กังวาล ทองเนตร

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่คลังปัญญา Pohthaiblogspot.com

วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2561

สังคมเสียบยอด ( gulping down social, swallowing social)หรือการกลืนกินทางสังคม


สังคมเสียบยอด ( gulping down social, swallowing social)

  • ศัพท์คำนี้ผมเป็นคนบัญญัติมันขึ้นมาเอง ในฐานะคนรัฐศาสตร์ตัวเล็กๆคนหนึ่ง ที่ศึกษาการเมืองมา ผมไม่สงวนลิขสิทธิ์ใครจะนำไปใช้ แต่ บอกด้วยว่า กังวาล ทองเนตร คิดมันขึ้นมา
ผมนำแนวคิดมาจากการต่อยอดต้นไม้ หรือเสียบยอดต้นไม้
  • กล่าวคือ การต่อยอดต้นไม้ จะเป็นการนำยอดต้นไม้อีกสายพันธุ์หนึ่ง หรือใกล้เคียง มาเสียบลงไปในตอ หรือต้นพันธุ์ซึ่งเป็นอีกสายพันธุ์หนึ่ง อาทิ มะม่วง
  • มะม่วงที่ใช้เป็นต้นตอ จะเป็นมะม่วงพื้นเมือง หรืออย่างอื่น แต่มีคุณสมบัติคือ ทนโรค ทนสภาพอากาศได้ดี แต่ ผลมีราคาต่ำ ตลาดไม่นิยม
  • ส่วนที่เป็นยอดที่นำมาเสียบ ตรงข้ามกับต้นที่ใช้เป็นตอ คือ อ่อนแอ ไม่ทนโรค แต่ผลมีราคา ตลาดนิยม 
นี่คือกรอบที่มาแนวคิดที่ผมใช้อธิบายสภาพสังคมการเมืองการปกครองของไทย
ขั้นตอนก็คือนำมะม่วงที่ทนโรคแต่ให้ลูกที่ตลาดไม่ต้องการมาปลูก พอโตระดับหนึ่ง ก็ตัดยอดทิ้ง แต่เหลือรากโคนไว้ในดินต่อไป จากนั้น นำยอดหรือกิ่งมะม่วงของอีกสายพันธุ์มาทำการเสียบเข้าไปกับ ต้นตอเก่า จากนั้น เนื้อเยื่อของต้นเก่ากับ กิ่งยอดใหม่จะประสาน เชื่อมต่อกันเป็นเนื้อเดียว และมีคุณสมบัติใหม่คือ ทนโรค ทนสภาพอากาศ และให้ลูกที่มีราคาดี ตลาดต้องการ
  • นั่นคือสภาพสังคมไทยที่เป็นมาช้านาน หมายถึงส่วนโคนต้นและราก เป็นมะม่วงพื้นเมืองดั้งเดิม อีกสายพันธุ์ หรือหมายถึง ประชาชน ที่เป็นคนส่วนมากของประเทศ และมีรายได้น้อย เป็นผู้ถูกปกครอง มีหน้าที่เป็นฝ่ายผลิตป้อนสังคม ซึ่งก็คือส่วนยอด ในที่นี้หมายถึงมะม่วงอีกสายพันธุ์หนึ่ง ที่อ่อนแอ แต่มีผลที่มีราคาแพงตลาดนิยม ซึ่งในทางสังคมก็คือชั้นชั้นปกครองของไทยและ กลุ่มทุนผูกขาด ที่เป็นมะม่วงส่วนยอด
ดังนั้นเมื่อมองเผินๆด้วยตาเปล่า จะเห็นว่ามันเป็นต้นมะม่วง หมายถึงมีลำต้น กิ่ง ก้าน ใบ ดอก ผล ล้วนเป็นมะม่วง แต่แท้จริง หรือเนื้อใน มันเป็น ของปลอม เพราะส่วนฐานล่างเป็นมะม่วงอีกสายพันธุ์ ที่ทำหน้าที่ดูดซึมอาหาร แล้วนำไปเลี้ยง โครงสร้างส่วนยอด และผลิดอกออกผล จริงอยู่แม้ลูกมะม่วงจากต้นนี้ จะสามารถรับประทานได้ปกติ หรืออาจรสชาติดีขึ้น ก็ตาม แต่มองลงไปในโครงสร้างจริงๆ จะพบว่า มะม่วงลูกนี้หรือจากต้นนี้ ไม่ใช่ลูกมะม่วงของต้นนี้จริงๆ มันจอมปลอม มันเป็นการโกหกสังคมโลก และต้นตอมะม่วงต้นนี้ก็ถูกบังคับให้หาอาหารมาเลี้ยงส่วนบนทางสังคมตลอดไป อย่างน่าสงสาร
  • ดังนั้นผมจึงนำมาเปรียบเทียบใช้ในการอธิบายสังคมไทยว่า เหมือนมะม่วงเสียบยอด หรือเป็นต้นไม้ชนิดอื่นก็ได้ แต่เป็นการเสียบยอด มิใช่ทั้งโครงสร้างเป็นของสิ่งเดียวกัน
แม้บางคนจะมองในแง่ธุรกิจหรือทางเศรษฐศาสตร์ว่า นี่คือนวัตรกรรม เชิงบวก เพราะเป็นการเพิ่มคุณค่า เพิ่มราคา ในทางเศรษฐกิจ ซึ่งก็น่าจะใช่ แต่ในความหมายทางสังคม ทางรัฐศาสตร์ ทางการปกครอง โครงสร้างแบบนี้หมายถึงการ กดขี่ การเอาเปรียบ หรือกลายเป็นการกลืน swallowing ,gulping down ชนิดที่ต้นตอและรากเดิมไม่มีโอกาสแม้แต่จะแพร่ขยายเมล็ดพันธุ์ หรือสายพันธุ์ตนเองได้เลยตลอดไป




กังวาล ทองเนตร
คณะรัฐศาสตร์ภาควิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง