างความน่าสนใจ โดยให้ความสำคัญกับบุคคลิกของตนเองให้มีความน่าเชื่อถือ ในสายตาผู้ฟัง การแต่งตัว ต้องไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป ควรระวังในเรื่องเครื่องประดับสำหรับผู้พูดที่เป็นสุภาพสตรี โดยเฉพาะเครื่องประดับที่ดูวูบวาบ เช่น กำไร ต่างหู ไม่ควร ดูเวอร์เกินไป เพราะจะดึงดูดความสนใจผู้ฟังมากกว่า เนื้อหาที่เราพูด

4. วาจาให้สุขุม

ในการพูดแต่ละครั้ง กิริยาของผู้พูดเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะทำให้ผู้พูดประสบความสำเร็จในการพูดหรือไม่ เราต้อง รู้จักใช้คำในการพูดให้เหมาะสมกับผู้ฟัง  ไม่ใช่พูดไปหัวเราะไป จะทำให้ขาดความน่าสนใจ เราเป็นนักพูด ไม่ใช่แสดงตลก เป้าหมายเราคือ ความสำเร็จในการพูด ความน่าเชื่อถือ แต่การพูดต้องไม่แข็งทื่อ ขาดรสชาติ เกร็ง ต้องพูดให้เป็นธรรมชาติที่สุด

5. ทักที่ประชุมอย่าวกวน

ารทักที่ประชุม เป็นสิ่งแรกที่ผู้พูดต้องเอ่ยปากพูดก่อนทุกครั้งที่พูด เราต้องรู้ว่าในที่ประชุมนั้น ใครเป็นประธานในงานใครใหญ่ที่สุดในงานนั้น เช่น งานแต่งงาน เจ้าภาพ อาจเชิญ นายกฯ รัฐมนตรี หรือผู้นำท้องถิ่นอื่นๆ มาเป็นประธานในงาน เราต้องทักคนนั้นก่อน เช่น เชิญ นายก อบจ.มาเป็นประธาน เราต้องทักที่ประชุมโดยเริ่มจาก 
   ท่านนายก องค์การบริหารส่วนจังหวัด แล้วตามด้วยชื่อ นายก อบจ . แล้วทักต่อมาคือ ท่านเจ้าภาพ และแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน
 (ท่านนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่นนายบุญลือ ชื่อกระฉ่อน ท่านเจ้าภาพ และแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน ) การทักที่ประชุมต้องไม่ทักให้ยาวเช่นเรารู้จักหลายคนเราทักจนหมด เช่น

ท่านนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น นายบุญลือ ชื่อกระฉ่อน ท่าน สจ.ท่าน กำนัน ท่านผู้กำกับ ท่านผู้ใหญ่บ้าน ท่านอบต. ท่านเจ้าภาพ..........ยาวไปเรื่อย ( นักพูดที่ดีต้องไม่ทำในสิ่งเหล่านี้ )

6 . เริ่มต้นให้โน้มน้าว

การพูดจะน่าสนใจหรือไม่ ตัดสินที่การเริ่มต้นเป็นหลัก การเริ่มต้นที่ดี ทำให้การพูดต่อไปราบรื่น หลังจากที่เราทักที่ประชุมแล้ว เราต้องหา คำคมหรือสำนวน อื่นๆ มาให้เข้ากับงาน เช่นในงานแต่ง ซึ่งคนส่วนใหญ่ สนใจอยู่กับการกิน และพูดคุย ไม่สนใจบรรยากาศบนเวที เราต้องมีวิธีการ ดึงคนฟังให้หันมาสนใจเราให้ได้  เช่น ท่านทั้งหลายครับ ท่านสละเวลา หันมามองผมสักนิด ท่านเห็นสิ่งที่ผมถืออยูในมือไหมครับ  แล้วก็ชูมือขึ้น แล้วพูดต่อว่า ตะเกียบครับ การที่ใครซักคนจะตกลงมาใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน จนเกิดงานแต่งงานขึ้นก็เหมือนกับตะเกียบคู่นี้ ตะเกียบจะขาดข้างใดข้างหนึ่งไปไม่ได้ เหมือนกับชีวิตคู่ ต้องเดินไปด้วยกัน .........เมื่อเราดึงผู้ฟังได้แล้วเราก็ว่าเรื่องของเราไป

หรือใช้มุกขำๆ เช่น  ท่านที่จอดรถ อยู่ชั้น 1 ชั้น2 ชั้น3ว่าไปจนครบ ทุกคนก็เริ่มสนใจเราว่าจะพูดอะไรต่อไป เกี่ยวกับรถเขาหรือไม่  เราก็หักมุม กรุณาฟังผมสักนิด................ว่าไป นี่คือวิธีดึงดูดผู้ฟังมาหาเรา

สิ่งที่ไม่ควรพูดในงานแต่งงานที่มีคนกำลังกินอาหารอยู่ เช่น นาย  ก.ถุกกำหนดให้เป็นผู้แทนบ่าวสาว พอขึ้นพูด ก็ไม่ทักที่ประชุม แค่ทักว่า ท่านทั้งหลายครับ ผมต้องขอโทษด้วยที่ผมมาช้า เหตุที่ผมมาช้าไม่ใช่เพราะอะไรครับ เพราะผมขี้แตก ขี้แตกทั้งคืน จนแสบตูด แถมมีเม็ดพริกออกมาด้วยผมต้องให้น้ำเกลืออยู่เป็นชั่วโมงค่อยลุกมาได้ แล้วก็บรรยายเรื่องขี้แตกของแกไปจนครึ่งชั่วโมงก็ลงไม่เป็น ( พูดไม่เป็น )



                        วันนี้ขออธิบาย 6 หัวข้อก่อน และจะอธิบายในหน้าต่อไป

                                                             กังวาล  ทองเนตร

วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

หัวใจนักพูด 13 ประการสำหรับผู้ที่ต้องการเป็นนักพูดมืออาชีพ




  • ในฐานะที่เคยผ่านการอบรมฝึกการพูด และเคยได้ทำหน้าที่ วิจารณ์นักพูดรุ่นน้องและผ่านเวทีมาพอสมควรก็ขออนุญาตครูบาอาจารย์ที่ถ่ายทอดความรู้ให้มา และขอนำมาถ่ายทอดต่อเพื่อเป็นประโยชน์กับผู้แสวงหา ต่อไป

                                                     ( กังวาล ทองเนตร )

             หัวใจนักพูด 13 ประการ (โดย พล.ต.ม.ร.ว.คึกฤทธฺิ์ ปราโมช )

1 )        เตรียมให้พร้อม

2)        ซ้อมให้ดี

3)       ท่าทีให้สง่า

4 )      วาจาให้สุขุม

5 )      ทักที่ประชุมอย่าวกวน

6 )        เริ่มต้นให้โน้มน้าว

7 )       เรื่องราวให้กระชับ

8 )       ตาจับที่ผู้ฟัง

9 )      เสียงดังแต่พอดี

10 )     อย่าให้มีเอ้ออ้า

11 )    ดูเวลาให้พอครบ

12 )    สรุปจบให้จับใจ

13 )   จากไปให้คิดถึง





                                             หัวใจนักพูด 13 ประการ  ( อธิบาย )

อย่างที่บอกครับว่า การพูดได้กับการพูดเป็น มันเป็นคนละเรื่องกัน  การพูดได้คือ มนุษย์ทุกคน ถ้าไม่เป็นใบ้ เมื่อถึงเวลา ก็พูดได้เองตามธรรมชาติ ตามพ่อแม่ แต่การพูดเป็น คือการพูดให้ถูกกาละเทศะ พูดให้ได้ใจคน และการที่จะทำอย่างนั้นได้ จึงจำเป็นจะต้องมีการเรียนรู้และฝึกฝน

 ในเบื้องต้นจึงขออธิบาย หัวใจของนักพูดทั้ง 13 ประการ พอให้เข้าใจเพื่อเป็นแนวทางต่อไป

 1. เตรียมให้พร้อม

 หมายถึง ผู้พูด หรือนักพูด ต้องหาข้อมูล ให้ชัดเจนว่า เจ้าภาพที่เชิญเราไปพูด พูดในโอกาสอะไร มีหัวข้อหรือไม่ หัวข้อเกี่ยวกับอะไร พูดให้ใครฟัง ผู้ฟังมีระดับการศึกษาระดับไหน พูดในห้องปิดหรือห้องเปิด และพูดเป็นคนที่เท่าไหร่ ได้เวลาพูด กี่นาที เหล่านี้คือข้อมูลเบื้องต้นที่ผู้พูดต้องแสวงหาหรือสอบถามจากเจ้าภาพให้ชัดเจน แล้วผู้พูดจึงมาเรียบเรียงเรื่องที่จะพูด ให้เหมาะกับเวลา สถานที่ กับคนฟัง   เช่น ถ้าพูดให้ชาวบ้านธรรมดา ฟัง เราก็ใช้ภาษา ชาวบ้านพื้นๆ เข้าใจง่าย ถ้าพูดกับคนมีการศึกษาเราอาจใช้ภาษาที่เป็นแบบแผนมีวิชาการ มีแหล่งข้อมูลอ้างอิง เพื่อให้การพูดเราน่าเชื่อถือ นี่คือขั้นตอน เตรียมตัว หรือเตรียมให้พร้อม


2. ซ้อมให้ดี 

หมายถึง เมื่อเราได้ข้อมูลจากข้อ 1 มาพร้อมแล้ว เราก็มากำหนดเรื่องที่จะพูด ให้พอเหมาะกับเวลาที่เราได้มา โดยเราต้องซ้อมพูดจนให้จำได้ขึ้นใจ ซ้อมท่าที การวางตัว และจับเวลา ให้จบลงให้ได้ในเวลา ถ้าไม่พอดีเราก็สามารถปรับเนื้อหาลงได้ เนื่องจากอยู่ในขั้นตอนซ้อม

3. ท่าทีให้สง่า

หมายถึง ผู้พูดต้องสร้างความน่าสนใจ โดยให้ความสำคัญกับบุคคลิกของตนเองให้มีความน่าเชื่อถือ ในสายตาผู้ฟัง การแต่งตัว ต้องไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป ควรระวังในเรื่องเครื่องประดับสำหรับผู้พูดที่เป็นสุภาพสตรี โดยเฉพาะเครื่องประดับที่ดูวูบวาบ เช่น กำไร ต่างหู ไม่ควร ดูเวอร์เกินไป เพราะจะดึงดูดความสนใจผู้ฟังมากกว่า เนื้อหาที่เราพูด

4. วาจาให้สุขุม

ในการพูดแต่ละครั้ง กิริยาของผู้พูดเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะทำให้ผู้พูดประสบความสำเร็จในการพูดหรือไม่ เราต้อง รู้จักใช้คำในการพูดให้เหมาะสมกับผู้ฟัง  ไม่ใช่พูดไปหัวเราะไป จะทำให้ขาดความน่าสนใจ เราเป็นนักพูด ไม่ใช่แสดงตลก เป้าหมายเราคือ ความสำเร็จในการพูด ความน่าเชื่อถือ แต่การพูดต้องไม่แข็งทื่อ ขาดรสชาติ เกร็ง ต้องพูดให้เป็นธรรมชาติที่สุด

5. ทักที่ประชุมอย่าวกวน

ารทักที่ประชุม เป็นสิ่งแรกที่ผู้พูดต้องเอ่ยปากพูดก่อนทุกครั้งที่พูด เราต้องรู้ว่าในที่ประชุมนั้น ใครเป็นประธานในงานใครใหญ่ที่สุดในงานนั้น เช่น งานแต่งงาน เจ้าภาพ อาจเชิญ นายกฯ รัฐมนตรี หรือผู้นำท้องถิ่นอื่นๆ มาเป็นประธานในงาน เราต้องทักคนนั้นก่อน เช่น เชิญ นายก อบจ.มาเป็นประธาน เราต้องทักที่ประชุมโดยเริ่มจาก 
   ท่านนายก องค์การบริหารส่วนจังหวัด แล้วตามด้วยชื่อ นายก อบจ . แล้วทักต่อมาคือ ท่านเจ้าภาพ และแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน
 (ท่านนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่นนายบุญลือ ชื่อกระฉ่อน ท่านเจ้าภาพ และแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน ) การทักที่ประชุมต้องไม่ทักให้ยาวเช่นเรารู้จักหลายคนเราทักจนหมด เช่น

ท่านนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น นายบุญลือ ชื่อกระฉ่อน ท่าน สจ.ท่าน กำนัน ท่านผู้กำกับ ท่านผู้ใหญ่บ้าน ท่านอบต. ท่านเจ้าภาพ..........ยาวไปเรื่อย ( นักพูดที่ดีต้องไม่ทำในสิ่งเหล่านี้ )

6 . เริ่มต้นให้โน้มน้าว

การพูดจะน่าสนใจหรือไม่ ตัดสินที่การเริ่มต้นเป็นหลัก การเริ่มต้นที่ดี ทำให้การพูดต่อไปราบรื่น หลังจากที่เราทักที่ประชุมแล้ว เราต้องหา คำคมหรือสำนวน อื่นๆ มาให้เข้ากับงาน เช่นในงานแต่ง ซึ่งคนส่วนใหญ่ สนใจอยู่กับการกิน และพูดคุย ไม่สนใจบรรยากาศบนเวที เราต้องมีวิธีการ ดึงคนฟังให้หันมาสนใจเราให้ได้  เช่น ท่านทั้งหลายครับ ท่านสละเวลา หันมามองผมสักนิด ท่านเห็นสิ่งที่ผมถืออยูในมือไหมครับ  แล้วก็ชูมือขึ้น แล้วพูดต่อว่า ตะเกียบครับ การที่ใครซักคนจะตกลงมาใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน จนเกิดงานแต่งงานขึ้นก็เหมือนกับตะเกียบคู่นี้ ตะเกียบจะขาดข้างใดข้างหนึ่งไปไม่ได้ เหมือนกับชีวิตคู่ ต้องเดินไปด้วยกัน .........เมื่อเราดึงผู้ฟังได้แล้วเราก็ว่าเรื่องของเราไป

หรือใช้มุกขำๆ เช่น  ท่านที่จอดรถ อยู่ชั้น 1 ชั้น2 ชั้น3ว่าไปจนครบ ทุกคนก็เริ่มสนใจเราว่าจะพูดอะไรต่อไป เกี่ยวกับรถเขาหรือไม่  เราก็หักมุม กรุณาฟังผมสักนิด................ว่าไป นี่คือวิธีดึงดูดผู้ฟังมาหาเรา

สิ่งที่ไม่ควรพูดในงานแต่งงานที่มีคนกำลังกินอาหารอยู่ เช่น นาย  ก.ถุกกำหนดให้เป็นผู้แทนบ่าวสาว พอขึ้นพูด ก็ไม่ทักที่ประชุม แค่ทักว่า ท่านทั้งหลายครับ ผมต้องขอโทษด้วยที่ผมมาช้า เหตุที่ผมมาช้าไม่ใช่เพราะอะไรครับ เพราะผมขี้แตก ขี้แตกทั้งคืน จนแสบตูด แถมมีเม็ดพริกออกมาด้วยผมต้องให้น้ำเกลืออยู่เป็นชั่วโมงค่อยลุกมาได้ แล้วก็บรรยายเรื่องขี้แตกของแกไปจนครึ่งชั่วโมงก็ลงไม่เป็น ( พูดไม่เป็น )



                        

7.เรื่องราวให้กระชับ

การพูดจะน่าสนใจหรือไม่ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เนื้อเรื่อง หรือการเรียบเรียง ก็เป็นอีกประเด็น เรื่องที่จะพูดต้องเป็นเรื่องที่น่าสนใจ หรือกำลังอยู่ในความสนใจของสังคม หรือถ้าถูกกำหนดหัวข้อมาให้ก็ควรหามุกสอดแทรกเข้าไปเป็นจังหวะๆ เรื่องที่พูดต้องไม่ยาวเยิ่นเย้อ น่าเบื่อ หรือไม่สั้นเกินไปจนไม่ได้ใจความ
แต่ควรเป็นเรื่องที่มีเนื้อหาสาระครบถ้วนและมีมุกตลกขบขันแทรก และสรุปจบให้ลงตัวและสมบูรณ์ที่สุด

8 .ตาให้จับที่ผู้ฟัง

การพูดโดยทั่วไป ผู้พูดจะอยู่บนเวทีที่มีความสูงกว่าผู้ฟังอยู่เสมอ ผู้พูดที่ดีต้องใช้สายตากวาดไปให้ทั่ว ซ้ายที ขวาที แล้วหยุดอยู่ตรงกลาง แล้วกวาดสายตาอีกรอบทำเช่นนี้ไปเรื่อยให้เป็นธรรมชาติ ระวังการ
กวาดสายตา ต้องให้หน้าไปด้วย อย่าสอดสายตาไปอย่างเดียวหน้าไม่ไปมันจะทำให้ เสียบุคคลิกทำให้สายตาดู รอกแร็ก ขาดความน่าเชื่อถือ และอย่าจ้องตาผู้ฟังหรือหยุดสายตาไว้ที่จุดใดจุดหนึ่งนานๆ ผู้พูดควรมองผู้ฟังบริเวณหน้าผาก เพราะเป็นระดับสายตาที่ผู้ฟังจะมองขึ้นมาเห็นเรามองเขาได้ระดับพอดีกัน

9.  เสียงดังแต่พอดี

น้ำเสียงเป็นหัวใจสำคัญของการพูด นักพูดที่ดีต้องรู้จักศิลปะ การใช้เสียง เสียงพูด ต้องไม่เบาเกินไป ต้องไม่ดังเกินไป และต้องไม่ตระโกน ใส่ผู้ฟัง
แต่เราควรใช้เสียงเพื่อสื่อเนื้อเรื่องที่เราพูดนั้นออกมาให้เห็นภาพ เช่น เล็ก ใหญ่ น่ากลัว น่าเกลียด เหล่านี้คืออารมณ์ที่เราต้องใส่เข้าไปในน้ำเสียงเพื่อให้ผู้ฟังเห็นภาพพจน์
น้ำเสียงต้องมีสูง มีต่ำ ตามอารมณ์ของเรื่องที่พูด เป็นจังหวะจะโคน เหมือนเสียงดนตรี ถ้ามีระดับเสียงเดียว ก็ไม่น่ารับฟัง  เสียงพูดก็เช่นกัน ต้องมีผ่อนสั้นผ่อนยาว ลากเลื้อยไปตามอารมณ์ของเนื้อหาที่พูด น้ำเสียงต้องไม่ราบเรียบเป็นโทนเดียว

10. อย่าให้มีเอ้ออ้า


ในทางการพูดจะมีคำขยะอยู่หลายคำซึ่งวงการเราเลี่ยงที่จะใช้ หนึ่งในนั้นคือ คำว่า เอ้อ อ้า เพราะมันแสดงออกให้ผู้ฟังรู้สึกได้ว่า ผู้พูดไม่มีความรู้ในเรื่องที่พูด ไม่มีความจัดเจน ไม่เข้าใจ ไม่พรั่งพรูในการพูด พูดไปแล้วก็หยุด เอ้อ อ้าตลอดเส้นทางมันสะดุดตลอด ทำให้การพูดนั้นล้มเหลว ตกม้าตายขาดความน่าเชื่อถือ ผู้พูดที่ดีต้องหลีกเลี่ยง คำพวกนี้ ด้วยการเตรียมตัวและซ้อมให้ดี


11. ดูเวลา ให้พอครบ

ในการพูดแต่ละครั้งจะถูกกำหนดไว้ด้วยหัวข้อ และเวลา เวลาคือความรับผิดชอบของผู้พูดต้องรับผิดชอบบนเวที ผู้พูดต้องเตรียมเรื่องมาให้พอดีกับเวลา และพูดให้มีข้อสรุปจบลงให้ได้ในเวลาที่ได้มา เพราะถ้าเราพูดไม่มีที่ลงก็เหมือนเครื่องบินที่หาสนามลงไม่ได้ ในขณะที่พิธีกรบนเวทีกำลังรอไมค์อยู่ ในขณะผู้ฟังรอคำสรุปอยู่ ในที่สุดก็จะกดดันตัวเองทำให้หาที่ลงไม่ได้ และเกินเวลา วิทยากรคนอื่นไป ทำให้ผู้พูดเสียภาพลักษณ์ และเสียหาย

12. สรุปจบให้จับใจ

การสรุปจบ คือสิ่งที่ผู้พูดต้องพึงระวังให้ดี ถึงแม้เราจะเริ่มต้นมาดีตลอด แต่ถ้าสรุปจบด้วยคำว่า แค่นี้ครับ แค่นี้ค่ะ วงการพูดเราถือว่าผู้พูดนั้นตกม้าตายตอนจบ การสรุปจบก็เช่นเดียวกับการเริ่มต้นพูดคือดึงดูดใจผู้พูดให้มาหาเราก่อน เมื่อดึงคนฟังมาได้ ฉากสุดท้ายต้องสรุปเนื้อหาลงให้ประทับใจผู้ฟัง โดยสำนวนหรือคำคมดีๆ ที่มีเนื้อหาเข้ากับเรื่องที่เราพูดมาหรือเราคิดขึ้นมาเองก็ได้แต่ต้องสอดคล้องกันกับเนื้อหาที่พูดมาทั้งหมดด้วย

13. จากไปให้คิดถึง

เป็นขั้นตอนสุดท้ายทั้งหมดที่เราเริ่มพูดมา ว่าคนฟังจะจดจำเราในฐานะวิทยากรผู้พูดได้หรือไม่ หรือจะล้มเหลว ก็ขึ้นอยู่กับกระบวนการที่เราพูดมาตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ ถ้าผู้ฟังประทับใจเรา นั้นบ่งบอกว่าชื่อเสียงของผู้พูดจะถูกบรรจุเข้าไว้ในกล่องความจำของผู้ฟังเรียบร้อย การพูดครั้งต่อๆไป จึงเป็นเครดิตของผู้พูดเองที่สร้างไว้ในการพูดแต่ละครั้ง จงนำหัวใจผู้ฟังกลับไปให้ได้ทุกครั้งที่ลงจากเวที




หมายเหตุ ..


  • ข้อพึงปฏิบัติ และพึงระวังทุกครั้งที่ขึ้นพูด 


1. ไม่ควรดื่มน้ำอัดลมก่อนขึ้นพูด เพราะจะทำให้เลอขณะพูด

2. ก่อนพูดเมื่อขึ้นถึงเวทีแล้ว ให้เช็คไมค์ด้วยการใช้นิ้วเคาะไมค์เบาๆ ว่าไมค์ไม่มีปัญหา

3. ปรับเสาไมค์ให้มีความเหมาะสมกับปากเราขณะพูด อย่าให้ไมค์บังหน้า ไมค์ควรอยู่ห่างจากปากประมาณ 1 คืบ  ถ้าเป็นคอนเดนเซอร์ไมค์ และ 7-10 เซ็นติเมตรถ้าเป็นไดนามิคไมค์

4. ก่อนพูดอย่างอื่น ต้องแสดงสีหน้ายิ้มแย้มก่อนทุกครั้งเป็นการเปิดเวทีเปิดทาง เปิดใจผู้ฟัง

5. ทุกครั้งที่นำคำพูดหรือคำคมใครมากล่าวในการพูด ต้องระบุชื่อ หรืออ้างชื่อผู้ที่เป็นเจ้าของคำพูดหรือคำคมนั้นเสมอ เป็นมายาท เป็นการให้เกียรติ และเป็นการขออนุญาตเจ้าของงานลิขสิทธิ์นั้น  เช่น

เติ้งเสี่ยวผิงกล่าวว่า อย่าไปสนใจว่าแมวมันจะมีสีอะไรขอให้มันจับหนูได้ก็พอ

หรือ พล.อ. ชาติชาย ชุณหวัณ กล่าวว่า ก่อนพูด เราเป็นนายคำพูด แต่หลังพูดคำพูดเป็นนายเรา เป็นต้น

6. มือควรวางไว้ลำตัวขณะพูด ควรใช้มือประกอบการพูดเพื่อให้เห็นภาพ หรืออธิบายคำพูดเป็นบางครั้งเท่านั้นอย่าใช้มือพร่ำเพรื่อ แต่สื่อความหมายไม่ได้ และอย่าใช้มือชี้หน้าผู้ฟัง เป็นอันขาด เพราะเป็นการผิดมารยาทการพูดอย่างรุนแรง




  • คำอธิบายทั้งหมด ไม่ได้คัดลอกมาจากหนังสือหรือข้อเขียนจากที่ใด แต่ผู้เขียนเขียนขึ้นจากประสบการณ์และความรู้ที่ครูบาอาจารย์ได้ถ่ายทอดมา ส่วนหัวใจนักพูดเป็นลิขสิทธิ์ของ พล.ต.ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ต้องกราบอนุญาตท่านที่จะนำมาเผยแพร่และอธิบายความเพื่อเป็นวิทยาทานแด่นักพูดรุ่นน้องต่อไป


                                          กังวาล  ทองเนตร


  • ผู้ที่สนใจจะเข้ารับการฝึกอบรมทางการพูด ติดต่อได้ที่  สมาคม ฝึกการพูดแห่งประเทศไทย อาคารสยามคอนโดมิเนียมชั้นบนสุด สี่แยก อ.ส.ม.ท. ถนนพระราม 9 กรุงเทพ ได้ทุกวัน

                                                             กังวาล  ทองเนตร

วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ข้อมูลรัฐธรรมนูญไทย 19 ฉบับ




                                        ข้อมูลรัฐธรรมนูญไทย 19 ฉบับมีดังนี้

ฉบับที่ 1 . : พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475


  • มีจำนวน 39 มาตรา
  • ระยะเวลาบังคับใช้ 5 เดือน 13 วัน
  • ที่มา : คณะราษฎรเปลี่ยนแปลงการปกครอง
                       อ่านรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 ฉบับเต็มได้ที่นี่  >>> รธน.ฉบับที่ 1 
ฉบับที่ 2. : รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475
  • มีจำนวน 68 มาตรา 
  • ระยะเวลาที่บังคับใช้ 13 ปี 4 เดือน 29 วัน
  • ที่มา : ของรัฐธรรมนูญ สภาผู้แทนตั้งคณะกรรมการยกร่าง จำนวน 9 คน แล้วให้ สภาอนุมัติ

ฉบับที่ 3.: รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489
  • มีจำนวน 96 มาตรา
  • ระยะเวลาบังคับใช้  1 ปี 5 เดือน 30 วัน
  • ที่มา : ส.ส.ประเภทที่ 2 เสนอร่างแล้วให้สภาอนุมัติ ( ยุคนี้ ส.ส. มี 2 ประเภท )
                         อ่านรัฐธรรมนูญฉบับที่ 3 ฉบับเต็มได้ที่นี่ >>> รธน.ฉบับที่ 3 (2489)
ฉบับที่ 4 : รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ชั่วคราว ) พุทธศักราช 2490 (ฉบับใต้ตุ่ม )
  • มีจำนวน 98 มาตรา
  • ระยะเวลาบังคับใช้ 1 ปี 4 เดือน 14 วัน
  • ที่มา : คณะรัฐประหาร นำโดย จอมพล ผิน ชุณหวัณ ( บิดา พล.อ ชาติชาย ชุณหวัณ )มี หลวง กาจ เก่งระดมยิง เป็นผู้ร่าง แล้วนำไปซ่อนไว้ใต้ตุ่มน้ำ จึงเป็นที่มา ฉบับใต้ตุ่ม 
ฉบับที่ 5 :  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492
  • มีจำนวน 188 มาตรา
  • ระยะเวลาบังคับใช้  2 ปี 8 เดือน 6 วัน
  • ที่มา :  สภาร่างรัฐธรรมนูญ 40 คนยกร่างจัดทำแล้วให้สภาอนุมัติ (สสร.1 )
ฉบับที่ 6 : รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495
  • มีจำนวน  123 มาตรา
  • ระยะเวลาบังคับใช้ 6 ปี 7 เดือน 12 วัน
  • ที่มา :  จอมพล ป. นายกฯ เสนอร่าง ให้สภาอนุมัติ

ฉบับที่ 7 : ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502
  • มีจำนวน 20 มาตรา
  • ระยะเวลาบังคับใช้ 9 ปี 4 เดือน 23 วัน
  • ที่มา : คณะปฏิวัติ นำโดย จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
ฉบับที่ 8 : รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511
  • มีจำนวน 183 มาตรา
  • ระยะเวลาบังคับใช้ 3 ปี 4 เดือน 28 วัน
  • ที่มา :  สภาร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 240 คน ยกร่าง และอนุมัติ ( สสร. 2 )

ฉบับที่ 9:  ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515
  • มีจำนวน 23 มาตรา
  • ระยะเวลาบังคับใช้  1 ปี 9 เดือน 22 วัน
  • ที่มา : คณะปฏิวัติ โดย จอมพล ถนอม กิตติขจร

ฉบับที่ 10 :  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517
  • มีจำนวน 238 มาตรา
  • ระยะเวลาบังคับใช้  2 ปี
  • ที่มา :  คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 24 คน  ( จากสมัชาแห่งชาติ ) ยกร่างแล้วเสนอคณะรัฐมนตรี และสภา
  •    อ่านรัฐธรรมนูญฉบับที่ 10 ฉบับเต็มได้ที่นี่ >>> รธน.ฉบับ พ.ศ.2517
ฉบับที่ 11 : รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519
  • มีจำนวน  29 มาตรา
  • ระยะเวลาบังคับใช้ 11 เดือน 28 วัน
  • ที่มา : คณะปฏิวัติ นำโดย พล.ร.อ. สงัด ชลออยู่ ประกาศใช้

ฉบับที่ 12 :  ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520


  • มีจำนวน  32 มาตรา
  • ระยะเวลาบังคับใช้ 1 ปี 1 เดือน 13 วัน
  • ที่มา : คณะปฏิวัติ นำโดย พล.ร.อ สงัด ชลออยู่ ทำรัฐประหารซ้ำอีกรอบ

ฉบับที่ 13 :  รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521


  • มีจำนวน 206 มาตรา
  • ระยะเวลาบังคับใช้ 12 ปี 2 เดือน 1วัน
  • ที่มา : สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ( สนช.) ตั้งคณะกรรมการยกร่าง และอนุมัติ

ฉบับที่ 14 : ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534



  • มีจำนวน  33  มาตรา
  • ระยะเวลาบังคับใช้  8 เดือน 8 วัน 
  • ที่มา : คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ( รสช.) นำโดย พล.อ สุนทร คงสมพงษ์
  • คลิปเสียงการยึดอำนาจ ประกาศคำสั่งของ รสช. >>> คลิกที่นี่

ฉบับที่ 15 : รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534

  • มีจำนวน  223 มาตรา 
  • ระยะเวลาบังคับใช้  5 ปี 10 เดือน 2 วัน
  • ที่มา : สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ( สนช. ที่ตั้งโดย รสช.)


ฉบับที่ 16 : รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

  • มีจำนวน 336 มาตรา
  • ระยะเวลาบังคับใช้  8 ปี 10 เดือน 9 วัน
  • ที่มา :  รัฐสภาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 15 โดยแก้ไข มาตรา 211 ให้มี สสร.จำนวน 99 คน ยกร่างและให้สภาอนุมัติ ในสมัย นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกฯ (สสร.3 )

ฉบับที่ 17 :  รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย ( ชั่วคราว ) พุทธศักราช 2549
  • มีจำนวน 39 มาตรา
  • ระยะเวลาบังคับใช้ 11 เดือน 5 วัน ( บังคับใช้เมื่อ 19 ก.ย 2549 - 24 ส.ค.2550 )
  • ที่มา :  คณะปฏิรูปการปกครอง ฯ ( คมช.)

ฉบับที่ 18 :  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
  • มีจำนวน 309 มาตรา
  • บังคับใช้เมื่อ 24 สิงหาคม 2550 ถึง 22 พฤษภาคม 2557 (ยึดอำนาจ โดย คมช.)
  • ระยะเวลาบังคับใช้ 6 ปี 9 เดือน 15 วัน 
  • ที่มา :  สสร.จากการแต่งตั้งของ คมช. จำนวน 100 คน ยกร่าง  และให้สภาอนุมัติ และให้ประชาชน ลงประชามติ (สสร.4 )
ฉบับที่ 19: รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช2557
  • มีจำนวน 48 มาตรา
  • บังคับใช้เมื่อ วันที่ 22 กรกฎาคม 2557 ( ปัจจุบัน 23 ก.ค.2557 ) จนกว่าจะมีรัฐธรรมนูญฉบับที่ 20 บังคับใช้
  • ที่มา จากการยึดอำนาจ (รัฐประหาร ) โดย คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ( คสช.) นำโดย พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้าคณะ
  • อ่านรัฐธรรมนูญฉบับที่ 19ได้ >>> คลิกที่นี่
  • สิ้นสุดการบังคับใช้เมื่อวันที่ 5 เมษายน 
  • เวลาการบังคับใช้รวมทั้งสิ้น  2 ปี 8 เดือน 14 วัน
  • สิ้นสภาพการบังคับใช้โดยรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 20 หรือฉบับ พ.ศ. 2560 บังคับใช้
รัฐธรรมนูญไทย ฉบับที่ 20  ที่ผ่านการลงประชามติเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2559 ยังไม่ได้ประกาศใช้อย่างเป็นทางการ เมื่อประกาศใช้ เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2560 >>> คลิกที่นี่

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 20 พ.ศ.2560

  • มีจำนวน 279 มาตรารวมบทเฉพาะกาล
  • ที่มา ยึดอำนาจและตั้ง สภาร่างรัฐธรรมนูญ โดย คสช.
  • ประกาศใช้วันที่ 6 เมษายน 2560
  • มีผลบังคับใช้ ถัดจากวันประกาศ คือวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2560

  •  จากจำนวน 19 ฉบับ  เป็นฉบับชั่วคราว ที่ประกาศใช้โดยคณะยึดอำนาจทันที่ รวม 9 ฉบับ คือ


  • ฉบับที่ 1,4,7,9,11,12,14,17,19
  •  และ การนิรโทษกรรมตนเองของคณะรัฐประหาร เดิมทีเดียวไม่มีการบัญญัติบทนิรโทษกรรมตนเองไว้ในรัฐธรรมนูญ แม้แต่ คณะราษฎร ก็เสนอเป็นร่างแยกออกมาต่างหาก
  • บทนิรโทษกรรมตนเองของคณะยึดอำนาจเริ่มนำมาบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญตั้งแต่
  • ฉบับที่ 9 หรือ ฉบับ พ.ศ. 2515 ในมาตรา 21
  • ฉบับที่ 11 ในมาตรา 29 
  • ฉบับที่ 12 ในมาตรา 32 
  • ฉบับที่ 14 ในมาตรา 32 
  • ฉบับที่ 17 ในมาตรา 37
  •  ฉบับที่ 18 ในมาตรา 309
  • ฉบับที่ 19 ในมาตรา 48
  • ฉบับที่ 20 ในมาตรา 279
ข้อมูลรัฐธรรมนูญไทย..ถึงปัจจุบันไทยมีรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น 20 ฉบับมากสุดในโลกและยังมีท่าว่าจะเพิ่มขึ้นอีกเรื่อยๆ
  • ฉบับที่สั้นที่สุดคือฉบับที่ 7 ปี 2502

มี 20 มาตรา
  • ฉบับที่ยาวที่สุดคือ ฉบับที่ 16 ปี 2540

มี 336 มาตรา

  • ฉบับที่ใช้งานสั้้นที่สุด  คือฉบับที่ 1 ปี2475ที่ถูกทำให้เป็นฉบับชั่วคราว

บังคับใช้เพียง 5 เดือน 13 วัน



  • ฉบับที่ใช้นานที่สุดคือ  ฉบับที่2ปี2475 ใช้นาน 13ปี4 เดือน 29วันรองมาคือฉบับที่13ใช้12ปี2เดือน 1 วัน





กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์ ภาควิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง















วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สมุนไพรหญ้าหนวดแมว



                     หญ้าหนวดแมว สรรพคุณ ขับปัสสาวะ ขับนิ่วในไต

สมุนไพรหญ้าหนอนตาย



                                           หญ้าหนอนตาย

สมุนไพรสามสิบ



สามสิบ หรือ ผักชีช้าง ( อิสาน ) สรรพคุณ บำรุงครรภ์ บำรุงตับ ปอด บำรุงกำลัง แก้ตกเลือด คอพอก

สมุนไพรสันพร้าหอม



                                                                      สันพร้าหอม

สมุนไพรสะระแหน่ญี่ปุ่น


สะระแหน่ญี่ปุ่น หรือเมนทอลมินท์ เป็นยาขับลม แก้หวัดคัดจมูก ทาแก้ปวดเมื่อย เคี้ยวสดๆทำให้ปากหอมระงับกลิ่นปากได้เป็นอย่างดี

สมุนไพรว่านมหากาฬ



      ว่านมหากาฬ สรรพคุณ แก้ไข้ ใช้รากและใบสดตำพอกแก้ปวดบวม

สมุนไพร พรมมิ




พรมมิ สรรพคุณ แก้ร้อนใน ขับปัสสาวะ บำรุงประสาท บำรุงหัวใจ มีผลวิจัยทางวิชาการว่า สมุนไพรพรมมิมีคุณภาพสูงกว่าโสมในปริมาณที่เท่ากัน

สมุนไพร ผักบุ้งทะเล



                                       ผักบุ้งทะเล สรรพคุณ แก้พิษ แมงกะพรุน

สมุนไพรผักกาดน้ำ



ผักกาดน้ำ สรรพคุณ ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว ท้องร่วง ผิวหนังอักเสบ พิษแมลงสัตว์กัดต่อย

วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สมุนไพรโด่ไม่รู้ล้ม




             โด่ไม่รู้ล้ม ขับปัสสาวะ บิด ท้องร่วง กามโรค  ใบและราก ต้นมีสรรพคุณต่างกัน

สมุนไพรคาวตอง

 

                                     คาวตอง แก้กามโรค โรคผิวหนัง น้ำเหลืองเสีย

สมุนไพรเจตมูลเพลิงแดง



                                เจตมูลเพลิงแดงสรรพคุณ บำรุงธาตุ ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง

สมุนไพรเจตมูลเพลิงขาว



เจตมูลเพลิงขาว ดูเผินๆคล้ายกับต้นมะลิ ต้องดูให้ดีครับ สรรพคุณ ขับลม ช่วยย่อยอาหาร แก้ท้องเสีย

สมุนไพรพระจันทร์ครึ่งซีก



พระจันทร์ครึ่งซีก ต้นสด สรรพคุณ บำรุงปอด แก้วัณโรค หืด อาเจียรเป็นเลือด

สมุนไพรจักรนารายณ์



      จักรนารายณ์ ตำผสมสุรา พอกฝี แก้ปวด แมลงสัตว์กัดต่อย

สมุนไพรคราดหัวแหวน



คราดหัวแหวนปลูกอยู่รอบโคนต้นไม้ กทม.แทบทุกต้น สรรพคุณแก้ปวดฟัน ฝีในคอ ขับลม ริดสีดวง รสชาติเฝื่อนหน่อยแต่ดี

สมุนไพร เกล็ดปลา



                                                 เกล็ดปลาขึ้นอยู่ทั่วไปสรรพคุณแก้เบาหวาน

สมุนไพรกะเม็งดอกเหลือง



                        พืชสมุนไพรไทยปลูกไว้ได้ประโยชน์ครับ

วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

อนุสาวรีย์คนจน



  เกิดมาจน ต้องทน สู้ตรากตรำ
 หาทั้งเช้า ยันค่ำ ยังหิวโหย
 ยามเข้าสู่ วัยชรา  คราร่วงโรย
 ยามฉันเจ็บ โอดโอย  ใครจะมอง
 ยามป่วยไข้ แล้วใคร จะรักษา
 ทั้งค่าหยูก ค่ายา  คราหม่นหมอง
 คงล้มตาย เพราะเรา  ไร้เงินทอง
 ชีวิตกอง  ไร้ค่า น่าเศร้าใจ

ภาพการไถนา



                              ปลูกข้าวทั้งปี มีแต่หนี้สิน หรือนี่คือวิถีชาวนาไทย

วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การสื่อสารผ่านโค้ด ว.

                                                                 



โค้ด ว.

ว.0      ขอรับคำสั่ง ต้องการทราบ ขอให้บอกมาด้วย
ว.00   คอยก่อน คำสั่งหรือเรื่องที่ต้องการทราบจะแจ้งภายหลัง
ว.1     ขอทราบที่อยู่ ขณะนี้อยู่ที่ไหน
ว.2     ได้ยินหรือไม่ ได้ยินแล้วตอบด้วย ( ตอบ ว.2 )
ว.3      ให้ทวนข้อความซ้้ำอีก
ว.4      ปฏิบัติหน้าที่  ไปปฏิบัติราชการ
ว.5      ปฏิบัติราชการลับไม่สามารถแจ้งที่อยู่และงานที่ปฏิบัติได้
ว.6      ขออนุญาตติดต่อกันโดยตรง ระหว่าง...กับ...
ว.7      ประสบอุบัติเหตุคับขันที่ต้องการความช่วยเหลือด่วน              
ว.8      ส่งข้อความยาวแบบรายงาน ( ข่าว โน๊ต )
ว.9      มีเหตุฉุกเฉินหรือเหตุด่วนสำคัญ
ว.10   หยุดรถเพื่อปฏิบัติงานและติดต่อทาง ว. ได้
ว.11   หยุดรถหรือจอดพักโดยไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติงาน ยังติดต่อได้
ว.12   หยุดหรือจอดพักโดยปิดเครื่องรับ-ส่ง ติดต่อทาง ว.ไม่ได้
ว.13   ติดต่อทางโทรศัพท์  (บอกหมายเลข )
ว.14   เลิกตรวจเลิกปฏิบัติงานเมื่อเสร็จภาระกิจแล้ว
ว.15   ให้ไปพบ ขอให้ไปพบกัน ( บอกสถานที่ )
ว.16    ทดลองเครื่องรับส่งวิทยุ
            ว.16..1 รับฟังไม่รู้เรื่องมีการรบกวนมาก
            ว.16..2 รับฟังไม่ชัดเจน
            ว.16..3  รับฟังชัดเจนพอใช้
            ว.16..4  รับฟังได้ชัดเจนดี
            ว.16..5  รับฟังได้ชัดเจนดีมาก
ว.17    มีเหตุอันตราย ณ จุดใดจุดหนึ่งห้ามผ่าน
ว.18   นำรถออกทดลองเครื่องยนต์
ว.19   สถานี ว. อยู่ในภาวะคับขัน
ว.20   ตรวจค้นสถานที่ บุคคลหรือรถ ตรวจค้นเสร็จ แจ้งเลิก ว.20
ว.21    ออกจาก
ว.22    ถึง
ว.23    ผ่าน หรือการเดินทาง
ว.24    ขอทราบเวลาขอเทียบเวลา
ว.25    จะไปไหน ที่หมาย อยู่ที่ใด
ว.26    ให้ติดต่อทาง ว. ให้น้อยที่สุด
ว.27    การติดต่อทางโทรพิมพ์
ว.28    ประชุม
ว.29    มีราชการอะไร
ว.30    ขอทราบจำนวน  (คน สิ่งของ อาวุธ )
ว.31    เปลี่ยนความถี่ของวิทยุเป็นช่อง 1
ว.32     เปลี่ยนความถี่ของวิทยุเป็นช่อง 2
ว.33     เปลี่ยนความถี่ของวิทยุเป็นช่อง 3
ว.34     เปลี่ยนความถี่ของวิทยุเป็นช่อง  4
ว.35     ให้เตรียมพร้อมออกปฏิบัติงาน
ว.36     เตรียมพร้อมเต็มอัตรา
ว.37      เตรียมพร้อมครึ่งอัตรา
ว.38      เตรียมพร้อม 1 ใน 3 ส่วน
ว.39      การจราจรคับคั่ง ( บอกสถานที่ )
ว.40      มีอุบัติเหตุรถชน  หรือรถชนคน (บอกสถานที่ )
ว.41      สัญญาณไฟเสีย  ( บอกสถานที่ )
ว.42      จัดยานพาหนะนำขบวน  
ว.43       จุดตรวจยานพาหนะ (บอกสถานที่ )
ว.51      รับประทานอาหาร
             --------------------
             --------------------
             --------------------
             --------------------
             --------------------
             --------------------
             --------------------
             --------------------
             --------------------
ว.60      ญาติ เพื่อน
ว.61      ขอบคุณ
ว.62       สิ่งของ
ว.63        บ้านพัก
ว.64        มีภารกิจ

  หมายเหตุ วิธีการสื่อสาร ผ่านวิทยุสื่อสาร ประเภทนี้ เป็นการสื่อสารแบบทางครึ่ง กล่าวคือ ไม่สามารถโต้ตอบกันได้โดยทันที ต้องให้อีกฝ่ายพูดให้จบก่อน อีกฝ่ายจึงโต้ตอบกลับได้

                           กังวาล ทองเนตร

วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เปรียบเทียบรูปแบบการปกครอง


เปรียบเทียบรูปแบบการปกครอง


 



มองเตสกิเออปราชญ์ฝรั่งเศสแยกการปกครองในโลกนี้ไว้เป็น 3 รูปแบบใหญ่ๆดังนี้




1 ) แบบราชาธิปไตย ระบอบนี้มีตัวค้ำชูระบอบคือ เกียรติยศ


2) แบบสาธารณะรัฐ ระบอบนี้มีตัวค้ำชูระบอบคือคุณธรรม


3 ) แบบเผด็จการ ระบอบนี้มีตัวค้ำชูระบอบคือ ความกลัว



วิเคราะห์ทฤษฎีของมองเตสกิเออตามแนวคิดของผมเปรียบเทียบกับระบบการค้าดังนี้



1 )แบบราชาธิปไตยเปรียบได้กับร้านค้าโชว์ห่วย ที่ผู้ปกครองหรือเจ้าของร้านกุมอำนาจเพียงผู้เดียวประชาชนหรือผู้ซื้อไม่มีสิทธิเลือกทุกอย่างขึ้นอยู่กับอาแปะ ถ้าเห็นผู้ซื้อแต่งตัวมอซออาแปะก็จะหยิบสินค้าในร้านที่เปื้อนฝุ่นเขอะใกล้หมดอายุหรือหมดอายุแล้วให้ แถมจะได้เงินทอนเป็นเศษเหรียญดำๆหรือแบงค์ขาดๆเป็นตางค์ทอนกลับบ้านไปด้วยแต่ถ้าลูกค้าแต่งตัวดีมิชื่อเสียงอาแปะก็ขอถ่ายรูปเพื่อติดไว้หน้าร้านอีกด้วยเมื่อประชาชนหรือผู้ซื้อมีทางเลือกที่ดีกว่าหรือไม่สนใจเกียรติยศที่ยื่นให้ระบอบนี้ก็จะเสื่อม

2 )แบบสาธารณะรัฐ ระบอบนี้เทียบได้กับห้างสรรพสินค้าปัญญาชน กล่าวคือผู้ซื้อสามรถเข้าไปหยิบหาของที่ตนต้องการได้ตามใจชอบแต่ผู้ซื้อก็จะรู้กำลังของตนเองว่ามีกำลังในการซื้อแค่ไหน และเมื่อซื้อแล้วผู้ซื้อก็จะรู้ว่าจะไปจ่ายเงิน ณ จุดใดซึ่งเป็นคุณธรรมของผู้ซื้อเอง ระบอบนี้จะล่มสลายก็ต่อเมื่อตัวค้ำชูระบอบคือคุณธรรมถูกทำลายกล่าวคือเมื่อผู้ซื้อขาดคุณธรรมห้างก็อยู่ไม่ได้

3 )แบบเผด็จการ ผมเปรียบให้กับตลาดมืดของเถื่อนหนีภาษี ลูกค้าจะถูกพาเข้าหลังร้าน ถูกบังคับให้ซื้อโดยที่ตนเองไม่ต้องการผู้ซื้อจะได้สินค้าคุณภาพต่ำราคาแพงแถมโดนตีหัวหักคอออกมาจากหลังร้านอย่างเจ็บปวดแถมคำข่มขู่จากทางร้านอีกด้วย เมื่อใดประชาชนหรือผู้ซื้อไม่กลัวระบอบนี้ก็จะอยู่ไม่ได้เช่นกัน

จะเห็นได้ชัดว่าทั้ง 3 ระบอบตามความคิดของมองเตสกิเออ ตัวทำลายระบอบก็คือตัวค้ำชูระบอบนั้นเองในทางกลับกันและเมื่อผมนำมาเทียบกับระบบการค้าเราจะเห็นได้ชัดเจนขึ้นว่าทิศทางของแต่ละระบอบจะไปแนวทางใด


กังวาล ทองเนตร (รัฐศาสตร์การปกครองมหาวิทยาลัยรามคำแหง)

ยกเลิกการปกครองส่วนภูมิภาค


ยกเลิกการปกครองส่วนภูมิภาค



จอมพล.ป. พิบูลย์สงคราม
       



                              อำนาจทางปกครองของไทยแบ่งออกเป็น  3 ส่วนดังนี้




1) ส่วนกลาง        เป็นการรวมศูนย์อำนาจทางปกครองไว้ที่ส่วนกลาาง มีกระทรวง ทบวง กรม มีรัฐมนตรีคอยควบคุมดูแล และมีนายกรัฐมนตรี บังคับบัญชาสูงสุด ตามมาตรา 11 พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

2 )  ส่วนภูมิภาค  ข้าราชการส่วนภูมิภาคจะถูกส่งไปจากส่วนกลาง คอยเป็นหูเป็นตาแทนส่วนกลาง เป็นการแบ่งอำนาจจากส่วนกลางบางส่วนไปยังส่วนภูมิภาคโดยผ่านตัวแทนของตน


                                ตัวอย่างข้าราชการส่วนภูมิภาคที่ถูกส่งไปในแต่ละจังหวัด


           2.1 ผู้ว่าราชการจังหวัด
           2.2  รองผู้ว่าฯ
           2.3  ปลัดจังหวัด
           2.4   ผู้ช่วยปลัดฯ
           2.5  ผู้ตรวจราชการส่วนท้องถิ่น
           2.6  เสมียนตราจังหวัด
           2.7  นายอำเภอ
           2.8  ปลัดอำเภอฝ่ายปกครองและพัฒนา
           2.9  ปลัดอำเภอฝ่ายพัฒนาท้องถิ่น
           2.10  ปลัดอำเภอที่เป็นหัวหน้ากิ่งอำเภอ



  • เดิมผู้ว่าราชาการฯสวมหมวก 2 ใบคือ ผู้ว่า และ นายก อบจ.ด้วย ปัจจุบันนายก  อบจ.มาจากการเลือกตั้งท้องถิ่น



3) ส่วนท้องถิ่น เป็นการกระจายอำนาจบางส่วนไปยังท้องถิ่น ให้ท้องถิ่น มีโอกาสในการเลือกผู้บริหาร และนิติบัญญัติของตนเอง เช่น อบจ. เทศบาล อบต. ซึ่งนี่คือฐานรากของระบอบประชาธิปไตยที่เปิดโอกาสให้คนท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการท้องถิ่นของตนเอง

  • ตามความเห็นของผมน่าจะยกเลิกการปกครองส่วนภูมิภาคเสีย และปล่อยให้เป็นหน้าที่ของท้องถิ่นจัดการเอง     ข้ออ้างที่อ้างว่าถ้าทำเช่นนั้นจะเกิดการแยกตัวเองเป็นรัฐอิสระ     ซึ่งผิดไปจากความเป็นจริง
  •  ปัจจุบันท้องถิ่นไม่มีอำนาจหน้าที่ในการดูแลหรือควบคุมกองกำลัง  ไม่ว่าจะเป็น ทหาร ตำรวจ ดังนั้นข้ออ้างดังกล่าวเป็นเพียงการหวงอำนาจของส่วนกลาง เพราะอำนาจท้องถิ่นที่กระจายไปจากส่วนกลางเป็นอำนาจเพียงบางส่วนเล็กน้อยเท่านั้น การยกเลิกการปกครองส่วนภูมิภาคจะทำให้ท้องถิ่นเข้มแข็งขึ้น ลดรายจ่ายภาครัฐลงเป็นอย่างมากและเป็นการให้ความสำคัญกับวงนอกสุดของใยแมงมุม  ลดโครงสร้างอำนาจที่เป็นแนวดิ่งจากบนลงล่างเช่นปัจจุบัน

ศาลปกครอง คืออะไร



ศาลปกครอง 



ศาลปกครอง ถูกตั้งขึ้นโดย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีทางปกครองพ.ศ.2542 และภายใต้รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 16 หรือฉบับปี 2540 

ศาลปกครองมีเพียง 2 ชั้นนะครับ โดยระบุไว้ชัดเจนในมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครอง ฯ2542 ดังนี้ 


มาตรา 7 ศาลปกครองแบ่งออกเป็น 2 ชั้นคือ

(1) ศาลปกครองสูงสุด

    (2) ศาลปกครองชั้นต้น ได้แก่
         (ก) ศาลปกครองกลาง         (ข) ศาลปกครองในภูมิภาค

  • ดังนั้นศาลปกครองกลางและศาลปกครองภูมิภาค ก็คือศาลปกครองชั้นต้นนั่นเอง 
อำนาจหน้าที่ของศาลปกครอง

  • ศาลปกครองมีหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีทางปกครอง หรือมีคำสั่ง ตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 
มาตรา 9 ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องดังต่อไปนี้


( 1 ) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎคำสั่ง หรือการกระทำอื่นใดเนื่องจากกระทำโดยไม่มีอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น หรือโดยไม่สุจริตหรือมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม หรือมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็น หรือสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร หรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ

( 2 ) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร

( 3 ) คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดชอบอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร

( 4 ) คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง

( 5 ) คดีที่กฎหมายกำหนดให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฟ้องคดีต่อศาลเพื่อบังคับให้บุคคลต้องกระทำหรือละเว้นกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด

( 6 ) คดีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง
          เรื่องดังต่อไปนี้ไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครอง
( 1 ) การดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหาร

( 2 ) การดำเนินการของคณะกรรมการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ

( 3 ) คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลเยาวชน และครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ศาลล้มละลาย หรือศาลชำนัญพิเศษอื่น


ผู้ที่ใช้อำนาจทางปกครองมีอยู่ 2 คนคือ

1. หน่วยงานทางปกครอง ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม อบจ. อบต. เทศบาล.รัฐวิสาหกิจ รวมถึงเอกชนที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองแทนรัฐ

2. เจ้าหน้าที่ ได้แก่บุคคลที่ปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานทางปกครอง
  • ดังนั้นคดีทางปกครองจึงเป็นคดีที่เกิดขึ้นจากการ ออกคำสั่งทางปกครอง และ การออกกฎ ของหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ซึ่งมีผลกระทบต่อบุคคลอื่น
คู่กรณีในคดีทางปกครอง

1) หน่วยงานทางปกครอง พิพาทกับ หน่วยงานทางปกครอง

2) หน่วยงานทางปกครอง   พิพาทกับ    เจ้าหน้าที่
3) หน่วยงานทางปกครอง   พิพาทกับ    เอกชน
4) เจ้าหน้าที่                           พิพาทกับ    เจ้าหน้าที่
5) เจ้าหน้าที่                           พิพาทกับ    เอกชน


  • คู่พิพาททางคดีปกครองจะมี 5 กรณีนี้เท่านั้น และ การนำคดี เข้าสู่ศาลปกครอง ผู้เสียหายโดยตรง ตามมาตรา 42 วรรค หนึ่งนำฟ้องได้โดยตรงโดยไม่ต้องใช้ทนายก็ได้ และกรณีอื่นที่เป็นไปตามระเบียบขั้นตอนตามกฎหมายให้ปฏิบัติต้องดำเนินตาม มาตรา 42 วรรค สอง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครอง ฟ้องความผิดเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ นี้ เพื่อขอให้ศาลสั่ง ตามมาตรา 72 แห่ง พ.ร.บ.นี้เช่นกัน 

ศาลปกครองสูงสุด

  • ศาลปกครองสูงสุดมีอำนาจตามมาตรา 11 แห่ง พ.ร.บ.นี้คือ
มาตรา 11 ศาลปกครองสูงสุดมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ดังต่อไปนี้ 
( 1 ) คดีพิพาทเกี่ยวคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทตามที่ที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดประกาศกำหนด

( 2 ) คดีพิพาทเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกา หรือ กฎ ที่ออกโดยคณะรัฐมนตรี หรือโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี

( 3 ) คดีที่มีกฎหมายกำหนด ให้อยู่ในอำนาจศาลปกครองสูงสุด

( 4 ) คดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น

  • นอกจากนี้ ยังมี พ.ร.บ วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 นำมาประกอบกันไปด้วย
  • และในมาตรา 51 ของ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 ระบุให้ 
มาตรา 51 การฟ้องคดีตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3) (4) ให้ยื่นฟ้องภายในหนึ่งปี นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดีแต่ไม่เกินสิบปีนับแต่วันที่มีเหตุแห่งการฟ้องคดี


การขอการคุ้มครองจากศาล

  • มาตรา 52 การฟ้องคดีปกครองที่เกี่ยวกับการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ หรือสถานะของบุคคลจะยื่นฟ้องคดีเมื่อใดก็ได้ 





กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์เอกการปกครองมหาวิทยาลัยรามคำแหง