สังคมเสียบยอด ( gulping down social, swallowing social)
- ศัพท์คำนี้ผมเป็นคนบัญญัติมันขึ้นมาเอง ในฐานะคนรัฐศาสตร์ตัวเล็กๆคนหนึ่ง ที่ศึกษาการเมืองมา ผมไม่สงวนลิขสิทธิ์ใครจะนำไปใช้ แต่ บอกด้วยว่า กังวาล ทองเนตร คิดมันขึ้นมา
- กล่าวคือ การต่อยอดต้นไม้ จะเป็นการนำยอดต้นไม้อีกสายพันธุ์หนึ่ง หรือใกล้เคียง มาเสียบลงไปในตอ หรือต้นพันธุ์ซึ่งเป็นอีกสายพันธุ์หนึ่ง อาทิ มะม่วง
- มะม่วงที่ใช้เป็นต้นตอ จะเป็นมะม่วงพื้นเมือง หรืออย่างอื่น แต่มีคุณสมบัติคือ ทนโรค ทนสภาพอากาศได้ดี แต่ ผลมีราคาต่ำ ตลาดไม่นิยม
- ส่วนที่เป็นยอดที่นำมาเสียบ ตรงข้ามกับต้นที่ใช้เป็นตอ คือ อ่อนแอ ไม่ทนโรค แต่ผลมีราคา ตลาดนิยม
ขั้นตอนก็คือนำมะม่วงที่ทนโรคแต่ให้ลูกที่ตลาดไม่ต้องการมาปลูก พอโตระดับหนึ่ง ก็ตัดยอดทิ้ง แต่เหลือรากโคนไว้ในดินต่อไป จากนั้น นำยอดหรือกิ่งมะม่วงของอีกสายพันธุ์มาทำการเสียบเข้าไปกับ ต้นตอเก่า จากนั้น เนื้อเยื่อของต้นเก่ากับ กิ่งยอดใหม่จะประสาน เชื่อมต่อกันเป็นเนื้อเดียว และมีคุณสมบัติใหม่คือ ทนโรค ทนสภาพอากาศ และให้ลูกที่มีราคาดี ตลาดต้องการ
- นั่นคือสภาพสังคมไทยที่เป็นมาช้านาน หมายถึงส่วนโคนต้นและราก เป็นมะม่วงพื้นเมืองดั้งเดิม อีกสายพันธุ์ หรือหมายถึง ประชาชน ที่เป็นคนส่วนมากของประเทศ และมีรายได้น้อย เป็นผู้ถูกปกครอง มีหน้าที่เป็นฝ่ายผลิตป้อนสังคม ซึ่งก็คือส่วนยอด ในที่นี้หมายถึงมะม่วงอีกสายพันธุ์หนึ่ง ที่อ่อนแอ แต่มีผลที่มีราคาแพงตลาดนิยม ซึ่งในทางสังคมก็คือชั้นชั้นปกครองของไทยและ กลุ่มทุนผูกขาด ที่เป็นมะม่วงส่วนยอด
- ดังนั้นผมจึงนำมาเปรียบเทียบใช้ในการอธิบายสังคมไทยว่า เหมือนมะม่วงเสียบยอด หรือเป็นต้นไม้ชนิดอื่นก็ได้ แต่เป็นการเสียบยอด มิใช่ทั้งโครงสร้างเป็นของสิ่งเดียวกัน
กังวาล ทองเนตร
คณะรัฐศาสตร์ภาควิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง